เลือดออกตามลายฟัน ภัยเงียบในช่องปาก รักษาอย่างไร

เลือดออกตามไรฟัน Scurvy ภาวะเลือดออกตามไรฟันเกิดจากหลอดเลือดใต้ผิวหนังและเหงือก แตกและฉีกขาด สัญญาณเตือนการเกิดโรคในช่องปากอื่นๆ จำเป็นต้องรักษาและป้องกัน

เลือดออกตามไรฟัน ลักปิดลักเปิด โรคในช่องปาก

โรคเลือดออกตามไร ( Scurvy ) หรือ ลักกะปิดลักกะเปิด คือ ภาวะร่างกายขาดวิตามินซี ทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังและเหงือก เกิดการแตกและฉีกขาดจนมีเลือกออกจากเหงือก พบบ่อบในกลุ่มโรคในช่องปาก

วิตามินซี มีความสำคัญต่อ กระบวนการซ่อมแซมตนเองของเซลล์ การบวม การอักเสบจำเป็นต้องมีวิตามินซี หลอดเลือดขนาดเล็กจะมีวิตามินซี เสริมสร้างความแข็งแรง ดังนั้น เมื่อขาดวิตามินซี ก็จะทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนัง และ เหงือก เกิดการแตก ชีกขาด ได้ง่าย ส่วนมากจะพบเมื่ออายุมากขึ้น ในวัยทำงานจนถึงวัยชรา พบได้ทั้งชายและหญิง พอๆกัน

ซึ่งถึงแม้ว่าจะรับประทานวิตามินซี ในปริมาณที่เพียงพอ แต่ในผู้ป่วยบางราย มีปัญหาเรื่องการดูดซึม วิตามินซี ทำให้ไม่ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอ ทำให้เกิด อาการของโรคลักปิดลักเปิด โรคนี้เป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่เป็นสัญญาณเตือนแรก ในความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย หากปล่อยไว้เรื้อรัง จะมีปัญหาต่อเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลอันตรายต่อโรครุนแรง อื่นที่ตามมาได้

สาเหตุของโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน มีหลายสาเหตุจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย 

  • การสูบบุหรี่ ซึ่งสารพิษในบุหรี่ มีผลต่อประสิทธิภาพ การดูดซึมวิตามินซี ของลำไส้ให้ลดลง
  • โรคลำไส้อักเสบ จะมีผลต่อการดูดซึมของลำไส้ ทำให้ร่างกายขาดวิตามินซี ในขณะที่ป่วยโรคนี้
  • อายุ เพราะ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความต้องการวิตามินซี ของร่างกายจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ในเด็กก่อน 9 ปี ต้องการวิตามินซีเฉลี่ยประมาณ 35 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เป็นเฉลี่ย 70 มิลลิกรัมต่อวัน
  • การตั้งครรภ์ เมื่อผู้หญิงเกิดการตั้งครรภ์จะพบว่าความต้องการวิตามินซี ในร่างกายจะเพิ่มขึ้นมากกว่าภาวะปกติ อีก ประมาณ 10 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขณะให้นมบุตร พบว่าวิตามินซี มีส่วนสำคัญ ในกระบวนการสร้างน้ำนมของแม่ ซึ่งความต้องการวิตามินซี จะมากขึ้นกว่าปกติอีกถึง ประมาณ 40 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว
  • การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูง พบว่า วิตามินซีจะเสียสภาพ เมื่ออยู่ในความร้อนสูง ในผักและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะพบวิตามินซีสูง แต่เมื่อนำไปประกอบอาหารโดยใช้ความร้อน พวกอาหารพัด อาหารนึ่ง อาหารอบ พบว่าวิตามินซี เสียสภาพไปมากกว่า 60 %
  • ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ขณะที่ต้องเข้ารับการฟอกไต
  • การดื่มสุรา มีผลต่อการดูดซึมของลำไส้
  • พฤติกรรมการกิน พบมากในเด็กที่ไม่ชอบรับประทานผัก และ ผลไม้
  • ภาวะทางเศรฐกิจ การอพยพย้ายถิ่น การลี้ภัยสงคราม มักพบว่าเกิดภาวะขาดวิตามินซี เนื่องจากไม่ได้รับอาหารพวกผัก และ ผลไม้ที่มีวิตามินซี ที่เพียงพอ

อาการโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับการแสดงอาการของโรคเลือดออกตามไรฟันไม่แสดงอาการหนักต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ แต่ สิ่งที่ต้องระวัง คือ การติดเชื้อโรคในช่องปาก ลักษณะอาการที่ผิดปรกติ สำหรับผู้ป่วยโรคเลือดออกตามไรฟันที่ต้องพบแพทย์

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หมดแรง ไม่มีแรงทำงาน
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีอาการปวด เป็นๆหายๆ
  • เลือดออกตามลายฟัน เหงือกบวมง่าย
  • เลือดติดแปรงสีฟัน ขณะแปรงฟัน
  • เลือดออกที่เหงือก เมื่อรับประมาณอาหารแข็ง
  • ผิวหนังห้อเลือดง่าย เป็นจุดแดงตามผิวหนัง
  • ซูบผอม ร่างกายไม่โต กระดูกผิดรูป ร่างกายเล็กเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
  • ภาวะซีด
  • ตาแดง ตาบวม บางรายเลือดออก

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคเลือดออกตามไรฟัน ตรวจประวัติการรักษา สอบถามพฤติกรรมการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ ตรวจช่องปาก เหงือก และ ฟัน เอกซเรย์กระดูก ดูโครงสร้างกระดูก

การรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับโรคเลือดออกตามไรฟันไม่ร้ายแรง สามารถหายเองได้ เพียงคนที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันต้องหมั่นรักษาความสะอาดในช่องปาก ป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนั้นการให้วิตามินซี เสริม ตามปริมาณอายุ เพศ ภาวะของร่างกาย และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ให้เน้นผัก ผลไม้ มีรสเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น เช่น ส้ม สตรอเบอรี่ มะนาว สัปปะรด มะเขือเทศ มะม่วง พริกหวาน กะหล่ำ เน้นรับประทานสด แทนการปรุงอาหารด้วยความร้อน

การป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

แนวทางการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันให้ดูแลสุขภาพ และ สุขภาพช่องปากให้สะอาด แนวทางการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน มีดังนี้

  • พยายามบังคับ ตนเองให้เน้น รับประทานผัก และ ผลไม้ ตามที่แนะนำข้างต้น เพิ่มมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และ ดื่ม สุรา หากสามารถเลิกได้จะดีที่สุด
  • การซื้อวิตามินซีเสริม รับประทานเอง จะต้องปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อน เพราะ หาก ร่างกายรับวิตามินเกินความต้องการ จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ตับ ไตทำงานหนัก โรคหัวใจ เป็นต้น

Last Updated on March 25, 2023