กระเทียม พืชสวนครัว สมุนไพร ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร

กระเทียม หัวกระเทียมนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ต้นกระเทียมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้าง

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม เช่น หอมเทียม หอมขาว เทียม เป็นต้น กระเทียมเป็นพืชตระกูลพลับพลึง

กระเทียมในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจ แหล่งปลูกกระเทียมของประเทศไทย อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมคุณภาพดีที่สุด คือ กระเทียมของศรีสะเกษ กระเทียม สามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากสภาพดินและอากาศของประเทศไทยเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกระเทียม

ลักษณะของต้นกระเทียม

ต้นกระเทียม จัดเป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • หัวกระเทียม อยู่ใต้ดิน ภายในหัวกระเทียมมีเนื้อสีขาวเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นของกระเทียมออกมาจากหัวกระเทียม ตพต้นกระเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร
  • ใบกระเทียม มีลักษณะยาว ซ้อนอยู่รอบๆลำต้นของกระเทียม ใบมีสีเขียวเข้ม ยาว เหมือนต้นหอม แต่มีขนาดใหญ่กว่า

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับกระเทียม นิยมนำหัวของกระเทียมมาทำอาหาร ซึ่งหัวกระเทียมมีกลิ่นฉุน แต่หากผ่านความความร้อนกระเทียมจะมีรสหวานมากขึ้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตานบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

หัวของกระเทียม มีสารกำมะถันหลายชนิด เช่น แอลลิซิน แอลลิอิน ไดแอลลิลไดซัลไฟด์ เมทิลแอลลิลไตรซัลไฟด์ คูมาริน และ เอส-แอลลิลซีสเตอีน เป็นต้น และ ยังมีน้ำมันหอมระเหย ที่มีสารต่างๆมากกว่า 200 ชนิด

กระเทียม สรรพคุณสำคัญ คือ มีสารช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับเหงื่อ และ ขับปัสสาวะ

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม เสียเป็นส่วนใหญ่ สรรพคุณของกระเทียม สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีสขภาพผิวที่สมบูรณ์ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดน้ำมูก ป้องกันหวัด
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของความดันโลหิต
    ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยในการขับพิษในเม็ดเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย แก้อาการเวียนหัว ลดอาการปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเพศให้สมดุล ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ ช่วยแก้ปัญหาผมบาง
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไอกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลม ช่วยยับยั้งเชื้อที่ทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ ปอดบวม วัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • ช่วยขับของเสีย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยในการขับลม รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
  • บรรเทาอาการปวดและอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม มีความปลอดภัยสูง หากกินกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสม แต่ การกินกระเทียมมีผลข้างเคียง ข้อควรคำนึง และ โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมมากเกินไป ทำให้มีกลิ่นปากและกลิ่นตัวแรง
  • การกินกระเทียมสดๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปาก ทำให้แสบร้อนบริเวณปาก และ กระเพาะอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้
  • หากนำกระเทียมสด มาทาที่ผิวของเด็ก อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองต่อผิวได้ เนื่องจากผิวเด็กอ่อน
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสดๆ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียมฉุนจัด หากสูดดมนานๆ หรือ รับประทานแบบสดๆ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

กระเทียม พืชสวนครัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

Published by
Mr.Fongza