พริกขี้หนู ผลพริกขี้หนูนิยมนำมาทำอาหารให้รสเผ็ด ต้นพริกขี้หนูเป็นอย่างไร สรรพคุณของพริกขี้หนู เช่น แก้หวัด แก้อาเจียน ต้านเชื้อโรค โทษของพริกขี้หนู มีอะไรบ้างพริก สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของพริก

ต้นพริกขี้หนู ( Chili pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกขี้หนู คือ Capsicum annuum L. ชื่อเรียกอื่นๆของพริกขี้หนู คือ พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด พริกชี้ฟ้า ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว  มือซาซีซู มือส่าโพ เป็นต้น ต้นพริกขี้หนู เป็นพืชตระกลูมะเขือ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเขตร้อน สำหรับประเทศไทย พบได้ทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู เป็นไม้ล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี เจริญเติบโตได้ดี กับดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ลำต้นพริกขี้หนู เป็นลักษณะไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากทาย โดยกิ่งอ่อนมีสีเขียว และกิ่งแก่จะมีสีน้ำตาล
  • ใบพริกขี้หนู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบมันวาว
  • ดอกพริกขี้หนู ลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบ เป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลพริกขี้หนู เจริญเติบโตจากดอกพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาว ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู

สำหรับพริกขี้หนู มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สำหรับยอดและใบอ่อนของพริกขี้หนู มีสารอาหาร เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินบี แต่การบริโภคพริกนิยมบริโภคผลพริก เพื่อให้รสเผ็ด เป็นหลัก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลพริกขี้หนู มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 76 กิโลแคลอรี โดยมาสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 82 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 1.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม วิตามินเอ 2,417 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.29 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 44 มิลลิกรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม

สรรพคุณของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ ราก และ ลำต้น โดย สรรพคุณของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ผลพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย รักษาโรคลำไส้ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง ทำให้สดชื่น บรรเทาอาการปวด แก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาอาการอาเจียน แก้อาการเจ็บคอ รักษาอาการเสียงแหบ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี รักษากลาก รักษาเกลื่อน ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการบวม แก้ปวดตามข้อ
  • ใบพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ช่วยขับลม แก้ปวดหัว ช่วยแก้หวัด แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลเปื่ิอย
  • ลำต้นพริกขี้หนู สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับปัสสาวะ
  • รากพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยฟอกเลือด

โทษของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ต้องมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โดยโทษของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • พริกขี้หนูมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีโรคที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
  • การรับประทานพริกขี้หนูมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้เป็นสิว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • การสัมผัสผลพริกที่แตกหรือน้ำจากผลพริก จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างรุนแรง หากเข้าตาจะแสบมาก

พริกขี้หนู คือ พืชพื้บ้าน ผลพริกขี้หนู นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสเผ็ด ลักษณะของต้นพริกขี้หนู เป็นอย่างไร สรรพคุณของพริกขี้หนู เช่น แก้หวัด แก้อาเจียน ต้านเชื้อโรค โทษของพริกขี้หนู มีอะไรบ้าง

ข่อย กิ่งข่อยในสมัยโบราณในเป็นแปรงสีฟัน ต้นข่อยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย มีอะไรบ้างข่อย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นข่อย ( Tooth brush tree ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่อย คือ Streblus asper Lour. ชื่อเรียกอื่นๆของข่อย เช่น ตองขะแหน่  , ส้มพอ  , ซะโยเส่ , กักไม้ฝอย , สะนาย , สมนาย เป็นต้น ต้นข่อย เป็น พืชตระกูลเดียวกับขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย เช่น นำมาใช้เป็นไม้ประดับ ยารักษาโรค และ ของใช้ต่างๆ ปัจจุบันข่อยนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ

ลักษณะของต้นข่อย

ต้นข่อย มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย มาเลเซีย พม่า ลาว เวียดนาม และ ไทย การขยายพันธ์ข่อยใช้การปักชำ การทาบกิ่ง ลักษณะของต้นข่อย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นข่อย ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 5 ถึง 15 เมตร เปลือกข่อยสีเทานวล ต้นข่อยเป็นทรงพุ่ม มีกิ่งอ่อน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลำต้นข่อยมีน้ำยาง น้ำยางสีขาว
  • ใบข่อย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งอ่อน ลักษณะของใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน ใบมีขนอ่อนปกคลุม ขอบใบเป็นรอยหยัก
  • ดอกข่อย ดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกลักษณะกลม สีเหลืองแกมเขียว
  • ผลข่อย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลข่อยเหมือนไข่ สีเขียวอ่อนออกขาว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อด้านในผลมีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะคล้ายพริกไทย

สรรพคุณของข่อย

ต้นข่อย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตั้งแต่ เปลือกข่อย กิ่งข่อย ผลข่อย เมล็ดข่อย และ รากข่อย สรรพคุณของข่อยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกข่อย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง รักษาไซนัส มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ใช้รักษาแผล รักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง เป็นยาสีฟัน รักษาโรคเหงือกอักเสบ
  • เนื้อไม้ข่อย มีฤทธิ์ต้านเชื้อเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส รักษาแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคเหงือกอักเสบ รักษาแผลสด แผลติดเชื้อ
  • ใบข่อย สรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
  • ดอกข่อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
  • ผลข่อย สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร
  • เมล็ดข่อย สรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร
  • รากข่อย สรรพคุณรักษาโรคบ้าหมู รักษาบาดแผล แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง

โทษของข่อย

สำหรับ โทษของข่อย การนำข่อยมาปรุงยาเพื่อรับประทาน ไม่ควรรับประทานมากเกินไป และ ไม่ควรรับประทานอย่างต่อนเนื่อง เพราะ ข่อยความเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจ และ ความดันโลหิต

ข่อย คือ พืชพื้นเมือง กิ่งข่อย ในสมัยโบราณในเป็นแปรงสีฟัน ลักษณะของต้นข่อย ประโยชน์และสรรพคุณของข่อย เช่น บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย