เก็กฮวย สมุนไพร เป็นยาเย็น สรรพคุณและโทษ เป็นอย่างไร

เก๊กฮวย สมุนไพรเมืองหนาว ดอกเก๊กฮวยมีประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นเก็กฮวยเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับสารพิษ เป็นยาเย็น โทษของเก็กฮวยเก๊กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก็กฮวย

ต้นเก็กฮวย ภาษาอังกฤษ เรียก Chrysanthemum ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก็กฮวยขาว คือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก๊กฮวยเหลือง คือ Chrysanthemum indicum L. ชื่อเรียกอื่นๆของเก็กฮวย เช่น เบญจมาศ เบญจมาศหนู ดอกขี้ไก่ เป็นต้น คุณสมบัติเด่นของเก๊กฮวย คือ มีกลิ่นฉุน รสขมและหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ลักษณะของต้นเก็กฮวย

ต้นเก็กฮวย เป็นไม้ล้มลุก ต้นขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นเก็กฮวย มีดังนี้

  • ลำต้นเก็กฮวย ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม กิ่งก้านมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ใบเก็กฮวย ใบเดี่ยว แบบเรียงสลับกัน ใบรูปไข่ บริเวณโคนใบและปลายใบแหลม ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ใบมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ดอกเก็กฮวย ดอกออกเป็นช่อกระจุกตัว ดอกออกตามงามใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลือง คล้ายดอกทานตะวัน

โดยทั่วไปเก็กฮวย มี 2 ชนิด คือ เก็กฮวยดอกขาว และ เก็กฮวยดอกเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เก๊กฮวยดอกขาว ดอกสีขาวขนาดใหญ่ ดอกมีสีขาว เมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอม อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
  • เก๊กฮวยดอกเหลือง กลีบดอกมีสีเหลือง รสขมกว่าสายพันธ์ดอกขาว

คุณค่าทางโภชนาการของเก็กฮวย

สำหรับ ดอกเก๊กฮวย มีสารสำคัญ ประกอบด้วย สารพวกฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) สารไครแซนทีมิน ( Chrysanthemin ) สารอะดีนีน ( Adenine )  สตาไคดวีน ( Stachydrine ) โคลีน ( Choline ) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยจากดอกเก็กฮวย บำรุงหัวใจ ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

สรรพคุณของเก็กฮวย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านสมุนไพร จะใช้ประโยชน์จากดอกเก็กฮวย สามารถนำมาต้มน้ำรับประทาน สรรพคุณของเก็กฮวย มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่น
  • ขับสารพิษตกค้างในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ
  • ต้านเชื้อโรคและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ ช่วยลดไข้ แก้ไอ เป็นยาเย็น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคเส้นเลือดตีบ
  • บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี แก้ปวดหัว
  • บำรุงสายตา ช่วยแก้ตาบวม แก้ตามัว รักษาอาการตาอักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม
  • รักษาแผล รักษาฝี แผลหนอง
  • บำรุงเส้นผม ช่วยอาการผมร่วง

โทษของเก็กฮวย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำเก็กฮวย หากเติมน้ำตาลมากเกินไป และ ดื่มน้ำเก้กฮวยที่หวานๆนานๆและติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือด และ เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้
  • น้ำมันจากดอกเก๊กฮวย มีสารไพรีทรัม ( Pyrethrum ) ซึ่งเหมือนสารประกอบในยาฆ่าแมลง หากเกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ปาก ตา หรือ จมูก ให้หยุดการใช้ทันที

Last Updated on April 19, 2023