จุนสี คอปเปอร์ซัลเฟต ผลึกสีน้ำเงิน ประโยชน์มีอะไรบ้าง

จุนสี คอปเปอร์ซัลเฟต เกลือที่เกิดจากสนิมทองแดง เป็นผลึกสีนํ้าเงิน ประโยชน์ของจุนสี รักษาแผล รักษาเหงือกและฟัน กำจัดหูด รักษาคออักเสบ รักษาแผลในตา ใช้ชุบทองแดง

จุนสี สมุนไพร สมุนไพรไทย

จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต สูตรทางเคมี คือ CuSO4  มีชื่อเรียกต่างๆของจุนสี เช่น หินเขียว ต๋าฮ้วง Bluestone เป็นต้น จุนสีเป็นสารประกอบของทองแดง กำมะถัน และ ออกซิเจน เกลือจุนสี นั้นพบได้หลายรูปแบบมีสีฟ้าสด มีประโยชน์เป็นสารปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลงรบกวน สารฆ่าเชื้อรา

จุนสี พบได้ในธรรมชาติ พบในเหมืองทองแดง ผลึกจุนสี ใช้โลหะทองแดง หรือ สนิมทองแดง ทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน คนทั่วไปจึงมักเข้าใจผิดว่า จุนสี คือ สนิมทองแดง จุนสี เป็นของดี และ บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน จุนสีที้เปลี่ยนเป็นสีขาวจะเรียก จุนสีสะตุ การผลิตจุนสีในเชิงอุตสาหกรรมทำได้โดยนำโลหะทองแดงไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเข้มข้น หรือนำคอปเปอร์ออกไซด์ไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเจือจาง

สรรพคุณของจันสี

จุนสี มี รสเปรี้ยว ฝาด และเย็น ตามตำรายาโบราณ ได้ใช้ประโยชน์จากจุนสี ดังนี้

  • จุนสีผสมกับขี้ผึ้ง ใช้กัดหัวหูด ใช้ทารักษาแผลหนอง
  • จุนสีละลายน้ำอ่อนๆ ใช้หยอดตา รักษาแผลในตา นำมาอมแก้โรคเหงือกและฟัน รักษาอาการปากเปื่อย รักษาคออักเสบ ทำให้อาเจียนขับสานพิษ

โทษของจุนสี

การใช้จุนสีเป็นยารักษาโรคนัั้น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ การกินจุนสีผสมน้ำทำให้อาเจียน หากกินมากเกินไปเป็นอันตราต่อร่างกายได้

จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต คือ เกลือปรกติชนิดหนึ่งเกิดจากสนิมทองแดง ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ประโยชน์ของจุนสี รักษาแผลหนอง รักษาโรคเหลือกและฟัน กำจัดหูด รักษาคออักเสบ รักษาแผลในตา นอจจากนั้นใช้ในการชุบทองแดง ฆ่าลูกนํ้า ปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลง ฆ่าเชื้อรา

แหล่งอ้างอิง

  • Varghese, J. N.; Maslen, E. N. (1985). “Electron density in non-ideal metal complexes. I. Copper sulphate pentahydrate”. Acta Crystallogr. B. 41 (3): 184–190. doi:10.1107/S0108768185001914.
  • Haynes, p. 4.62
  • Rumble, John, บ.ก. (2018). CRC Handbook of Chemistry and Physics (ภาษาอังกฤษ) (99th ed.). CRC Press, Taylor & Francis Group. p. 5-179. ISBN 9781138561632.
  • Anthony, John W.; Bideaux, Richard A.; Bladh, Kenneth W.; Nichols, Monte C., บ.ก. (2003). “Chalcocyanite” (PDF). Handbook of Mineralogy. Vol. V. Borates, Carbonates, Sulfates. Chantilly, VA, US: Mineralogical Society of America. ISBN 978-0962209741.
  • Haynes, p. 10.240
  • Kokkoros, P. A.; Rentzeperis, P. J. (1958). “The crystal structure of the anhydrous sulphates of copper and zinc”. Acta Crystallographica. 11 (5): 361–364. doi:10.1107/S0365110X58000955.
  • Bacon, G. E.; Titterton, D. H. (1975). “Neutron-diffraction studies of CuSO4 · 5H2O and CuSO4 · 5D2O”. Z. Kristallogr. 141 (5–6): 330–341. Bibcode:1975ZK….141..330B. doi:10.1524/zkri.1975.141.5-6.330.
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0150”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  • Cupric sulfate. US National Institutes of Health
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.หน้า 42-43

Last Updated on January 31, 2024