ถุงลมโป่งพอง ภาวะเสี่ยงของคนสูบบุหรี่ อาการหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่มีแรง ไอเรื้อรัง หายใจเป็นเสียงหวีด แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร การป้องกันโรคมีอะไรบ้างโรคถุงลมโป่งฟอง โรคปอด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อ

โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) คือ โรคระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการอุดกั้นที่ปอดแบบเรื้อรัง โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดกับกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ เป็นโรคยอดฮิด ติดอันดับโรคที่ทำทีคนเสียชีวิตมากที่สุดสิบอันดับแรก และ เกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง ส่วนมากเกิดในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ แต่ในทางการแพทย์ก็ยังไม่ทราบสรุปสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงว่ามาจากการสูบบุหรี่ แต่จากการศึกษาสถิติของผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยที่สูบบุหรึ่มากกว่าผู้ไม่สูบถึง 6 เท่า ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน และ สูบในปริมาณที่มาก
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่ามาเอนไซม์ Alpha-one antitrypsin ที่ทำหน้าป้องการถูกทำลายเนื้อเยื่อ มีไม่เพียงพอในร่างกาย
  • การได้รับสารพิษทางอากาศ ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น เหมืองถ่านหิน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

กลไกการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

เมื่อควันบุหรี่หรือมลภาวะต่างๆเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการอักเสบ ทำให้การทำงานของเอนไซม์ Alpha-one antitrypsin ลดลงหรือไม่ทำงาน เมื่อเอนไซม์ป้องการทำลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันไม่ทำงานผนังกั้นถุงลมเล็กๆจึงถูกทำลายถุงลมจึงมีลักษณะรวมกันเป็นถุงลมใหญ่เดียว การแลกเปลี่ยนก๊าซทำได้น้อยลงเนื่องจากจำนวนถุงลมลดลง เกิดการคลั่งของก๊าซ ปริมาณออกซิเจนในปอดลดลง จึงทำให้ผู้ป่วยต้องหายใจเร็วขึ้นมากขึ้นเพื่อให้ได้ออกซิเจนตามที่ร่างกายต้องการ เมื่อร่างกายมีออกซิเจนต่ำจะเหนื่อยง่าย หลอดเลือดบริเวณผนังถุงลมถูกทำลายด้วยทำให้หายใจลำบากมากยิ่งขึ้น

อาการโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับอาการจของโรคถุงลมโป่งพอง จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่ระบบทางเดินหายใจ แต่ก็มีทีี่ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการ ซึ่งสำหรับการสังเกตุอาการของโรคถุงลมโป่งพอง สามารถสังเกตุอาการต่างๆ ได้ดังนี้

  • มีอาการไอ และ มีเสมหะ
  • อาการเหนื่อล้า และ ไม่มีแรง มีอาการเหนื่อยแบบเฉียบพลัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เจ็บบริเวณหน้าอก เสียงหายใจดังวี๊ด บางรายอาจพบว่ามีริมฝีปากหรือเล็บเป็นสีคล้ำออกม่วงเทาหรือฟ้าเข้มเนื่องจากขาดออกซิเจน
  • การหายใจเร็วผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ตับโต มีอาการท้องมาน แขนขาบวม
  • น้ำหนักตัวลดลง

การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง

แนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติทางการแพทย์ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ รวมถึงสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย จากนั้นจะมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น X-ray ปอด ตรวจสมรรถภาพปอด ( Spirometry ) และ ตรวจหาเอนไซม์ Alpha-one antitrypsin

 การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

แนวทางการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แนวทางการรักษาจะเน้นเรื่องการรักษาตามอาการ และ ชะลออาการโรค ปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย แนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • ให้รหยุดการบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดมลพิษ
  • การรับประทานยารักษาอาการต่างๆ เช่น ยาลดการอักเสบ ยาลดความดันโลหิต ยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่ได้รับ
  • ผ่าตัดถุงลมที่โป่งพองออก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น รวมถึงฟื้นฟูสมรรถภาพการหายใจ
  • รับประทานอาหารให้เพียงพอ
  • ในกรณีที่มีอาการรุนแรงต้องผ่าตัดเปลี่ยนปอด

การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับแนวทางการป้องกันโรค ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สูดดมมลพิษต่างๆเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มลพิษต่างๆ หากจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยป้องกันมลพิษเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

โรคถุงลมโป่งพอง คนสูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคนี้ ลักษณะอาการโรคนี้ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่มีแรง ไอเรื้อรัง หายใจเป็นเสียงหวีด แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ การป้องกันโรคมีอะไรบ้าง 

หัวใจพิการโดยกำเนิด ความผิดปรกติของเด็กตั้งแต่ในท้องแม่ อาการตัวเขียว หายใจแรง เหนื่อยง่าย ไม่กินอาหาร การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ การป้องกันทำอย่างไรหัวใจพิการโดยกำเนิด โรคเด็ก โรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือ ความผิดปรกติของหัวใจโดยกำเนิด เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื้อต่างๆในร่างกายอย่างเพียงพอ ซึ่งจากสาเหตุนี้ส่งผลต่อร่างกายต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง อัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 80 ของเด็กที่ป่วยโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด ในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่ความผิดปกติของหัวใจเกิดขึ้นตั้งแต่การสร้างอวัยวะตั้งแต่ทารกในครรภ์ของมารดา และอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือ การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากมารดา
  • ความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา
  • ภาวะการผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งพบมากในเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม
  • การติดเชื้อโรคในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การได้รับสารเคมีตั้งแต่ในครรภ์มารดา เช่น สารเคมี ยาเสพติดต่างๆ

ชนิดของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด สามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ หัวใจพิการชนิดเขียว และ หัวใจพิการชนิดไม่เขียว รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจพิการโดยกำเนิดชนิดเขียว เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เกิดภาวะขาดออกซิเจนทำให้ผิวเป็นสีเขียวคล้ำม่วง ซึ่งสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจน คือ ขณะเด็กร้องไห้ หรือ เด็กดูดนม จะเขียวมากขึ้น
  • หัวใจพิการโดยกำเนิดชนิดไม่เขียว เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือดและหัวใจ อาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท หรือไม่กว้างเท่าปกติ

อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับอาการของโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด จะแสดงอาการให้เห็นจากลักษณะการหายใจและผิวพรรณ โดยสามารถสังเกตุอาการผิดปรกติเบื้องต้นได้ ดังนี้

  • ผิวเป็นสีเทา หรือ สีเขียว โดยเฉพาะ ริมฝีปาก ผิวหนัง นิ้วมือ และเท้า
  • อาการหายใจผิดปรกติ หายใจเร็ง เจ็บหน้าอก และ หายใจลำบาก
  • มีอาการบวม โดยเฉพาะ ขา ท้อง และ รอบดวงตา
  • ไม่ยอมกินอาหาร
  • การเจริญเติยโตของเด็กช้า ไม่เป็นตามปรกติ
  • เหนื่อยง่าย
  • เวียนหัว หรือ หมดสติ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ

การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด สามารถใช้การรักษาได้หลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ และ ความรุนแรงของอาการป่วย โดยวิธีที่แพทย์อาจนำมาใช้ในการรักษา มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อช่วยการทำงานของหัวใจ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
  • การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ช่วยปรับการทำงานของหัวใจให้กลับมาเต้นปกติ
  • การสวนหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปิดหลอดเลือดหรือผนังหัวใจที่มีรูเปิดผิดปกติ เป็นต้น
  • การผ่าตัดหัวใจ ต้องผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปิดรอยรั่วในหัวใจ ซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
  • ารผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ หากปัญหามีความซับซ้อนและการรักษาไม่ได้ผล อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรค ควรลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด จากการวางแผนการตั้งครรภ์ และ ดูแลทารกตั้งแต่ในครรภ์ แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ควรปรึกษาแพทย์ เรื่องการใช้ยา และ การรับประทานอาหาร ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • หากคนในครอบควรมีประวัติโรคหัวใจพิการ ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ระหว่างตั้งครรภ์

โรคหัวใจพิการโดยกำเนิด ความผิดปรกติตั้งแต่ในท้องแม่ ควรดูแลร่างกายในขณะตั้งครรภ์ ลักษณะอาการเด็กตัวเขียว หายใจแรง เหนื่อยง่าย ไม่กินอาหาร แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย