มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกร้ายที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปวดหลังเหมือนปวดไต ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะมีเลือดปน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะรักษาและป้องกันการเกิดโรคอย่างไรมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ ฉี่เป็นเลือด

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary bladder cancer ) โรคมะเร็งที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากความผิดปกติของการแบ่งเซลล์ที่เนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะจนเกิดเป็นก้อนเนื้อ ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนเต็มกระเพาะปัสสาวะ และ ลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ ทางต่อมน้ำเหลืองและกระแสโลหิต ซึ่งกระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่กักเก็บน้ำสำหรับขับถ่ายออกจากร่างกาย ร่างกายมนุษย์สามารถเก็บน้ำสำหรับขับถ่ายได้ไม่เกิน 300 ซีซี โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกิดในประชากรไทยบ่อย พบติดหนึ่งในสิบของมะเร็งในคนไทย พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สารมารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่เราสามารถระบุปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ มีดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัตโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคสูงกว่ากลุ่มคนทั่วไป
  • การมีพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งพยาธิใบไม้จะวางไข่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคือง
  • การสูบบุหรี่
  • การสัมผัสสารเคมีต่างๆ เช่น สีย้อมผ้า เคมีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยาง และ อุตสาหกรรมสายไฟฟ้า
  • การรับการรักษาโรคด้วยการทำเคมีบำบัด

อาการโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการผิดปรกติที่ไต ระบบการปัสสาวะ เช่น แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือด และ ปวดหลังบริิเวณไต ซึ่งอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะของการเกิดดชโรค ซึ่งอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถสังเกตุอาการเบื้องต้น ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดหลัง ลักษณะคล้ายอาการปวดของผู้ป่วยโรคไต
  • เจ็บท้อง โดย เจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ระบบปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะมีเลืิอดปน เป็นต้น  

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งชนิดนี้ ได้ 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ รายละเอียดดังนี้

  1. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะแรก เกิดเซลล์ก้อนเนื้อขนาดเล็ก เฉพาะที่เยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก อยู่ที่ร้อยละ 80
  2. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่สอง เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามมายังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะที่สองอยู่ที่ร้อยละ 70
  3. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเกิดการลุกลามมายังเนื้อเยื่อรอบๆอวัยวะของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมาก ช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะที่สามอยู่ที่ร้อยละ 20 ถึง 60
  4. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็ง ลุกลามไปทั่วช่องท้อง รวมถึง ต่อมน้ำเหลือง ปอด และ กระดูก ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายไม่ถึงร้อยละ 20

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่มีการตรวจคัดกรอง เพราะ ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดระยะของโรคที่รุนแรง แนวทางการวินิจฉัยโรค สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เริ่มจา การตรวจประวัติการรักษา ประวัติพันธุกรรม การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด CT scan หรือ MRI ช่องท้อง การตรวจกระดูก เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับแนวทางการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษา เช้น การผ่าตัด การฉายรังสี และ การรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยรายละเอียดการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีดังนี้

  • การจี้กระแสไฟฟ้าที่กระเพาะปัสสาวะ วิธีรักษาแบบนี้ใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งต้องรักษาร่วมกับการใช้เคมีบำบัด
  • การผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะออก
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง และ การรักษาด้วยวิธีนี้มีผลข้างเคียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ เลือดออกง่าย เป็นต้น

การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นเรื่องยาก เนื่องจากโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรคที่สามารถควบคุมได้ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆ
  • หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำปี

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ อาการปวดหลังเหมือนปวดไต ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะมีเลือดปน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะรักษาอย่างไร แนวทางการป้องกันการเกิดโรค

มะเร็งเม็ดเลือดขาว Leukemia ลูคีเมีย อาการเลือดกำเดาไหลบ่อย ติดเชื้อง่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย การรักษาและแนวทางการป้องกันต้องทำอย่างไรมะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย โรคมะเร็ง รักษาลูเคีเมีย

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เรียกอีกชื่อว่า ลูคีเมีย คือ มะเร็งที่เกิดกับเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค  โรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งมะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีอยู่ 2 ชนิด คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง

ชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับลักษณะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถแบ่งได้ 4 ชนิด 2 ลักษณะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง รายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ไมอิลอยด์ ( Acute Myelogenous Leukemia ) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่พบบ่อยที่สุด เกิดมากกับผู้ใหญ่
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ลิมโฟไซติก ( Acute Lymphocytic Leukemia ) เป็นมะเร็งที่พบมากในเด็กเล็ก แต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน หากเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้สามารถรักษาให้ขาดได้ หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ไมอิลอยด์ ( Chronic Myelogenous Leukemia ) พบว่าเกิดกับผู้ใหญ่ และ แสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือ ไม่แสดอาการผิดปรกติเลย จนถึงระยะที่รุนแรงจึงแสดงอาการให้เห็น
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ลิมโฟไซติก ( Chronic Lymphocytic Leukemia ) เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการผิดปรกติให้เห็น จนถึงระยะที่รุนแรงจึงแสดงอาการให้เห็น

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค แต่เกิดจากจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ ส่งผลให้ระบบการสร้างเม็ดเลือดปกติของไขกระดูกผิดปรกติ ทำให้เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดน้อยลง ระบบภูมิต้านทานโรคจึงผิดปรกติ มีอาการต่างๆกระทบทั่วร่างกาย เนื่องจากร่างกายทุกอวัยวะต้องการการหล่อเลี้ยงของเลือด เราไม่ทราบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาว แต่สามารถสรุปปัจจัยต่างๆที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น รายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัส HTLV-1 เป็นต้น
  • การได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น สารกัมมันตรังสี เป็นต้น
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องเคยมีประวัติป่วยโรคนี้ มีโอกาศป่วยโรคนี้มากกว่าผู้อื่น

อาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการแสดงอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะแสดงอาการแตกต่างกันตามชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร้งเม็ดเลือดขาว ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง หนาวสั่น ติดเชื้อโรคง่าย และ เหงือออกมากเวลากลางคืน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการปวดตามตัว โดยเฉพาะกระดูก เมื่อกดบริเวณกระดูกจะเจ็บมาก
  • มีอาการบวมโตบริเวณคอและรักแร้ ซึ่งเป็นอาการของต่อมน้ำเหลืองบวมโต
  • มีอาการบวมบริเวณตับ หรือ ม้าม
  • ผิวหนังฟกช้ำง่าย และ เลือดกำเดาไหลบ่อย
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และชัก

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะแสดงอาการเจ็บปวดทรมาน เนื่องจาก เม็ดเลือดขาวเป็นส่วนหนึ่งของการหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ปอด ระบบทางเดินอาหาร ไต อัณฑะ เป็นต้น

แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แพทย์จะใช้การการตรวจร่างกายทั่วไป ซักประวิติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม การตรวจเลือด การตรวจไขกระดูก และ การตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในปัจจุบัน สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่ แนวทางการรักษาใช้หลายวิธีร่วมกัน ประกอบด้วย การใช้เคมีบำบัด การฉายรังสี การปลูกถ่ายไขกระดูก และ การใช้ยารักษาตรงเป้าหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการให้ยาหลายชนิดร่วมกัน แต่การรักษาด้วยยวิธีนี้ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ผทร่วง ตัวซีด เลือดออกง่ายเกร็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
  • การฉายรังสี สามารถใช้ได้เฉพาะกรณีมะเร็งเม็ดเลือดขาาวที่อวัยวะที่สำคัญ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่สมอง
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นการรักษาเมื่อไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง สามารถรักษาให้หายได้ แต่ไม่สามารถรับประกันว่าจะรักษาได้
  • การใช้ยารักษาตรงเป้าหมาย วิธีนี้ค่ารักษาแพง และอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกง่าย

การป้องกันมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน จึงไม่มีแนวทางป้องกันที่ได้ผล สิ่งที่สามารถทำได้คือ การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากการรับสารพิษต่างๆ หลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับกัมตรังสี

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) ลูคีเมีย เลือดกำเดาไหลบ่อย ติดเชื้อง่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย เป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถรักษาได้ สาเหตุของโรค และ แนวทางการรักษาต้องทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย