พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร พริกไทยมีกี่ชนิด คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณขับเหงื่อ บำรุงสมอง กระตุ้นประสาท โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นพริกไทย ( Pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย คือ Piper nigrum L. ชื่อเรียกอื่นๆของพริกไทย เช่น พริกขี้นก , พริกไทยดำ ,  พริกไทยขาว , พริกไทยล่อน , พริกน้อย เป็นต้น พริกไทยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย สายพันธุ์พริกไทย พริกไทยที่นิยมปลูกมี 6 สายพันธุ์ คือ พริกไทยพันธุ์ใบหนา พริกไทยพันธุ์บ้านแก้ว พริกไทยพันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พริกไทยพันธุ์ปรางถี่หยิก พริกไทยพันธุ์ควายขวิด และ พริกไทยสายพันธุ์คุชชิ่ง โดยพื้นที่ปลูกพริกไทยที่สำคัญของประเทศไทย คือ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และ จังหวัดระยอง

พริกไทยกับอาหาร

สำหรับการนำพริกไทยมาทำอาหาร มักจะนำพริกไทยมาทำเครื่องเทศ และ ปรุงอาหาร ให้รสชาติเผ็ดร้อน ให้กลิ่นหอม ช่วยในการดับคาวอาหาร นอกจากนี้พริกไทยสามารถช่วยในการถนอมอาหาร เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ เป็นต้น

ชนิดของพริกไทย

สำหรับชนิดของพริกไทย ที่นำมาใช้ในการทำอาหาร มี 2 ชนิด คือ พริกไทยขาว และ พริกไทยดำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยดำ คือ เมล็ดพริกไทยแก่เต็มที่แต่ยังไม่สุก โดยนำมาตากแดดจนแห้งเป็นสีดำ โดยไม่ปลอกเปลือกเมล็ด
  • พริกไทยขาว คือ เมล็ดพริกไทยที่สุกเต็มที่ โดยนำมาแช่น้ำ ให้เปลือกของเมล็ดพริกไทยลอกเปลือกออก จากนั้นนำไปตากแห้ง

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย เป็นพืชล้มลุก ปลูกได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อน สามารถขยายพันธ์ได้โดยการการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ลักษณะของต้นพริกไทย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริกไทย ลักษณะเป็นเถา เลื้อยตามเสาหรือกิ่งไม้ต่างๆ ลำต้นเป็นข้อ เป็นปล้องๆ ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นอ่อนมีสีเขียว และ ลำต้นแก่มีสีนํ้าตาล รากของพริกไทยออกตามข้อมีหน้าที่ช่วยเกาะเสาหรือกิ่งไม้
  • ใบพริกไทย เป็นใบเลี้ยงคู่ โดยแตกใบออกเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่ โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ใบหนา ผิวใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกพริกไทย ออกเป็นช่อ โดยดอกแทงออกจากปลายยอด ดอกอ่อนมีสีเขียวอมขาว ส่วนดอกแก่มีสีเขียว
  • ผลพริกไทยหรือเมล็ดพริกไทย มีลักษณะกลม และ เล็ก ผลจับกลุ่มกันเป็นช่อๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีเขียวเข้มขึ้น เปลือกผลพริกไทยแข็ง รสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน

คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย

สำหรับพริกไทยนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยใช้ทั้งผลสด ผลแห้ง โดยการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดพริกไทยดำ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี  มีสารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 12.46 กรัม โปรตีน 10.39 กรัม ไขมัน 3.26 กรัม คาร์โบไฮเดรต 63.95 กรัม กากใยอาหาร 25.3 กรัม แคลเซียม 443 มิลลิกรัม เหล็ก 9.71 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 171 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 158 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 1329 มิลลิกรัม โซเดียม 20 มิลลิกรัม สังกะสี1.19 มิลลิกรัม  ไทอะมีน 0.108 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.180 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.143 มิลลิกรัม วิตามินบี6  0.291 มิลลิกรัม โฟเลต 17 ไมโครกรัม วิตามินเอ 27 ไมโครกรัม และ วิตามินเค 163.7 ไมโครกรัม

น้ำมันพริกไทย ( Pepper oil ) คือ น้ำมันหอมระเหยที่สามารถสกัดได้จากพริกไทย โดยน้ำมันหอมระเหยพริกไทยมีกลิ่นหอม โดยสารต่างๆที่พบในน้ำมันพริกไทย ประกอบด้วย α – thujene , α – pinene , camphene , sabinene , β-pinene , myrcene , 3-carene , limonene และ β-phellandren

ผลผลิตจากพริกไทย

สำหรับผลผลิตต่างๆจากพริกไทย มี 4 ลักษณะ คือ พริกไทยสด พริกไทยดำ พริกไทยขาว และ พริกไทยป่น โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยสด ( Fresh pepper ) คือ ผลพริกไทยสด มีสีเขียวช่วยดับกลิ่นคาว มีกลิ่นหอม
  • พริกไทยดำ ( black pepper ) คือ ผลพริกไทยแก่ตากแห้ง ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมของอาหาร รสเผ็ดร้อน
  • พริกไทยขาว ( white pepper ) คือ ผลพริกไทยนำมาแช่น้ำ และ นวดเพื่อแยกเปลือกออก จนเหลือแต่เมล็ดสีขาว จากนั้นนำมาตากแดดให้แห้ง มีกลิ่นหอม และ รสเผ็ด
  • พริกไทยป่น ( powder pepper ) คือ พริกไทยขาวนำมาบดให้ละเอียด มีกลิ่นหอม และ รสเผ็ด

สรรพคุณของพริกไทย

สำหรับประโยชน์ของพริกไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก เมล็ดพริกไทย เถาพริกไทย รากพริกไทย ดอกพริกไทย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดพริกไทย สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยกระตุ้นประสาท แก้โรคลมบ้าหมู ช่วยบำรุงร่างกาย  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย เพิ่มความอบอุ่นของร่างกาย ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ไอ ช่วยลดไข้ บำรุงเลือด  ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูขาว ช่วยแก้อักเสบ รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงผิว เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอกพริกไย สรรพคุณแก้อาการตาแดง แก้อาเจียน ช่วยย่อยอาหาร ช่วยผ่อนคลาย
  • ลำต้นพริกไทย หรือ เถาพริกไทย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ท้องร่วง
  • รากพริกไทย สรรพคุณแก้เวียนหัว แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม
  • ใบพริกไทย สรรพคุณแก้ปวดท้อง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • น้ำมันพริกไทย สรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะ ใช้เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยกระตุ้นกำหนัด ขับเหงื่อ ลดไข้ และ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท

โทษของพริกไทย

สำหรับพริกไทยมีคุณสมบัติร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • พริกไทย รสเผ็ดร้อน สำหรับคนที่ป่วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
  • การกินพริกไทยมากเกินไป ทำให้ตาอักเสบได้ง่าย ทำให้คอบวมอักเสบบ่อย เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง
  • พริกไทยมีรสเผ็ด สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระตายเคือง

พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร พริกไทยมีกี่ชนิด คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย ประโยชน์และสรรพคุณของพริกไทย เช่น ขับเหงื่อ บำรุงสมอง กระตุ้นประสาท โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

รางจืด ว่านรางจืด สมุนไพรไทย ต้นรางจืดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของรางจืด ขับสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง โทษมีอะไรบ้าง

รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นรางจืด หรือ ต้นว่านรางจืด ( Laurel clockvine ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของรางจืด คือ Thunbergia laurifolia Lindl. ชื่อเรียกอื่นๆของรางจืด เช่น รางเย็น , คาย , ดุเหว่า , ทิดพุด , ย่ำแย้ , แอดแอ , น้ำนอง , จอลอดิเออ , ซั้งกะ , ปั้งกะล่ะ , พอหน่อเตอ  , กำลังช้างเผือก , ยาเขียว , เครือเขาเขียว , ขอบชะนาง , ว่านรางจืด เป็นต้น ต้นรางจืด มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ พบมากตามป่าดงดิบ หรือ ป่าดิบชื้น นิยมนำมาปลูกตามบ้านเรือนทั่วไปของประเทศไทย

รางจืดในประเทษไทย

สำหรับต้นรางจืด นั้นภูมิปัญญาอีสาน ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันพิษ ลดความดัน และ รักษาโรคผิวหนัง การปรุงอาหารที่ได้จากป่า ให้ใส่ใบรางจืดและดอกรางจืด เข้าไปด้วย จะช่วยป้องกันพิษของอาหารได้ หมอสมุนไพร ใช้ยอดและดอกของรางจืด ทำอาหารสุขภาพ เพื่อลดความดันโลหิต รักษาอาการแพ้ที่ผิวหนัง และ รักษาผดผื่นคัน ได้

