อัญชัน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย สรรพคุณบำรุงเส้นผม

อัญชัน สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้ง ทำขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย นอกจากนั้นดอกก็สามารถนำมาชุบแป้งทอด

อัญชัน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดอกอัญชัญ มี สารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์ แต่งสีผสมอาหารให้สีม่วง ต้นอัญชัญ ภาษาอังกฤษ คือ Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn ชื่ออื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน เอื้องชัน เองชัญ อัญชันที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดอัญชันดอกขาวกับอัญชันดอกน้ำเงิน และ ชนิดพันธุ์ทางจะมีสีม่วง สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย สามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ประกอบอาหาร ทำการมัดย้อมผ้า โดยใช้สีของอัญชันมาย้อม เป็นต้นและอย่างอื่นมากมาย

ลักษณะของต้นอัญชัน

ต้นอัญชัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย อายุสั้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย มีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และ อเมริกา สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด นิยมปลูกเป็นพืชริมรั้วบ้าน ปลูกเป็นซุ้มให้ความสวยงามเป้นไม้ประดับ ลักษณะของต้นอัณชัน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของอัญชัน เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย เนื้อไม้อ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบของอัญชัน ลักษณะใบประกอบแบบขนนก ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนา
  • ดอกอัญชัน ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว  รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ ออกดอกตามซอกใบ ดอกอัญชันมีสีต่างๆตามแต่ละพันธ์ เช่น สีขาว สีน้ำเงิน และสีม่วง ต้นอัญชันออกดอกตลอดทั้งปี
  • ผลอัญชัน เป็นลักษณะฝัก ผลแห้งจะแตกเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดสีดำ  สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของอัญชัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญ ต่างๆ ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัญ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาเป็นอาหาร ทำยารักษาโรค ทำเครื่องสำอาง อัญชัน สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก เมล็ด และ ราก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณบำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดก ดำ นุ่ม ดอกอัญชัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด นิยมนำดอกมาคั้นเอาสีน้ำเงิน มาปรุงแต่ง สีของอาหาร ขนมไทย และ ทำยาสระผม ดอกอัญชันให้สีน้ำเงินม่วง
  • เมล็ดของอัญชัญ สรรพคุณเป็นยาระบาย ทำให้คลื้นไส้อาเจียน
  • รากของอัญชัญ รากมีรสขม สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้ปวดฟัน บำรุงสายตา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น
  • ใบของอัญชัน สรรพคุณบำรุงสายตา รักษาอาการตาแฉะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

การใช้ประโยชน์จากอัญชัน ไม่ได้มีแต่ระโยชน์ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ผิดวิธี สามารถทำให้เกิดโทษได้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หากกินน้ำดอกอัญชันมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพราะสีน้ำเงินของดอกอัญชัน ทำให้ไตต้องขับสารสีน้ำเงินออก สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน
  • อัญชันมีสารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรกินอัญชัน
  • น้ำดอกอัญชัน หากปรุงรสด้วยน้ำตาล ให้ความหวานมากเกินไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้เป็นโรคเบาหวาน และ โรคหลอดเลือดต่างๆได้
  • ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน หรือ กินดอกอัญชัน เนื่องจาก ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสมุนไพรดอกอัญชัน ไม่ควรดื่มในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เนื่องจาก จะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสื่อมสภาพ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • การกินอาหารจากดอกอัญชัน ให้กินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากกินในปริมาณมากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันสูง ควรงดการบริโภคดอกอัญชัน เพราะ อาจทำให้หน้ามืดและหมดสติ
  • การกินดอกอัญชัน แบบสดๆ ยางของดอกอัญชันจะทำให้ระคายเคืองในลำคอ
  • เมล็ดของอัญชัน หากกินแบบสดๆ เป็นพิษทำให้คลื่นไส้อาเจียน

อัญชัน พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน เช่น บำรุงผม บำรุงเลือด บำรุงสายตา นิยมนำมาแต่งสีอาหาร และ ทำน้ำสมุนไพร โทษของอัญชัน มีอะไรบ้าง ดอกอัญชันนำมาทำเครื่องสำอางค์และยาสระผมได้

แหล่งอ้างอิง

  • เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  • อัญชัน เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม, ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บทความสุขภาพ, สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ !!, กรีนเนอรัลด์
  • รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ, อัญชัน เก็บถาวร 2010-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศาลาสมุนไพร
  • ดอกไม้ให้คุณ,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 38 เมษายน 2531 หน้า 111

Last Updated on February 1, 2024