กระเพรา พืชสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน โทษและสรรพคุณเป็นอย่างไร

กระเพรา สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารในอาหารไทย เมนูผัดใบกระเพรา อาหารไทยยอดนิยม ต้นกระเพราเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการ สรรพคุณ และ ข้อควรระวังในการกินกระเพรา

กระเพรา สมุนไพร

กะเพรา ( Holy basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเพรา คือ Ocimum tenuiflorum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกะเพรา เช่น กอมก้อ กอมก้อดง ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง ผักอีตู่ เป็นต้น ต้นกระเพราเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นหอม พบมากในประเทศเขตร้อน เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกระเพราที่นิยมปลูก มี 2 พันธุ์ คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง

กระเพราในประเทศไทย

ใบกระเพรา เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากใบกระเพรานิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ผัดใบกระเพรา ซึ่งสามารถพบใบกระเพราขายอยู่ตามตลาดทั่วไปในประเทศไทย พื้นที่ปลูกกระเพราที่สำคัญของประเทศไทย คือ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญของประเทศ จากข้อมูลของสำนักงานเกษตร ปทุมธานี ระบุว่า ปี 2558 มีพื้นี่ 404,700 ไร่ หรือ 42 % ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด เป็นพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยว

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของต้นกระเพรา

ต้นกะเพรา เป็นพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์ได้โดยการ ปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธ์ โดยรายละเอียดของต้นกระเพรา มีดังนี้

  • ลำต้นของกระเพรา เนื้ออ่อน อุ้มน้ำมาก แตกกิ่งก้านสาขามาก ความสูงประมาณไม่เกิน 60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง มีขนและกลิ่นหอม
  • ใบของกระเพรา ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตามกิ่งก้าน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบเป็นฟันเลื่อย เป็นคลื่น  ใบมีขน สีเขียว และ มีสีเขียวแกมสีแดง
  • ดอกของกระเพรา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายยอดของกิ่ง ดอกแก่ของกระเพรา มีเมล็ด เล็กๆ สีน้ำตาล เมล็ดแก่สามารถขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบกระเพราสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.6 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.4 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.1 กรัม โซเดียม 4 มิลลิกรัม  โพแทสเซียม 295 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 2.7 กรัม กากใยอาหาร 1.6 กรัม น้ำตาล 0.3 กรัม โปรตีน 3.2 กรัม และ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามืนดี วิตามินบี  วิตามินบี วิตามินอี วิตามินเค และสารอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก  แมกนีเซียม ไทอามิน ไรโบพลาวิน ไนอาซิน  ซิงค์ และ ฟอสฟอรัส

ในใบกะเพรา กลิ่นฉุน หอมเป็นพิเศษ สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยได้ น้ำมันหอมระเหยของใบกระเพรา มีสารเคมี สำคัญ ประกอบด้วย เมทิลชาวิคอล ( Methyl Chavicol ) ไลนาโลออล ( Linalool ) ยูจีนนอล ( Eugenol ) และ แคมเฟอร์

น้ำมันหอมระเหยของใบประเพรา มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการหลั่งกรด และ ป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ได้

สรรพคุณของกระเพรา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเพรา ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบกระเพรา เมล็ดกระเพรา และ รากกระเพรา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบกระเพรา มีกลิ่นหอม สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุไฟ ให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
  • เมล็ดกระเพรา เมล็ดมีลักษณะกลมเล็ก สามารถนำมาช่วยลดอักเสบได้ โดยการนำเมล็ดมาแช่น้ำ และนำมาพอกที่ตา ลดอาการฟกช้ำ
  • รากของกระเพรา สามารถใช้แก้โรคธาตุพิการ โดยการนำมาต้มชงดื่ม

โทษของกระเพรา

การปลูกกระเพรามีการปลูกในลักษณะของเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งอาจมีการใช้สารเคมี ทำให้เกิดสารตกค้างได้ การนำใบประเพรามาบริโภค ควรทำความสะอาด ให้ไม่มีสารตกค้าง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสะสมสารพิษในร่างกายได้ และ สรรพคุณของใบกระเพราทำให้ร่างกายอบอุ่น เป็นพืชที่มีฤทธิ์ร้อน การกินกระเพรามากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอาการร้อนในได้

กระเพรา คือ พืชพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหารในอาหารไทย เมนูผัดใบกระเพรา อาหารไทยยอดนิยม ต้นกระเพราเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของกระเพรา สรรพคุณของกระเพรา และ ข้อควรระวังในการกินกระเพรา

Last Updated on January 31, 2024