ชนิดของรางจืด

สำหรับ รางจืดที่ใช้ในตำรายาสมุนไพร แบ่งรางจืด ออกเป็น 3 ชนิด คือ รางจืดเถา รางจืดต้น และ ว่างรางจืด รายละเอียด ดังนี้

  • รางจืดเถา มีลักษณะเป็นเถายาวเลื้อย ซึ่งรางจืดเถา มี 3 ชนิด คือ รางจืดชนิดดอกสีม่วงอ่อน รางจืดชนิดดอกสีเหลือง รางจืดชนิดดอกสีขาว
  • รางจืดต้น ( Milica kityana ) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง รากรางจืดต้นสามารถแก้ยาพิษได้
  • ว่านรางจืด จัดอยู่ในกลุ่มว่าน ลำต้นอยู่ใต้ดิน เนื้อของหัวสีขาว มีกลิ่นหอม

ลักษณะของต้นรางจืด

ต้นรางจืด เป็นพืชเถา รางจืด เป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ ต้นรางจืดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน ลักษณะของต้นรางจืด มีดังนี้

  • ลำต้นรางจืด ลักษณะเป็นเถา ยาวและเลื้อยเกาะตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อไม้แข็ง ลักษณะกลมเป็นปล้อง ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นไม่มีขน
  • ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายหัวใจ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบมีสีเขียว
  • ดอกรางจืด เป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีม่วงอมฟ้า ดอกมีน้ำหวานภายในหลอด
  • ผลรางจืด ลักษณะเป็นฝัก กลม ปลายผลจะเป็นงอย ผลแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

สารที่พบในรางจืด

สารเคมีที่พบในรางจืด มีสารในกลุ่มโพลีฟีนอล ( polyphenol ) และ ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) รายละเอียด ดังนี้

  • กรดฟีนอลิค ( phenolic acid ) คือ กรดแกลลิก ( gallic acid ) กรดคาเฟอิค ( caffeic acid ) และ กรดโปรโตคาเทคซูอิค  ( protocatechuic acid )
  • ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) ได้แก่ อาพิจินิน (apigenin) และ อาพิจินิน กลูโคไซด์ ( apigenin glucoside ) ซึ่งอาพิจินิน เป็นสารสำคัญสามารถยับยั้งพิษของสารหนูได้
  • อนุกรมวิธานของรางจืด ประกอบด้วย Kingdom : Planatae ,  Phylum : Magnoliophyta , Class: Magnoliopsida , Order : Scrophulariales , Family : Acanthaceae , Genus : Thunbergia และ Species : Laurifolia Linn.

สรรพคุณของรางจืด

การใช้ประโยชน์จากรางจืด ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบรางจืด รากรางจืด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบและรากของรางจืด สรรพคุณใช้รักษาแผล นำมาพอกแผล ทำเป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษอาหาร พิษเบื่อเมา แก้อาการเมาค้าง
  • ใบของรางจืด สรรพคุณใช้ถอนพิษไข้ แก้พิษเบื่ออาหาร
  • รากรางจืด สรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง ลดอาการแพ้ที่ผิวหนัง รักษาผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ รักษาพิษสุราเรื้อรัง ช่วยล้างพิษที่สะสมในร่างกาย ถอนพิษเบื่อเมา ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

โทษของรางจืด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรางจืด ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้ในปริมาณมากและไม่ใช้ติดต่อกันนานเกินไป โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรางจืด มีดังนี้

  • ไม่ควรดื่มน้ำที่คั้นจากรางจืด ติดต่อกันนานเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รางจืดจะเป็นพิษต่อร่างกายก็ตาม การรับประทานยาสมุนไพรชนิดใดๆ ก็ตามติดต่อกันเป็นเวลานานควรตรวจเลือด ค่าตับและไตด้วย
  • หากมีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานรางจืด อย่างน้อย 14 วัน
  • รางจืด สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด การรับประทานรางจืด ควรระวังเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด อย่าให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • รางจืด อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ผื่นคัน

รางจืด ว่านรางจืด สมุนไพรไทย สรรพคุณช่วยขับพิษ บำบัดอาการติดยาเสพติด ลักษณะของต้นรางจืดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของรางจืด สรรพคุณของรางจืด ขับสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง โทษของรางจืดมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย