กวาวเครือขาว สมุนไพร สำหรับสตรี ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร

กวาวเครือขาว สมุนไพร นิยมนำหัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ มีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกวาวเครือขาว ( Pueraria mirifica ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว คือ Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของกวาวเครือขาว เช่น กวาว กวาวหัว กวาวเครือ เครือขาว จานเครือ ตานเครือ ทองเครือ ทองกวาว จอมทอง ตานจอมทอง โพ้ต้น และ โพะตะกู เป็นต้น ซึ่งชืื่อเรียกของกวาวเครือ แตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศและการใช้ภาษาของท้องถิ่นนั้นๆ

ลักษณะต้นกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือ เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว มีหัวอยู่ใต้ดิน พบมากตามป่าเบญจพรรณ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร พบมากในเขตภูเขาของประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยใช้การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ลำต้นกวาวเครือขาว ลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงลักษณะยาว ความยาวประมาณ 5 เมตร
  • ใบของกวาวเครือขาว เป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกันที่ปลายใบ ใบเป็นทรงรีปลายใบแหลม เนื้อใบเรียบ ด้านล่างของในมีขนสั้นๆ
  • ดอกกวาวเครือขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง กลีบดอกลักษณะคล้ายกัน คือ งอนโค้งคล้ายปีกนก
  • ผลกวาวเครือขาว ออกผลเป็นฝัก ลักษณะแบน มีขน ฝักมีสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลม เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
  • หัวของกวาวเครือขาว ลักษณะเหมือนมันแกว หัวอยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆ มีสรรพคุณุสูง มีฤทธิ์ทางยามากยิ่งหัวมีอายุมากขนาดก้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม หัวกวาวเครือมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อหัวกวาวเครือสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก มีน้ำมาก

กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย มีประโยชน์สำหรับบำรุงเพศ ทั้งหญิงและชาย กระตุ้นฮอร์โมนหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย กระทรวงสาธารณสุขของไทย จัดให้กวาวเครือขาวเป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ และ ยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์

คุณค่าทางโภชนาการของกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาวมีประโยชน์หลายอย่าง มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของกวาวเครือขาวแห้ง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 308 แคลลอรี่ มีสารอาหารต่างๆประกอบด้วย ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน แคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก

ด้านการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของหัวกวาวเครือขาว พบว่าในกวาวเครือขาวมีสารเคมีต่างๆ แบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

  • สารกลุ่มคูมารินส์ ( Coumarins ) ได้แก่ Coumestrol , Mirificoumestan , Mirificoumestan Glycol และ Mirificoumestan hydrate
  • สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) หัวกวาวเครือขาวมีสารจำพวก lsoflavonoid หลายชนิด เช่น Genistain , Daidzein , Daidzin , Puerarin , Puerein-6-monoacetate , Mirificin , Kwakhurin และ Kwakhurin hydrate
  • สารกลุ่มโครมีน ( Chromene ) ได้แก่ Miroestrol เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน พบในปริมาณ 0.002 – 0.003 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหัวกวาวเครือขาวแห้ง หรือ 15 มิลลิกรัม ต่อ กวาวเครือขาวแห้ง 1 กิโลกรัม
  • สารกลุ่มสเตียรอยด์ ( steroids ) ได้แก่ B-sitosterol , Stigmasterol , Pueraria และ Mirificasterol

สรรพคุณของกวาวเครือขาว

การนำเอากวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์นั้นจะนิยมใช้ประโยชน์จากหัวกวาวเครือขาวแห้งนำมาบดเป็นผง และนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้เต่งตึง ผิวใสดูเปล่งปลั่ง เนียนนุ่มสวย
  • ช่วยบำรุงกำลัง เป็นอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • ช่วยบำรุงสตรี ช่วยขยายทรวงอกให้ใหญ่ขึ้น ทำให้นมโต แก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อย
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ ทำช่วยผมขาวกลับคืนสภาพปกติ รักษาผมร่วง
  • ช่วยลดความมันบนใบหน้า รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ ช่วยสมานริ้วรอยบนใบหน้าจากความหยาบกร้าน
  • ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้าของร่างกาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น
  • ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารอร่อยขึ้น
  • ช่วยบำรุงเลือด
  • ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาฟาง ป้องกันต้อกระจก
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยเพิ่มสมรรภภาพทางเพศ บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์
  • ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน แก้อาการหมดประจำเดือนในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนที่มีอาการบกพร่องของฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยใช้ช่องคลอดไม่แห้ง ช่วยกระชับช่องคลอด
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน และ ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • สำหรับคนมีบตรุยาก ทำให้มีลูก

โทษของกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือขาว มีความเป็นพิษหากรับประทานหรือใช้ประโยชน์ในปริมาณที่มากเกินไป โดยข้อห้ามใช้ประโยชน์จากกวาวเครือขาว ตามตำราแผนโบราณ ประกอบด้วย

  • ห้ามคนวัยหนุ่มสาวกิน รวมถึง หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะ อาจทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ และ ระบบประจำเดือน
  • เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาว ห้ามกินรวมกับของดองหมักดอง ของเปรี้ยว ของเค็ม และ ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา และ ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาวไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  • การรับประทานกราวเครือขาวอาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ แต่การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาดเป็นอันตราย ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน

กวาวเครือขาว คือ สมุนไพรประเภทหนึ่ง พืชล้มลุก นิยมใช้หัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย จัดเป็นยาอายุวัฒนะ ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ สารเคมีในกวาวเครือมีอะไรบ้าง

Last Updated on March 18, 2021