มะเขือเทศ พืชสวนครัว สมุนไพร ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร

มะเขือเทศ สมุนไพรสำหรับความงาม ต้นมะเขือเทศเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศมีอะไรบ้างมะเขือเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะเขือเทศ ( Tomato ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือเทศ คือ Lycopersicon esculentum Mill. ชื่อเรียกอื่นๆของมะเขือเทศ เช่น มะเขือส้ม มะเขือเครือ มะเขือน้อย ตรอบ น้ำนอ เป็นต้น ต้นมะเขือเทศ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก แถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริการใต้ จากนั้นมะเขือเทศได้แพร่กระจายเข้าสู่ทวีกอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของต้นมะเขือเทศ

ต้นมะเขือเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง อายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะเขือเทศ มีดังนี้

  • รากมะเขือเทศ เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากแก้วความลึกได้ถึง 1 เมตร และ รากแขนงยาวได้ถึง 50 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นของมะเขือเทศ เนื้อลำต้นอ่อน เป็นทรงกลม เปราะและหักง่าย ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม และ ลำต้นมีกลิ่นเฉพาะตัว
  • ใบของมะเขือเทศ ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบสีเขียว มีขนอ่อนๆ ผิวใบหยาบ ในไม่เรียบ
  • ดอกมะเขือเทศ ลักษณะดอกมะเขือเทศออกเป็นช่อ แทงออกตามข้อของกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก ดอกมีสีเหลือง
  • ผลมะเขือเทศ ลักษณะกลม ฉ่ำน้ำ ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดง
  • เมล็ดมะเขือเทศ ลักษณะแบน ทรงรี สีเหลือง ขนาดเล็ก อยู่ภายในผลของมะเขือเทศ

มะเขือเทศในประเทศไทย

สำหรับมะเขือเทศในประเทศไทย นั้นมะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มะเขือเทศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพืช โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรม และ มะเขือเทศสำหรับรับประทานผลสด ซึ่งจากสถิติการปลูกมะเขือเทศในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2533 มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 90,000 พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ ร้อยละ 90 ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม และ พื้นที่ปลูกมะเขือเทศ เพื่อการบริโภคผลสด ประมาณ  9,000 ไร่

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ และ สารต่างๆจากมะเขือเทศ ได้มีการศึกษาผลมะเขือเทศสด ขนาด 100 กรัม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ขนาด 100 กรัม พบว่ามะเขือเทศให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.9 กรัม น้ำตาล 2.6 กรัม กากใยอาหาร 1.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม น้ำ 94.5 กรัม วิตามินเอ 42 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 449 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 123 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.594 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.08 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.54 มิลลิกรัม วิตามินเค 7.9 ไมโครกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.114 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 2,573 ไมโครกรัม

ผลมะเขือเทศสด พบว่ามีสารสำคัญ กลุ่มแคโรทีนอยด์ คือ ไลโคพีน ( Lycopene ) เป็นสารให้สีแดง และ มี กรดซิตริก ที่ให้รสเปรี้ยว ถึงแม้ว่ามะเขือเทศ จะมีสารอาหารสำคัญมามกา แต่ในมะเขือเทศ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid แต่พบในปริมาณที่น้อยมาก โดยคุณสมบัติของสารชนิดนี้ เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยพบในมะเขือเทศดิบมากกว่ามะเขือเทศสุก

สรรพคุณของมะเขือเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือเทศ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากผลของมะเขือเทศ โดยพบว่า ประโยชน์ของมะเขือเทศ มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค รักษาโรคหอบหืด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในปาก
  • บำรุงเลือด ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก
  • ป้องกันเชื้อโรค ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • มีสารต้านอนุมูลอิระ ป้องกันมะเร็ง
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่น ลดรอยเหี่ยวย่น รักษาสิว
  • บำรุงสายตา
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมชุ่มชื่น

โทษของมะเขือเทศ

สำหรับการบริโภคมะเขือเทศ เพื่อความปลอดภัยต้องรับประทานมะเขือเทศ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระมัดระวังในการบริโภคมะเขือเทศ มีดังนี้

  • น้ำมะเขือเทศ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะกินมะเขือเทศแล้วได้ประโยชน์ทั้งหมด เพราะ ในมะเขือเทศมีธาตุโพแทสเซียมสูง สำหรับผู้ป่วยโรคไต หรือ ผู้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ควรดื่มน้ำมะเขือเทศ
  • มะเขือเทศดิบ มีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid ได้แก่ สาร alpha-tomatine เป็นหลัก และ สาร beta-tomatine แต่มีในปริมาณเล็กน้อย เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง โดยผลมะเขือเทศดิบ สีเขียว มีความเข้มข้นประมาณ 150-330 มก./100 กรัม

มะเขือเทศ พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร สำหรับความงาม ลักษณะของต้นมะเขือเทศ คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ประโยชน์และสรรพคุณของมะเขือเทศ เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด บำรุงสมอง โทษของมะเขือเทศ มีอะไรบ้าง

Last Updated on March 18, 2021