ยี่หร่า นิยมนำมาทำเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด โทษของยี่หร่ามีอะไรบ้างยี่หร่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ยี่หร่า ( Tree basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของยี่หร่า คือ Ocimum gratissimum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยี่หร่า เช่น กะเพราญวณ จันทร์หอม เนียม จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น สะหลีดี หอมป้อม โหระพาช้าง กะเพราควาย หร่า เป็นต้น ยี่หร่าเป็นพืชตระกลูเดียวกับกระเพรา

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า นั้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และจีน การนำเอายี่หร่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ช่วยดับคาว จากนั้นสัตว์ ช่วยในการถนอมอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเน่า

ชนิดของยี่หร่า

สำหรับยี่หร่า สามารถแบ่งชนิดของยี่หร่าได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย

  • ยี่หร่าชนิดที่เรียกว่า เทียนขาว มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และ ประเทศจีน เมล็ดแห้งนำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
  • ยี่หร่าไทย เป็นยี่หร่าที่นิยมกินใบ นำมารับประทานเป็นผักสด

ลักษณะของต้นยี่หร่า

ต้นยี่หร่า พืชล้มลุก เหมือนกระเพรา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ชอบดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง ลักษณะของต้นยี่หร่า มีดังนี้

  • ลำต้นยี่หร่า ลำต้นอวบน้ำ อ่อน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาล ลำต้นอ่อนสีเขียว แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก
  • ใบยี่หร่า ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบสีเขียว ผิวใบสากมือ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติเผ็ดร้อน
  • ดอกยี่หร่า ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกเป็นตามปลายยอด
  • เมล็ดยี่หร่า เจริญเติบดตมาจากดอกยี่หร่า ลักษณะกลมรี ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมล็ดอ่อนสีเขียว เมล็ดสุกสีน้ำตาลอ่อน นิยมนำมาตากแห้ง ทำเป็นเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหาร ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

สำหรับการบริโภคยี่หร่า ใช้ประโยชน์จากหลายส่วน ทั้งใบ เมล็ด ราก ซึ่งนักโภชนาการได้คึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 26.8 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยี่หร่า

การใช้ประโยชน์จากยี่หร่า ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก การใบ ราก ลำต้น และ ผล ซึ่งสรรพคุณของส่วนต่างๆของยี่หร่า มีดังนี้

  • ใบยี่หร่า สรรพคุณป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องแฟ้อ ช่วยขับลม ลดอาการปวดประจำเดือน ช่วยขับลม ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว
  • ลำต้นยี่หร่า สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วบขับลม แก้ปวดท้อง
  • รากแห้งยี่หร่า สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง
  • ผลยี่หร่า สรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์

โทษของยี่หร่า

สำหรับคนที่มีอาการแพ้ยี่หร่า อาจมีอาการระคายเคืองร่างกาย เกิดผื่นคัน หากพบว่ามีอาการแพ้ให้หยุดรับประทานทันที

ส้มแขก สมุนไพร ผลส้มแขกรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำอาหารในรสเปรี้ยว ต้นส้มแขกเป็นอย่างไร สรรพคุณของส้มแขก เช่น ลดความดัน ลดน้ำหนัก บำรุงเลือด โทษของส้มแขก มีอะไรบ้างส้มแขก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ส้มแขก ( Garcinia ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มแขก คือ Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของส้มแขก เช่น ชะมวงช้าง ส้มควาย อาแซกะลูโก ส้มพะงุน ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก เป็นต้น ถิ่นกำเนิดของส้มแขก คือ ประเทศอินเดียและศรีลังกา ซึงในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคใต้ ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส

ผลส้มแขก นิยมนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะอาหารอินเดีย ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยว นำมาใช้ทำอาหารแทนน้ำมะชามเปียกได้ สำหรับอาหารไทย นิยมนำส้มแขกใช้ทำาอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เป็นต้น

ลักษณะของต้นส้มแขก

ต้นสมแขก เป็นไม้ยืนต้น พืชตระกลูมังคุด นิยมรับประทานผล ให้รสเปรี้ยว การขยายพันธุ์ของส้มแขก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การเสียบยอด ลักษณะของต้นส้มแขก มีดังนี้

  • ลำต้นส้มแขก ความสูงประมาณ 10 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้แข็ง เปลือกลำต้นมีสีเขียว และ สีน้ำตาลอมดำ ลำต้นมียางสีเหลือง
  • ใบส้มแขก ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ผิวใบเรียบ ขอบใยเรียบ ลักษณะมันวาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ใบแห้งจะเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกส้มแขก ลักษณะดอกออกเป็นช่อ โดยดอกออกตามปลายยอด กลีบดอกด้านนอกสีเขียว ส่วนกลีบดอกด้านในสีแดง
  • ผลส้มแขก ลักษณะเป็นผลเดี่ยว เป็นแฉกๆลักษณะกลมมน ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เนื้อผลแข็ง ผลมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด

สารสำคัญในส้มแขก

ในผลส้มแขก มีสารสำคัญ คือ HCA “Hydroxycitric Acid” สารชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการสร้างไขมัน จากการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ ในผลส้มแขก มีกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก ( Citric Acid ) กรดโดคีคาโนอิค ( Dodecanoic Acid ) กรดออกตาดีคาโนอิค ( Octadecanoic acid ) และ กรดเพนตาดีคาโนอิค ( Pentadecanoic acid )

สรรพคุณของส้มแขก

สำหรับการนำส้มแขกมาใช้ประโยน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบ ดอก ราก และ ผล สรรพคุณของส้มแขก มีดังนี้

  • ดอกส้มแขก สรรพคุณช่วยแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดความดัน รักษาเบาหวาน
  • ผลส้มแขก สรรพคุณช่วยลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยเร่งการเผาผลาญอาหาร ช่วยดักจับแป้งและไขมันจากอาหาร ช่วยทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวตัวได้เร็วขึ้น ลดน้ำหนัก  ช่วยลดไขมันส่วนเกิน ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  • รากส้มแขก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด เป็นยาแก้กระษัย บรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบส้มแขก สรรพคุณช่วยขับถ่าย แก้ท้องผูก

โทษของส้มแขก

สำหรับการใช้ประโยชน์ส้มแขก ทั้งจากส่วนของต้นสด หรือ สารสกัดจากส้มแขก มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากส้มแขก ไม่ควรใช้กับสตรีตั้งครรภ์ หรือ สตรีระหว่างการให้นมบุตร เพราะอาจส่งผลต่อฮอร์โมนเพศ
  • ความเป็นกรดของสารสกัดจากส้มแขก หากรับประทานมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้อง
  • ผู้ป่วยซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ไม่ควรรับประทานส้มแขก เนื่องจากสารHCA อาจมีผลกระทบต่อการสร้าง acetylcholine ในสมอง

ส้มแขก สมุนไพร ผลส้มแขกรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำอาหารในรสเปรี้ยว ลักษณะของส้มแขก เป็นอย่างไร สรรพคุณของส้มแขก เช่น ลดความดัน ลดน้ำหนัก บำรุงเลือด โทษของส้มแขก มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย