ต้นมะตูม ไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย สมุนไพร สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยขับลม ต้นมะตูมเป็นอย่างไร ประโยชน์ของมะตูม โทษของมะตูม มีอะไรบ้างมะตูม สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะตูม ( Beal ) พืชตระกูลส้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa ชื่อเรียกอื่นๆของมะตูม เช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร เป็นต้น

ต้นมะตูม จัดเป็นไม้ยืนต้น ผลมะตูมนิยมบริโภคเป็นผลไม้ มะตูมมีต้นถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท สรรพคุณของมะตูม มากมาย เช่น ช่วยควบควบคุมน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องเดิน แก้ท้องอืด ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร

ความเชื่อเกี่ยวับมะตูม

ต้นมะตูม ตามความเชื่อของคนไทย มะตูมเป็นไม้มงคล เชื่อว่าป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ใบมะตูม นำมาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นำมาทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ใช้ในการครอบครู เป็นต้น ต้นมะตูมนิยมปลูกตามบ้าน ให้ปลูกในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

สำหรับต้นมะตูม การบริโภคนิยมใช้ผลมะตูม โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าในผลมะตูมสุกมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม และในผลมะตูมสุก มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม และ วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะตูม

ต้นมะตูม เป็นไม้ยืนต้น สามารถเจรญเติบโตได้ดีในป่าดิบ และ ตามเนินเขา ถิ่นกำเนิดของมะตูมนั้นมาจากประเทศอินเดีย โดยลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นมะตูม ลักษณะตรง เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มะตูมมีกลิ่นหอม เปลือกลำต้นมะตูมลักษณะผิวเรียบ มีร่องตื้น สีเทา ความสูงประมาณ 18 เมตร
  • ใบมะตูม เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบคล้ายรูปขนนก ทรงไข ปลายใบแหลม โคนใบมน มีสีเขียวเข้ม ลักษณะมัน
  • ดอกมะตูม มีกลิ่นหอม สีขาว ขึ้นตามซอกใบ มีขนาดเล็ก
  • ผลมะตูม ออกมาจากดอกมะตูม ลักษณะกลม เปลือกของผลมะตูมผิวเรียบ ผลสดสีเขียว เปลือกแข็ง ส่วนผลมะตูมแก่มีสีเขียวอมเหลือง เนื้อในผลสุกมีสีส้ม รสหวาน เนื้อนิ่ม มียางเหนียวข้น ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลสุกสามารถนำมาตากแห้งและนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆได้ เช่น นำมาต้มเป็นน้ำมะตูม เป็นต้น

สรรพคุณของมะตูม

มะตูม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย หลากหลาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลมะตูมดิบ ผลมะตูมสุก ใบมะตูม เปลือกลำต้นมะตูม และ รากมะตูม โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะตูม สรรพคุณแก้ท้องเสีย รักษาอาการลำไส้อักเสบ
  • รากมะตูม สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ลดอาการตกเลือดในสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ รักษาอาการปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • ผลดิบมะตูม สรรพคุณป้องกันโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาโรคหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกมะตูม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ชับลม ลดจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ
  • ใบมะตูม สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะตูมอ่อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ บำรุงดวงตา รักษาอาการตาอักเสบ ลดอาการตาบวม

โทษของมะตูม

การใช้ประโยชน์จากมะตูม ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม และ เลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไปหรือใช้ไม่ถูกวิธี โดยโทษของมะตูม มีดังนี้

  • มะตูมมีสรรพคุณป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสียได้ สำหรับคนที่มีภาวะท้องผูกอยู่ ไม่ควรกินมะตูม เพราะจะทำให้ท้องผูกมากขึ้น
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำมะตูมมาใช้รักษาอาการป่วย
  • ผลมะตูม น้ำมะตูม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่ควรกินน้ำมะตูม หรือ ผลมะตูม และ สำหรับคนที่ต้องผ่าตัด ควรงดการกินมะตูม น้อย 14 วัน ก่อนผ่าตัด เพราะ มะตูมอาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระหว่างและหลังการผ่าตัด

ต้นมะตูม ไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย ผลมะตูม เป็นสมุนไพร สรรพคุณมากมาย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยขับลม ต้นมะตูมมีลักษณะเป็นอย่างไร ประโยชน์ของมะตูม โทษของมะตูม มีอะไรบ้าง

ต้นมะกรูด นิยมนำมาทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษมีอะไรบ้างมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

มะกรูด ( Kaffir lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. ชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น

มะกรูด พืชตระกูลส้ม เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะกรูดมีคุณสมบัติสำคัญหลายอย่าง ใช้ในการทำยารักษาโรคและด้านความสวยความงาม มะกรูดยังจัดเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้บริเวณบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยมักจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พืชท้องถิ่นของไทย มะกรูด นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ทั้งใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ ผลมะกรูด มะกรูดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับส้ม ให้กลิ่นหอม และ รสชาติเปรี้ยว การขยายพันธ์ มะกรูดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การต่อยอด การเพาะเมล็ด เป็นต้น โดยรายละเอียดของต้นมะกรูด มีดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวของลำต้นเรียบ มีหนามตามลำต้นและกิ่ง ความสูงประมาณ ไม่เกิน 2 เมตร
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกตามกิ่งก้าน ใบหนา เรียบ ผิวใบมัน มีสีเขียว ใบมีกลิ่นหอมมาก ลดความดันโลหิต
  • ดอกมะกรูด ออกเป็นช่อ ดอกมะกรูดมีสีขาว ออกดอกตามยอดและซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
  • ผลมะกรูด ลักษณะกลม มีสีเขียว ผิวของผลมะกรูดขรุขระ คล้ายผลส้มซ่า ภายในผมมีน้ำมากรสเปรี้ยว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ น้ำมะกรูด รวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวลูกมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 55 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยของมะกรูด พบว่ามีสารใน 2 กลุ่ม คือ สารที่ไม่ใช่กลุ่มเทอร์พีน ( non-terpene) และ สารในกลุ่มเทอร์พีน ( terpenes)

สารเคมีสำคัญที่พบในใบมะกรูก และ ผิวมะกรูด คือ β-pinene limonene sabinene citronellal α-pinene myrcene 1,8 cineol α-terpineol trans – sabinene hydrate copaene linalool β-cubenene geranyl acetate , citronellol caryophyllene elemol δ-cardinene citronellene acetate terpinen-4-ol, p-elemene camphene γ-terpinene terpinolene และ nerolidol

สรรพคุณของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นส่วนผสมของยาหลายชนิด มะกรูด สามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนประกอบ ทั้ง ผลมะกรูด ใบมะกรูด และ รากมะกรูด โดยสรรพคุณของมะกรูด มีดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้ปวดหัว ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยขับระดู ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเส้นผม ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทำความสะอาด บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ บำรุงเลือด
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้หน้ามืด แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ช่วยเจริญอาหาร
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียดแน่นท้อง บำรุงโลหิต
  • น้ำมะกรูด สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้บำรุงเส้นผม ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า ผิวของผลมะกรูด สามารถนำมาทำเป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องอืด

โทษของมะกรุด

สำหรับมะกรูด เป็นพิชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผลของมะกรูด มีรสเปรี้ยว สามารถใช้แทนความเปรี้ยวของมะนาวได้ การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะกรูดต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ของมะกรูด มีดังนี้

  • น้ำมันมะกรูดหากสัมผัสกับผิวของมนุษย์โดยตรง อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงแดด จะทำให้แพ้แสงแดดจนกลายเป็นแผลไหม้ได้ เนื่องจากน้ำมะกรูด มีสารออกซิเพดามิน ( oxypedamin ) ทำให้เกิดอาการแพ้ เมื่อโดนอากาศเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ดังนั้น หากสัมผัสน้ำมันมะกรูด หรือ น้ำมะกรูด ให้ล้างน้ำให้สะอาด
  • น้ำมะกรูดมีกรดสูง ไม่ควรรับประทานน้ำมะกรูดขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้แสบท้อง ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • น้ำมะกรูด มีรสเปรี้ยว ซึ่งการกินเปรี้ยวมากเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำลายฟัน ทำให้ท้องร่วง ทำให้กระดูกผุ เป็นต้น

ต้นมะกรูด พืชพื้นบ้าน อยู่คู่สังคมไทย นิยมนำมาใช้ทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะกรูด ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด เช่น ช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษของมะกรูด มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย