มะเฟือง นิยมรับประทานผลมะเฟือง ลักษณะของต้นมะเฟือง สรรพคุณทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ผลมะเฟืองมีความเป็นกรด ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมมะเฟือง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของมะเฟือง

ต้นมะเฟือง ภาษาอังกฤษ เรียก Star fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเฟือง คือ Averrhoa carambola L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะเฟือง เช่น เฟือง เป็นชื่อเรียกของภาษาใต้ การรับประทานมะเฟืองเป็นที่นิยมมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออก ด้วนรสชาติจะออกเปรี้ยวแบบเฝื่อนๆ มีคุณค่าทางอาหารสูงมีวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด อาหารที่มีมะเฟือง เช่น น้ำมะเฟือง แหนมเนือง สลัดหมูย่าง เป็นต้น

มะเฟือง เป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย พบในประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย อินเดีย และศรีลังกา และเอเชียตะวันออกบางส่วน เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในประเทศแถบเส้นศูยน์สูตร ปัจจุบันมีการปลูกมะเฟืองเชิงพาณิชย์มากในประเทศสหรัฐอเมริการอยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย

มะเฟืองในประเทศไทย

สำหรับมะเฟืองในประเทศไทยมีการปลูกเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ เป็นผลไม้เศรษฐกิจอีกชนิด การส่งออกจะส่งออกไปเฉพาะประเทศในแถบทวีปยุโรป

สายพันธ์มะเฟือง

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของมะเฟืองจะมี 2 สายพันธ์หลัก คือ มะเฟืองสายพันธ์เปรี้ยว และ มะเฟืองสายพันธ์หวาน โดยสายพันธุ์เปรี้ยว จะเป็นสายพันธุ์พื้นเมือง รสเปรี้ยวมาก ส่วน สายพันธุ์หวาน เป็นสายพันธืจากต่างประเทศ จะมีผลขนาดใหญ่ เนื้อให้รสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว แต่สำหรับสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในไทย เราพบอยู่ 5 สายพันธ์ คือ สายพันธ์พื้นเมือง สายพันธ์ศรีเวียง สายพันธ์ดารสยาม สายพันธ์กวางตั้ง สายพันธ์ไต้หวัน และ สายพันธ์มาเลเซีย โดยรายละเอียดแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะเฟืองสายพันธ์ุพื้นเมือง ปัจจุบันพบน้อยมาก ไม่เป็นที่นิยมเนื้องจากผลเปรี้ยวมาก
  • มะเฟืองสายพันธุ์ศรีเวียง เป็นสายพันธ์ุพื้นเมืองที่กลายพันธ์ ลักษณะรูปทรงเหมือนสายพันธ์พื้นเมืองแต่ผลมีรสหวาน
  • มะเฟืองสายพันธุ์ดาราสยาม เป็นสายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนาจนผลมีความหวานมาก
  • มะเฟืองสายพันธุ์ไต้หวัน ลักษณะผลขนาดใหญ่ ให้รสหวาน เป็นสายพันธุ๋พื้นเมืองของประเทศไต้หวัน
  • มะเฟืองสายพันธุ์กวางตุ้ง ลักษณะผลขนาดใหญ่ รสหวาน เป็นสายพันธ์พันธุ์พื้นเมืองของประเทศจีน
  • มะเฟืองสายพันธุ์มาเลเชีย ลักษณะผลใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว เป็นสายพันธ์ุจากประเทศมาเลเชีย ปัจจุบันเป็นสายพันธ์ุมพเพฟืองที่นิยมปลูกมากที่สุด

ลักษณะของต้นมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ใช้เวลาปลูกเพื่อให้ผล 4 ถึง 5 ปี สามารถขยายพันธุ์ด้วยการ ต่อยอด ตอนกิ่ง การติดตา และเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นมะเฟือง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นมะเฟือง ความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกของลำต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาลอมดำ ลำต้นมีลักษณะเปลือกเป็นรอยแตกตามยาว และ ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก
  • ใบมะเฟือง ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว จะออกใบใหม่ตลอดทั้งปี ใบมะเฟืองคล้ายใบมะยม ใบเรียบเป็นมัน มีขนปกคลุม ฐานใบเบี้ยวมน ปลายใบแหลม มีก้านใบเป็นสีม่วง ใบอ่อนมีสีแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม
  • ดอกมะเฟือง จะออกดอกเป็นช่อ ซึ่งออกดอกตามกิ่งและลำต้น ดอกตูมจะมีสีม่วงแดง ส่วนดอกบานเป็นสีแดงม่วง สีขาว หรือชมพู ดอกมะเฟืองออกดอกทั้งปี สามารถให้ผลได้ทั้งปี
  • ผลมะเฟือง เจริญเติบโตมาจากดอกมะเฟือง ผลลักษณะกลมรี ผลยุบลงเป็นลักษณะแฉก คล้ายดวงดาว ผลหนึ่งอาจมี 5 ถึง 6 แฉก ผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน ผลสุกจะเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเนื้อที่ฉ่ำน้ำ มีรสชาติแล้วแต่สายพันธุ์ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 5 – 10 เมล็ดต่อผล

คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟือง

สำหรับการรับประทานมะเฟืองจะรับประทานผลมะเฟืองทั้งแบบผลสดและผลสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะเฟืองสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 31 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม น้ำตาล 3.98 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.33 กรัม โปรตีน 1.04 กรัม ลูทีนและซีแซนทีน 66 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.014 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.016 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.367 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.391 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.017 มิลลิกรัม วิตามินบี9 12 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.037 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

ผลมะเฟือง พบว่ามีสารออกซาลิก ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด การรับประทานผลมะเฟืองมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ สำหรับคนที่มีปัญหาปวดท้องน้อยเป็นประจำอาจเกิดจากนิ่วในไต ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานมะเฟือง รวมถึงกลุ่มคนที่กินยาลดไขมันอยู่ ก็ควรหลีกเลี่ยงการกินมะเฟือง เน่ื่องจากมะเฟืองจะทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ดี

สรรพคุณของมะเฟือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเฟือง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลมะเฟือง เมล็ดมะเฟือง ใบมะเฟือง ดอกมะเฟือง เปลือกต้นมะเฟือง และ รากมะเฟือง ซึ่งสรรพคุณของมะเฟือง มีดังนี้

  • รากมะเฟือง สรรพคุณแก้ปวดหัว รักษาหวัด บรรเทาอาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • เปลือกลำต้นมะเฟือง สรรพคุณรักษาแผลสด แก้ท้องเสีย
  • ใบมะเฟือง สรรพคุณช่วยลดไข้ รักษาหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษารังแค แก้ผื่นคัน รักษาแผล บรรเทาปวดจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ดอกมะเฟือง สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับสารพิษ
  • ผลมะเฟือง สรรพคุณทำให้ชุ่มคอ แก้คอแห้ง รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับเสมหะ แก้เมารถ แก้อาเจียน ช่วยผ่อนคลาย ทำให้หลับง่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับประจำเดือน ช่วยเจริญอาหาร ขับน้ำลาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องเสีย
  • เมล็ดมะเฟือง นำมาต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยให้นอนหลับง่าย แก้ปวดเมื่อย ช่วยขับประจำเดือน บรรเทาอาการปวดท้อง

โทษของมะเฟือง

การใช้ประโยชน์จากมะเฟือง ด้านการรับประทานมะเฟือง มีข้อควรระวัง ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งการรับประทานมะเฟืองมากเกินไปทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของมะเฟือง มีดังนี้

  • มะเฟืองมีสารออกซาลิกก่อให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรรับประทานมะเฟือง
  • สำหรับคนที่กินยาลดไขมันไม่ควรรับประทานมะเฟือง เนื่องจากมะเฟืองยังออกฤทธิ์ต้านยาลดไขมัน
  • เมล็ดมะเฟืองมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้เมล็ดมะเฟือง เพราะ อาจทำให้ตกเลือด แท้งลูกได้

มะเฟือง นิยมรับประทานผลมะเฟืองเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเฟือง สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ผลมะเฟืองมีความเป็นกรด ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

อัมพฤกษ์กับอัมพาต เป็นความผิดปกติของสมอง ส่งผลต่อการควบคุมร่างกายและการรับความรู้สึก เกิดจากสมองขาดเลือด ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย อัมพฤกษ์และอัมพาตต่างกันอย่างไรอัมพฤกษ์ อัมพาต สมองขาดเลือด โรคสมอง

ภาวะสมองขาดเลือด คือ สาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ( cerebrovascular accident ) สาเหตุของสมองขาดเลือด มีหลายสาเหตุ แต่เมื่อสมองขาดเลือดนานๆ หากสมองขาดเลือดชั่วคราว จะเกิดอัมพฤกษ์ แต่ หากสมองขาดเลืิอดนานกว่านั้น จะเกิดอัมพาต จะทำให้เกิดโรคนี้ มักพบในผู้ทีมีอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง

อัมพฤกษ์ อาการเกิดจากสมองขาดเลือดชั่วคราว เป็นลักษณะอาการที่แขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถยกของหรือหยิบจับของได้ แต่แขนขายังมีความรู้สึกอยู่เพียงแต่ว่าการใช้งานทำได้น้อยลง

อัมพาต เป็นอาการสมองขาดเลือดที่นานกว่า 30 วัน อาจเกิดจากเส้นเลือดสมองแตก ลักษณะอาการจะเป็นอาการที่แขนขาไม่มีความรู้สึก ไม่สามารถควบคุมการทำงานของแขนขาได้ แม้กระทั้งการออกแรงจับของ หรือ การขยับแขนขา แต่อาการอัมพาตนอกจาก ภาวะสมองขาดเลือด ยังเกิดจากภาวะเส้นประสาทถูกทำลาย เมื่อระบบประสาทถูกทำลายก็เป็นสาเหตุของอัมพาต

ความแตกต่างของอัมพฤษ์กับอัมพาต คือ อัมพฤกษ์ ร่างกายอ่อนแรงแต่ยังมีความรู้สึกอยู่ แต่อัมพาต ร่างกายสูญเสียการควบคุม และ ไร้ความรู้สึก

ปัจจัยที่ส่งผลกระทยต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต

สำหรับปัจจัยของการเกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต มีลักษณะคล้ายกัน คือ เกิดจากโรคต่างๆและพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การสูบบุหรี่  การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกาย และ ความเครียด เป็นต้น

อาการของโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต

สำหรับอาการของโรคอัมพฤกษ์ คือ ร่างกายอ่อนแรง ปากเบี้ยว ควบคุมกล้ามเนื้อลำบาก พูดลำบาก วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการทรงตัว สายตาพล่ามัว เป็นต้น อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ที่สำคัญ คือ แขน ขา อ่อนแรง ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท พูดไม่ชัด พูดลำบาก นึกคำพูดไม่ออก วิงเวียนศีรษะ เดินเซ มองเห็นภาพซ้อน

สำหรับอาการของโรคอัมพาต เป็นอาการของภาวะเส้นเลือดสมองแตก จะแสดงอาการแขน ขา ชาและอ่อนแรงไม่สามารถขยับได้ หรือ อ่อนแรงครึ่งซีก ข้างใดข้างหนึ่ง ความสามารถในการพูด และฟังน้อยลง มีปัญหาระบบการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัว มองไม่ชัด เห็นภาพเพียงบางส่วน เห็นภาพได้แคบลง ความสามารถในการหายใจน้อยลง ทำให้หายใจลำบาก และเหนื่อยหอบง่าย ปวดหัว เวียนหัว เสียความสามารถในการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรงแบบกระทันหัน คลื่นไส้อาเจียน และ ในกรณีระบบประสาทถูกทำลาย จากการเกิดอุบัติเหตุถูกกระแทกอย่างรุนแรง จะเป็นอาการระบบประสาทสูญเสียควบคุมอย่างกระทันหัน

การรักษาโรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต

การรักษาโรคในกรณีที่สมองขาดเลือดชั่วคราว สามารถรักษาตามอาการของสาเหตุที่ทำให้สมองขาดเลือด โดยใช้การผ่าตัด และ ให้ยารักษา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หากเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ต้องเข้ารับการผ่าตัด ใส่สารบางอย่างเพื่อไปอุดหลอดเลือด
  • หากเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง สามารถรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด

นอกจากนั้นแล้ว การรักษาจะทำเพื่อป้องกันการเกิดโรคอีกครั้ง เช่น การให้กินยาลดการแข็งตัวของเลือด การควบคุมการเกิดโรคที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน และรักษาโรคไขมันในหิตสูง รวมถึงการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข้งแรง และฝึกการพูด เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต

แนวทางการป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาติ สามารถป้องกันจากการหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และ รักษาสุขภาพไม่ให้เกิดภาวะหลอดเลืิอดสมองอุดตันหรือหลอดเลือดสมองแตก แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และ เลิกดื่มสุรา
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ อย่างเหมาะสม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดภาวะความเครียด
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำปี

อัมพฤกษ์ กับ อัมพาต เป็นความผิดปกติของสมอง ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย และ การรับรู้ความรู้สึก เกิดจากสมองขาดเลือด ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย อัมพฤกษ์และอัมพาตต่างกันอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย