ขมิ้นชัน สมุนไพร สรรพคุณ บำรุงผิวพรรณ สำหรับความสวยงาม

ขมิ้นชัน สีเหลืองส้ม กลิ่นฉุนหอม พืชพื้นบ้าน พืชตระกูลขิง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณของขมิ้นชัน เช่น บำรุงผิว รักษาแผล ประโยชน์และโทษของขมิ้นชัน มีอะไรบ้างขมิ้นขัน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ขมิ้นชัน เอกลักษณ์ของขมิ้นชั้น คือ สีเหลืองส้ม กลิ่นฉุนหอม พืชพื้นบ้าน พืชตระกูลขิง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีถิ่นกำเนิดตามประเทศเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สีเหลืองเข้มออกส้ม นำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น นำมาแต่งสี ทำอาหาร ทำยารักษาโรค และ ส่วนผสมต่างๆของเครื่องสำอางค์

ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ เรียก Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ต้นขมิ้นชัน ลักษณะเป็นพืชหัว ลักษณะเดียวกับ ข่า ขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน พืชล้มลุก อายุหลายปี ลักษณะของต้นขมิ้นชัน มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก  ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้นชัน 

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของขมิ้นชัน ผงขมิ้นชัน ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 312 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 9.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 67.1 กรัม ไขมัน 3.3 กรัม เกลือโซเดียม คอเลสเตอรอล วิตามินเค วิตามินซี วิตามินบี6 วิตามินอี ไขมันอิ่มตัว ไนอาซิน ไทอานิน ฟอสฟอรัส แคลเซียม ไรโบพลาวิน เหล็ก ซิงค์ ไขมันไม่อิ่มตัว น้ำตาล และ กากไยอาหาร

สรรพคุณของขมิ้นชัน

การใช้ประโยชน์จากขมิ้นชั้น จะใช้ประโยชน์เหง้าขมิ้น หรือ หัวขมิ้น สีเหลือง กลิ่นฉุน เป็นเอกลักษณ์สำคัญของขมิ้นชัน ประโยชน์และสรรพคุณของขมิ้นชัน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอวัย ลดริ้วรอยตามผิว ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึงช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  2. สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผื่นคัน ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลพุพอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย
  3. สรรพคุณต้านแบคทีเรีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ใช้รักษาโรคกลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง
  4. สรรพคุณบำรุงเลือด ลดคอเลสเตอรอล รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยแก้อาการตกเลือด
  5. สรรพคุณบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  6. สรรพคุณบำรุงข้อและกระดูก ช่วยรักษาอาการปวดอักเสบไขข้อ
  7. สรรพคุณลดอาการอักเสบ แก้ปวด ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
  8. สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ
  9. สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้อาการจุดเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคลำไส้อักเสบ ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม รักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
  10. สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงปอด บรรเทาอาการไอ รักษาโรคภูมิแพ้ รักษาไข้หวัด
  11. สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับน้ำนม ช่วยแก้อาการตกขาว
  12. สรรพคุณบำรุงรักษาช่องปาก ช่วยรักษาแผลในปาก ลดกลิ่นปาก
  13. สรรพคุณรักษาอาการท้องร่วง ท้องเสีย
  14. ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช
  15. สรรพคุณช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี ป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
  16. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร

โทษของขมิ้นชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นชั้น มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • ขมิ้นันเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • ขมิ้นชัน อาจเป็นอันตรายสำรับคนที่มีอาการแพ้ขมิ้น อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้

ขมิ้นชัน คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง เหง้าของขมิ้นขั้นิยมมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ต้นขมิ้นชัน เป็นอย่างไร สรรพคุณของขมิ้นชัน เช่น บำรุงผิว รักษาแผล สร้างภูมิต้านทานโรค ลดไขมันในเส้นเลือด ประโยชน์และโทษของขมิ้นชัน มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  • ขมิ้นชัน ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Last Updated on February 1, 2024