โรคลมชัก Epilepsy ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที การรักษาทำอย่างไรโรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคลมชัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และ มีสาเหตุของการเกิดโรคที่หลากหลาย เช่น กรรมพันธุ ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมอง โรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ทำให้มีอาการชักตามมา ส่วนพบมากในเด็กที่มีสุขภาพปกติ มีพัฒนาการที่ดี ไม่มีปัญหาทางสมองใดๆ แต่ก็อาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพในสมอง อาการชักอาจไม่ได้หมายถึงโรคลมชักเสมอไป

ประเภทของอาการชัก

สำหรับอาการชัก เกร็ง กระตุก สามารถแบ่งลักษณะอาการของการชัก ได้เป็น 3 ประเภท คือ อาการชัก อาการเกร็งกระตุกกล้ามเนื้อ และ โรคลมชัก รายละเอียด ดังนี้

  • อาการชัก ( Seizure ) เกิดจากความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมองชั่วขณะ ส่งผลให้เกิดอาการทางสมอง แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายเองได้หากสามารถรักษาสาเหตุของอาการชักได้ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคสมองอักเสบ ภาวะการขาดวิตามิน เป็นต้น
  • อาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ ( Convulsion ) ลักษณะอาการคล้ายกับอาการชัก แต่อาจไม่ใช่อาการเกร็งกระตุกไม่ใช้อาการชักเสมอไป เช่น อาการเกร็งของคนไข้ขณะเป็นลม เป็นต้น
  • โรคลมชัก ( Epilepsy ) คือ อาการผิดปรกติของสมองเกิดจากกระแสไฟฟ้าในสมองลัดวงจรอย่างถาวร ทำให้เกิดอาการชักโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดอาการชัก

สาเหตุโรคลมชัก

สำหรับโรคลมชักในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของสาเหตุที่ชัดเจน มักเกิดจากการที่สมองถูกการกระทบกระเทือน ทั้งนี้ภายในสมองนั้นเต็มไปด้วยเซลล์ประสาท กระแสไฟฟ้า และสารเคมี ที่ถูกเรียกว่า สารสื่อประสาท หากถูกกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหายก็อาจทำให้สมองเกิดการทำงานที่ผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชัก ซึ่งโรคลมชัก สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้  2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุและกลุ่มที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดมีดังนี้

  • โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุได้แน่ชัด ( Primary Epilepsy ) สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ มีความผิดปกติของยีนส์ในร่างกายเอง
  • โรคลมชักที่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ ( Secondary Epilepsy ) เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง กอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง การเสพยาเสพติด การติดสุราเรื้อรัง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการขาดออกซิเจน สาเหตุเหล่านี้ มักเกิดกับผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

ปัจจัยการเกิดโรคลมชัก

โรคลมชักมีทั้งที่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนและไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เราสามารถบอกถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมชัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • อายุ ช่วงอายุที่มีโอกาสเกิดลมชักมากที่สุด คือ วัยเด็ก และ วัยสูงอายุ
  • ประวัติครอบครัว หากในครอบครัวนั้นมีประวัติว่ามีผู้ป่วยโรคลมชัก ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมชักในครอบครัวก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้สมองถูกทำลาย จนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคลมชัก
  • ภาวะสมองเสื่อม ( Dementia ) มักเกิดกับผู้สูงอายุ
  • ภาวะติดเชื้อที่สมอง ( Brain Infections )
  • มีประวัติชักในวัยเด็ก อาจทำให้ความเสี่ยงโรคลมชักเพิ่มขึ้นหากมีอาการชักที่ยาวนาน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทอื่น ๆ รวมทั้งมีประวัติโรคลมชักในครอบครัว

อาการโรคลมชัก

สำหรับอาการของโรคลมชัก จะแสดงความผิดปรกติให้เห็นชัดเจน จากอาการชัก ไม่สามารถควบคุมร่างกายอย่างมีสติได้ โรคนี้หากอยู่คนเดียวจะเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรทำกิจกรรมหลาย เช่น ทำงานบนที่สูง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ขับรถ  เป็นต้น ลักษณะของอาการชัก แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการชักเฉพาะส่วน และ อาการชักแบบต่อเนื่อง รายละเอียดดังนี้

