ดอกกระเจียว สมุนไพร พืชท้องถิ่น ประโยชน์และโทษ มีอะไรบ้าง

กระเจียว หรือ ว่านมหาเมฆ สมุนไพร พืชขึ้นชื่อดอกสวยงาม ต้นกระเจียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณขับพิษ แก้ท้องอืด โทษของกระเจียวมีอะไรบ้างกระเจียว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกระเจียว เป็นพืชตระกูลขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจียว คือ Curcuma sessilis Gage. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเจียว เช่น ว่านมหาเมฆ อาวแดง กาเตียว กระเจียวแดง จวด กระเจียวสี กระเจียวป่า เป็นต้น

ต้นกระเจียวในประเทศไทย

ประเทศไทย สามารถพบเห็นต้นกระเจียว ได้ตามพื้นที่ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน ซึ่ง จังหวัดชัยภูมิ มีเทศกาลดอกกระเจียวบาน เป้นพื้นที่ที่มีต้นกระเจียวขึ้นมาก เทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน เป็นเทศกาลท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ ต้นกระเจียว ในประเทศไทย  พบว่ามี 2 ชนิด คือ ต้นกระเจียวแดง และ ต้นกระเจียวขาว

ลักษณะของต้นกระเจียว

ต้นกระเจียวแดง เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการแตกหน่อ โดยพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งพบมากตามป่าดิบทั่วไป ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ที่โล่งทั่วไป ลักษณะของต้นกระเจียว มีดังนี้

  • เหง้ากระเจียว คืิอ ส่วนของลำต้น ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลักษณะของเหง้าเป็นทรงรี ผิวของเหง้าสีน้ำตาล เนื้อในสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว และ มีรสเผ็ดร้อน เหมือนขิง
  • ใบกระเจียว ลักษณะของใบเป็นกาบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบๆหน่อ รูปใบคล้ายหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง
  • ดอกกระเจียว ลักษณะของดอกออกดอกเป็นช่อ ดอกรูปทรงกระบอก ก้านดอกชูออกจากปลายลำต้น กลีบดอกเป็นสีเหลือง และ สีแดง มีขน รูปรี มีขนสั้นๆ ดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • ผลกระเจียวแดง ลักษณะของผลทรงไข่ ผิวของผลมีขน ลักษณะหนาแน่น ภายในมีเมล็ดคล้ายหยดน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจียว

สำหรับการบริโภคกระเจียว เราสามารถบริโภคส่วนของหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว โดยสามารถรับประทานเป็นผักสดได้ โดยนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจียว พบว่ารายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหน่ออ่อนกระเจียว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 35 กิโลแคลอรี โดยพบสารอาหารสำคัญมากมาย ประกอบด้วย โปรตีน 1.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม แคลเซียม 45 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ คือ วิตามินบี1 วิตามินเอ และ วิตามินบี2

สรรพคุณของกระเจียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นกระเจียว ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ เหง้า ดอก หน่ออ่อน และ ดอก โดย สรรพคุณของกระเจียว มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้ากระเจียว สรรพคุณช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยการขับถ่าย รักษาอาการท้องผูก ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย
  • หน่ออ่อนกระเจียว สรรพคุณช่วยสมานแผล
  • ดอกกระเจียว สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาอาการมดลูกอักเสบ สำหรับสตรีหลังคลอด
  • เหง้าของกระเจียว สรรพคุณช่วยแก้ปวดเมื่อย

โทษของกระเจียว

การใช้ประโยชน์จากกระเจียว สามารถนำมาบริโภคใส่ของหน่ออ่อน ซึ่งรสชาติของกระเจียว มีความเผ็นร้อย การกินกระเจียวมากเกินไปทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ และ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้

Last Updated on March 18, 2021