ความดันโลหิตสูง ปวดหัว หน้ามืดหายใจไม่ออก เป็นอัมพฤษ์ได้

ความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตสูงกว่าปรกติ อาการปวดหัวรุนแรง หายใจสั้น เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน พบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยและการรักษาทำอย่างไรโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไม้ติดต่อ การรักษาโรคความดัน

สถานการณ์ของโรคความดันสูง มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนมนุษย์ทั่วโลกมากถึง 9.4 ล้านคน และ พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อายุมากกว่า 25 ปี มีมากถึร้อยละ 40 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด

ชนิดของโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับโรคความดันโลหิตสูง สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ และ โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน

  • ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ชนิดทราบสาเหตุ ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคร้ายแรงที่ไม่แสดงอาการของโรคล่วงหน้า และ เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน จึงไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของโรคได้ แต่มีปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้

  • พฤติกรรมการกิน ซึ่งการกินอาหารที่เค็ม อาหารทอด อาหารที่มีไขมันสูง
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
  • การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
  • เป็นผลข้างเคียงจากการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไต เป็นต้น
  • พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกาย
  • การรับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์

อาการของโรคความดันโลหิตสูง 

อาการของโรคความดันสูง นั้นมักไม่แสดงอาการผิดปกติของร่างกายอย่างชัดเจน จะแสดงอาการเมื่อเกิดความรุนแรงของโรคซึ่งเป็นอันตราย ลักษณะอาการที่แสดงออกว่าเป็นอาการของโรคความดันโลหิตสูง คือ ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เท้าบวม เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน เลือดกำเดาไหล หากเกิดอาการลักษณะนี้ต้องส่งตัวพบแพทย์ด่วน โรคความดันสูงเป็นฆาตกรเงียบ ( Silent Killer ) ทำให้เสียชีวิตได้อย่างกระทันหัน

ระดับความดันโลหิตปกติของร่างกาย คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท แต่คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง คือวัดค่าความดันได้ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไปจะถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ระดับความดันโลหิตที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • 120-139/80-89 มม.ปรอท อันตรายไม่มากควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน การดื่ม
  • 140-159/90-99 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
  • 160/100 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
  • 180/110 มม.ปรอทขึ้นไประยะอันตรายมาก ต้องพบแพทย์โดยด่วน เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะไต สมอง หัวใจล้มเหลว
  • 220/140 มม.ปรอทขึ้นไประยะวิฤต ต้องพบแพทย์โดยทันที

การตรวจวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยการตรวจวัดระดับความดันโลหิต ตรวจไขมันในเลือด ตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูค่าของเลือดและการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิต สามารถรักษาได้โดยการบรรเทาอาการของโรค ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิต ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การพักผ่อน การออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆข้างเคียง

แนวทางการปฎิบัตตนสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเกิดอาการกำเริบอย่างกระทันหันได้ โดยการปรับพฤติกรรมและการดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทางการปฏิบัติตนของ

  1. ลดภาวะเครียด
  2. เลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยลดการกินอาหารพวกไขมันมาก ของทอด แป้ง น้ำตาล อาหารเค็ม
  6. หากมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เท้าบวม เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน ต้องส่งตัวให้แพทย์ด่วน

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงรักษาอยาก แต่การป้องกันการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า แนวทางการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้

  1. หมั่นตรวจร่างกายประจำปี
  2. ผ่อนคลาย ลดภาวะเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

โรคความดันโลหิตสูง ภาวะระดับความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปรกติ หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจเป็นโรคความดัน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยของการเกิดโรค การรักษาต้องทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

Last Updated on November 7, 2024