ชะคราม ผักกลิ่นฉุน สมุนไพร ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร

ชะคราม ช้าคราม พืชตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้างชะคราม สมุุนไพร วัชพืช สรรพคุณของชะคราม

ต้นชะคราม ( Seablite ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม คือ Suaeda maritime (L.) Dumort. ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม เช่น ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะคราม เป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพความเค็มของชายทะเลได้ ถิ่นกำเนิดของชะคราม อยู่ประเทศที่มีภูมิประเทศติดชายทะเล สำหรับประเทศไทย พบได้ตามป่าโกงกาง และ ชายทะเล ในภูมิภาคต่างๆ

ใบชะคราม นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งอาหารไทยที่มีใบชะครามเป็นส่วนประกอบ มีหลายเมนูอาหาร เช่น ยำใบชะครามทะเล แกงเลียง แกงคั่ว ห่อหมก แกงส้ม เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะคราม

ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นชะคราม มีดังนี้

  • ลำต้นชะคราม ลำต้นแตกกิ่งสาขาจำนวนมาก เป็นลักษณะพุ่มขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอ่อนสีเขียว ลำต้นแก่สีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ ลำต้นอ่อนอวบน้ำ
  • รากของชะคราม มีรากแก้วที่แทงลึกลงดิน เป็นแนวตั้ง และ มีรากแขนง แทงออกตามด้ายข้างขนานกับพื้น
  • ใบชะคราม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบออกตามกิ่งต่างๆ ใบลักกษณะกลมยาว อวบน้ำ ปลายใบแหลม ใบชะครามอ่อนมีสีเขียว
  • ดอกชะคราม ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกอ่อนมีสีเขียว กลีบดอกแก่มีสีแดง
  • ผลชะคราม ลักษณะทรงกลม ผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบน  เมล็ดมีสีน้ำตาล ลักษณะมันวาว

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

การบริโภคชะคราม นิยมรับประทานใบชะครามเป็นอาหาร ซึ่งสามารถรับประทานทั้งแบบใบสด และ ใบลวก ได้ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด และ ใบชะครามลวก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามลวกมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.10% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.58% คาร์โบไฮเดรต 2.49% โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามสดมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.40% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.81% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 2.97% โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม  เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะคราม

การใช้ประโยชน์จากชะคราม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย  สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบชะคราม รากชะคราม และ ลำต้นชะคราม สรรพคุณของชะคราม มีดังนี้

  • รากชะคราม สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก รักษาแผลฝี แก้น้ำเหลืองเสีย แก้อาการผื่นคัน รักษาโรคผิวหนัง และ รักษาอาการปวดตามเส้นเอ็น
  • ใบชะคราม สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลบวมหนอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้ตามัว บำรุงเส้นผมและรากผม รักษาอาการผมร่วง
  • ลำต้นชะคราม สรรพคุณบำรุงเส้นผมและรากผม รักษาผมร่วง

โทษของชะคราม

  • ใบชะคราม มีกลิ่นฉุ่น สำหรับคนที่ไม่เคยชินในการกินใบชะคราม อาจทำให้อาเจียนได้
  • กลิ่นฉุนของใบชะคราม ทำให้กลิ่นตัวและกลิ่นปาก แรง ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

ชะคราม ช้าคราม วัชพืช พืชล้มลุกตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณ เช่น บำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้าง

Last Updated on March 18, 2021