ประโยชน์ของดินประสิว โพแทสเซียมไนเตรต โทษเป็นอย่างไร

ประโยชน์ของดินประสิว โพแทสเซียมไนเตรต Potassium Nitrate ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรด สรรพคุณต้านเชื้อแบคที่เรีย นำมาทำยาสมุนไพร ช่วยขับลม ถอนพิษ ดินประสิวใช้ถนอมอาหาร

สมุนไพร ดินปะสิว โพแทสเซียมไนเตรต  ประโยชน์ของดินประสิว

ดินประสิว หรือ โพแทสเซียมไนเตรต ( Potassium Nitrate ) คือ ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรดเกิดจากปัสสาวะของสัตว์หรือคน ปัจจุบัน ดินประสิว ผลิตมาจากอากาศสกัดโดยไนโตรเจนแล้วนำมาทำกรดไนตริก ดินประสิว มีคุณสมบัติในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม

ลักษณะของดินประสิว

ดินประสิว มีลักษณะเป็น ผงสีขาว ละลายได้ดีในน้ำ ไม่มีกลิ่น รสเค็มเล็กน้อย มีความคงตัวดี อาจมีการเปลี่ยนรูปขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม

ดินประสิวในประเทศไทย

สำหรับดินประสิว นั้นคนไทยเรารู้จักดินประสิว เนื่องจาก นำดินประสิวมากทำดินปืน เป็นส่วนผสมในดินปืน และนำมาถนอมอาหารเป็นสารกันบูด ทำให้สีของเนื้อสัตว์ดูสดอยู่เสมอ กระทรวงสาธารณสุข ของประเทศไทย อนุญาตให้ใช้สารกันบูดจากไนเตรตในอาหารได้ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ได้กำหนดปริมาณการใช้ดินประสิวในอาหาร ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

ประโยชน์ของดินประสิว

สำหรับประโยชน์ของดินประสิว และ สรรพคุณของดินประสิว ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ในตำรายาโบราณ เรียกดินประสิวว่า เกลือสุรจระ นำเข้ามาจากประเทศอินเดีย นำ โพแทสเซียมไนเตรต ต้ม กรอง แล้วเคี่ยวให้แห้ง ใช้เป็นยาขับลม ถอนพิษ ประโยชน์ต่างๆของดินประสิว มีดังนี้

  • ใช้เป็นส่วนขยายสูตรยาฆ่าหญ้า ลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรม
  • ใช้เป็นยาฆ่าตอไม้ ( Stump Remover ) ทำให้ตอไม้ใต้ดินเปื่อยยุ่ย
  • ใช้ลดอุณหภูมิ เป็นสารหล่อเย็น นำมาละลายน้ำ จะได้สารละลายที่มีอุณหภูมิต่ำประมาณ 8 – 12 องศาเซลเซียส
  • ใช้ทำธูป ดินประสิวเป็นส่วนผสมของเนื้อธูป
  • ใช้ผลิตกระจก และ เลนส์ นำดินประสิวมาเป็นส่วนผสมของน้ำยา เพิ่มความแข็งแกร่งของกระจก และ เลนส์
  • ใช้เป็นผสมของยาสีฟัน เพื่อลดอาการเสียวฟัน
  • ใช้เป็นสารเร่งดอก เป็นปุ๋ยใช้กับพืชสวน เช่น มะม่วง มังคุด เป็นต้น
  • ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณ ช่วยถอนพิษ และ ช่วยขับลม

การใช้ประโยชน์จากดินประสิวยังมีการนำเอาดินประสิวมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลาย เช่น อตุสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมดอกไม้ไฟ และ อุตสาหกรรมทองรูปพรรณ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อุตสาหกรรมอาหาร จะใช้ดินประสิว เป็นสารกันบูด และ สารถนอมสีเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่เสมอ นำมาทำให้ เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน ปลาร้า แหนม เป็นต้น ดินประสิว มีคุณสมบัติในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม
  • อุตสาหกรรมดอกไม้ไฟและพลุ จะนำดินประสิวเป็นส่วนผสมของดินปืน ดินประสิวจะทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไตส์ ให้เกิดแรงขับดันแก่ดอกไม้ไฟ บั้งไฟ ตะไล พลุ ประทัด เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมทองคำรูปพรรณ จะใช้ดินประสิว เป็นตัวลดอุณหภูมิการหลอมละลายของทอง ทำให้ทองหลอมละลายได้ง่าย  สามารถแยกสิ่งสกปรกส่วนเกินออกจากทองคำได้ ดินประสิว ทำให้สีของทองคำรูปพรรณเปล่งปลั่ง สวยงาม

โทษของดินประสิว

ดินประสิว เป็น สารก่อมะเร็ง ดินประสิวเมื่ออยู่น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร อาจทำให้ท้องร่วงอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ หายใจไม่ออกได้ เป็นอันตรายกับเด็ก

ดินประสิว หรือ โพแทสเซียมไนเตรต ( Potassium Nitrate ) คือ ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรด มีสรรพคุณช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรีย นำมาเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร ช่วยขับลม และ ถอนพิษ ดินประสิว ใช้ถนอมอาหาร นำมาทำดินปืน และ เป็นส่วนผสมในการทำทองคำรูปพรรณ

แหล่งอ้างอิง

  • Record of Potassium nitrate in the GESTIS Substance Database of the Institute for Occupational Safety and Health, accessed on 2007-03-09.
  • Gustafson, A. F. (1949). Handbook of Fertilizers – Their Sources, Make-Up, Effects, And Use. p. 25. ISBN 9781473384521. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-17.
  • B. J. Kosanke; B. Sturman; K. Kosanke; I. von Maltitz; T. Shimizu; M. A. Wilson; N. Kubota; C. Jennings-White; D. Chapman (2004). “2”. Pyrotechnic Chemistry. Journal of Pyrotechnics. pp. 5–6. ISBN 978-1-889526-15-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05.
  • Kolthoff, Treatise on Analytical Chemistry, New York, Interscience Encyclopedia, Inc., 1959.
  • chem.sis.nlm.nih.gov เก็บถาวร 2014-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • “ไนเตรทและไนไตรท์”. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-14. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • “อาหารที่มีดินประสิว”. Healthy Canpus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-11. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556. หน้า 58 – 60

Last Updated on January 31, 2024