ชะอม พืชพื้นบ้าน สมุนไพร ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร

ต้นชะอม นิยมรับประทานยอดอ่อน ต้นชะอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงสายตาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ โทษของชะอมมีอะไรบ้างชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ชะอม ( Climbing wattle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd. ชื่อเรียกอื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ , อม , ผักขา , พูซูเด๊าะ , โพซุยโดะ เป็นต้น ต้นชะอม จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว พืชพื้นเมือง นิยมรับประทานยอดอ่อนชะอม เป็นอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทย เมนูชะอม เช่น ชะอมชุบไข่ทอด แกงหน่อไม้ แกงแค เป็นต้น

สายพันธุ์ของชะอม

สำหรับชะอมที่นิยมปลูก เพื่อรับประทาน มี 3 สายพันธุ์ คือ ชะอมป่า ชะอมเด็ดยอด และ ชะอมไม่มีหนาม โดยชะอมที่วางขายตามตลาดทั่วไป มี 3 สายพันธุ์ คือ ชะอมยอดใหญ่ ชะอมอยอดขนาดกลาง และ ชะอมยอดเล็ก

ลักษณะของชะอม

ต้นชะอม เป็นพืชล้มลุก ชะอมมีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ สามารถขยายพันธ์โดย การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือ การโน้มกิ่งลงดิน ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นของชะอม ลำต้นกลม ตั้งตรง แตกกิ่งก้าน ลำต้นมีหนามแหลมคม เปลือกลำต้นสีน้ำตางอ่อนๆ
  • ใบของชะอม ลักษณะของใบชะอม เป็นใบประกอบ ใบมีสีเขียว ขนาดเล็ก ใบชะอมคล้ายใบกระถิน ใบชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ใบเรียบ
  • ดอกชะอม ออกตามซอกใบ มีขนาดเล็ก สีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

ต้นชะอมนิยมนำยอดอ่อน มารับประทานเป็นผัดสด โดยนำมาลวกก่อน เพื่อลดกลิ่นฉุนของใบชะอม โดยคุณค่าทางโภชนาการของชะอม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย การใยอาหาร 5.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 58 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

การใช้ประโยชน์จากชะอม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากรากชะอมและใบชะอม โดยรายละเอียดของสรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ใบยอดชะอม สรรพคุณช่วยขับลม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงเส้นผม เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับถ่าย แก้โรคท้องผูก
  • รากชะอม สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น

โทษของชะอม

สำหรับการรับประทานชะอม หากรับประทานชะอมในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดโทษได้ โดยข้อควรระวังในการกินชะอม มีดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอด ไม่ควรรับประทานชะอม เพราะ จะทำให้น้ำนมแห้ง
  • การกินชะอมในหน้าฝน ชะอมจะมีรสเปรี้ยว และ กลิ่นฉุนแรง อาจทำให้ปวดท้องได้
  • ชะอมมีกรดยูริก ทำให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถรับประทานได้ แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก

ต้นชะอม พืชพื้นบ้าน นิยมรับประทานยอดอ่อนชะอม ลักษณะของชะอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม สรรพคุณของยอดชะอม เช่น ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงสายตาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง โทษของชะอม มีอะไรบ้าง

Last Updated on March 18, 2021