ผักบุ้ง ผักสวนครัว สมุนไพรไทย ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร

ผักบุ้ง นิยมนำมาทำเป็นอาหารรับประทาน ต้นผักบุ้งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง สรรพคุณบำรุงสายตา มีกากใยอาหาร ช่วยการขับถ่าย โทษของผักบุ้ง มีอะไรบ้างผักบุ้ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นผักบุ้ง ( Swamp morning glory ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักบุ้ง คือ Ipomoea aquatica Forssk. ชื่อเรียกอื่นๆของผักบุ้ง เช่น ผักทอดยอด ผักบุ้งไทย ผักบุ้งแดง ผักบุ้งน้ำ ผักบุ้งนา กำจร เป็นต้น สำหรับอาหารไทย นิยมนำผักบุ้งมาประกอบอาหาร หลายเมนูอาหาร เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง สุกี้ แกงส้ม แกงเทโพ เป็นต้น

ผักบุ้งในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย นั้น นิยมรับประทานผักบุ้งเป็นอาหาร มีเมนูอาหารหลากหลายเมนูอาหาร ที่มีผักบุ้งเป็นส่วนประกอบ รวมถึงการรับประทานผักบุ้งเป็นผักสด ผักบุ้ง จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกผักบุ้งเชิงพาณิชย์ เพื่อบริโภคภายในประเทศ แหล่งปลูกผักบุ้ง จะกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับสายพันธ์ผักบุ้ง ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร มีผักบุ้ง 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา และ ผักบุ้งจีน โดยรายละเอียดของสายพันธ์ผักบุ้ง ที่ควรรู้จักจะกล่าวในเนื้อหาถัดไป

สายพันธุ์ผักบุ้ง

สำหรับผักบุ้ง มีหลายสายพันธ์ุ แต่ มี 3 สายพันธ์ุ ที่นิยมปลูกและรับประทานในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งจีน และ ผักบุ้งน้ำ รายละเอียดแต่ละสายพันธุ์ มีดังนี้

  • ผักบุ้งไทย หรือเรียกอีกชื่อว่า ผักบุ้งน้ำ เป็นผักบุ้งที่ขึ้นตามแหล่งน้ำ ใบยาว เรียว ลำต้นมีขนาดเล็ก นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง
  • ผักบุ้งจีน คือ ผักบุ้งที่มีขนาดของใบและลำต้นใหญ่ ปลูกบนดิน เป็นผักบุ้งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า
  • ผักบุ้งนา คือ ผักบุ้งพันธุ์พื้นบ้าน ลำต้นเล็ก มีสีเขียวบนแดง หรือ สีแดงน้ำตาล นิยมนำมากินเป็นผักสด แนมกับอาหารต่างๆ เช่น ลาบ ส้มตำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักบุ้ง

สำหรับผักบุ้งนั้น จัดอยู่ในพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สามารถขึ้นในน้ำและดินได้ สำหรับการขยายพันธ์ผักบุ้ง สามารถขยายพันธ์ โดยการ ปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นผักบุ้ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักบุ้ง เป็นลักษณะปล้องๆ กลม เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ มีสีเขียว ภายในลำต้นกลวง และ มีรากออกตามปล้องของลำต้น
  • ใบผักบุ้ง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม มีสีเขียว ใบจะออกมาจากปล้องของลำต้น
  • ดอกผักบุ้ง ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะคล้ายรูประฆัง สีขาวหรือม่วงอ่อน ดอกผักบุ้งออกได้ตลอดปี
  • เมล็ดของผักบุ้ง เมล็ดผักบุ้งพัฒนามาจากดอกผักบุ้ง ลักษณะกลมรี สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง

สำหรับการบริโภคผักบุ้งนั้น นิยมบริโภคผักบุ้งทั้งสด หรือ นำมาลวก ผ่านความร้อน ซึ่งบริโภคทั้งต้นทุกส่วนของผักบุ้ง ยกเว้นรากของผักบุ้ง นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผักบุ้ง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 19 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.141 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.096 มิลลิกรัม วิตามินบี9 57 ไมโครกรัม วิตามินซี 55 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม

สรรพคุณของของผักบุ้ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักบุ้ง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของผักบุ้ง ตั้งแต่ รากผักบุ้ง ดอกผักบุ้ง ใบผักบุ้ง หรือ ทั้งต้นของผักบุ้ง โดย สรรพคุณของผักบุ้ง มีดังนี้

  • ดอกผักบุ้ง สรรพคุณใช้รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ แก้อักเสบ แก้ปวด ลดอาการบวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง
  • รากผักบุ้ง สรรพคุณแก้ไอ รักษาโรคหืด รักษาอาการตกขาว ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการบวม
  • ใบผักบุ้ง สรรพคุณใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ทำให้อาเจียน ใช้ถอนพิษยาเบื่อ ป้องกันมะเร็ง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ทั้งต้นของผักบุ้ง สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร้ง แก้ร้อนใน ช่วยคลายร้อน บำรุงระบบประสาท ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการปวดหัว แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน รักษาแผลร้อนใน รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการฟกช้ำ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย

โทษของผักบุ้ง

สำหรับการกินผักบุ้งนั้น มีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่การกินผักบุ้งต้องกินอย่างปลอดภัย และ กินในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับข้อควรระวังในการบริโภคผักบุ้ง มีดังนี้

  • ผักบุ้งนิยมปลูกเชิงพาณิชย์ ซึ่งในผักบุ้งอาจเจือปนสารเคมี ยาฆ่าแมลงได้ ก่อนนำผักบุ้งมารับประทานต้องทำความสะอาดให้ดีก่อน หากล้างไม่สะอาด อาจทำให้มีสารเคมีตกค้างในร่างกาย และ ทำให้ท้องเสียจากการกินอาหารไม่สะอาด
  • ใบสดของผักบ้ง นำมาคั้นนำสดๆ กลิ่นเหม็นเขียวของผักบุ้ง ทำให้เกิดอาการอาเจียน สำหรับคนที่ไม่ต้องการอาเจียน ให้หลีกเลี้ยงการกินน้ำใบผักบุ้งตั้นสด แต่ การอาเจียน สามารถช่วยรักษาอาการเป็นพิษจากการเบื่ออาหาร หรือ แก้เมาได้

ผักบุ้ง คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง นิยมนำมาทำเป็นอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นผักบุ้งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง สรรพคุณของผักบุ้ง เช่น บำรุงสายตา มีกากใยอาหาร ช่วยการขับถ่าย โทษของผักบุ้ง มีอะไรบ้าง

Last Updated on January 28, 2022