อาการชักเฉพาะส่วน ( Focal Seizures ) คือ เกิดอาการชักบางส่วนในร่างกาย ซึ่งก็สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ อาการชักเฉพาะส่วนแบบรู้ตัว และ อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว รายละเอียดดังนี้

  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบชักแบบรู้ตัว (Simple Focal Seizures) ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกแปลกๆ รู้สึกวูบ อาจเกิดจากความกลัวอย่างกะทันหัน รู้สึกชาที่แขนและขา หรือ มีอาการชักกระตุกที่แขนและมือ เป็นต้น อาการชักมีสัญญาณเตือนของอาการชักผู้ป่วยและคนรอบมักจะเตรียมรับมือได้ทัน
  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว ( Complex Partial Seizures ) ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างได้เลย เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวอาการชักก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเวลาใด

อาการชักต่อเนื่อง ( Status Epileptics ) อาการชักชนิดนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมากกว่า 30 นาที เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสมอง

แนวทางการวินิจฉัยโรคลมชัก

เนื่องจากระบบประสาทและสมอง มีความซับซ้อนมาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และ ใช้เครื่องมือที่มีความพิเศษสูง จึงจะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของโรคได้อย่างชัดเจน เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การแสกนเอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก

แนวทางการรักษาโรคลมชักขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค บางครั้งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ใช้การรับประทานยาต้านอาการชัก ซึ่งกลไกหลักของยาต้านอาการชักคือ ยาจะเข้าไปปรับเปลี่ยนปริมาณสารเคมีในสมองช่วยลดโอกาสการเกิดอาการชัก ในกรณีที่ใช้ยาไม่สามารถควบคุมอาการชัก อาจต้องรับการผ่าตัด เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ( Vagus Nerve Stimulation )  และ กระตุ้นสมองส่วนลึก ( Deep Brain Stimulation )

  • หากผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก และ ตั้งครรภ์ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เนื่องจาก ยาลดการชักมีผลต่อทารกในครรภ์ ทางที่ดีให้คุมกำเนิดรอจนอาการชักหายเป็นปกติก่อนดีกว่า
  • หากต้องเดินทางควรรับประทานยาให้ตรงเวลา ไม่ควรเลื่อนการรับประทานยา
  • ในเด็กหากต้องไปโรงเรียนจะต้องแจ้งให้ครูประจำชั้นทราบ เพื่อ ไม่ให้เกิดการแตกตื่น และ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ทันเวลา

การป้องกันโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค สิ่งที่สามารถป้องกัน คือ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบ โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • สวมป้ายข้อมือทางการแพทย์ ระบุว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คนรอบข้างทราบว่าต้องช่วยผู้ป่วยอย่างทันท่วงที
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

 

โรคลมชักEpilepsy ) คือ ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที แนวทางการรักษาทำอย่างไร

มะนาว สมุนไพรพื้นบ้าน ผลมะนาวให้รสเปรี้ยว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สรรพคุณของมะนาว เช่น บำรุงเลือดลม แก้ปวดหัว ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ โทษของมะนาวมีอะไรบ้างมะนาว สมุนไพร ต้นมะนาว สรรพคุณของมะนาว

มะนาว ( Lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle ต้นมะนาว คือ พืชประเภทไม้ผล ให้รสเปรี้ยว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำน้ำคั้นจากผลมะนาวมาปรุงอาหารให้รสเปรี้ยว สรรพคุณของมะนาวช่วยบำรุงร่างกายระบบต่างๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินหายใจ ระบบภูมิต้านทานร่างกาย ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบประสาท

นอกจากนั้น มะนาว ยังมีประโยชน์อื่นๆ มากมาย สำหรับทุกครัวเรือนในประเทศไทย นิยมปลูกมะนาวทั่วไป จัดเป็นสมุนไพรประจำครัวเรือน ขาดไม่ได้สำหรับการทำอาหารไทย

สายพันธุ์มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทย

มะนาวที่นิยมปลูกในไทย มี 4 สายพันธ์หลักๆ คือ มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวหนัง และมะนาวทราย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง
  • มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย[1]
  • มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน
  • มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน

มะนาวพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ มะนาวตาฮิติ, มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี, มะนาวพม่า, มะนาวเตี้ย และมะนาวหนัง เป็นต้น (มะนาวบางพันธุ์อาจเรียกได้หลายชื่อ แต่ในที่นี้ไม่ได้สืบค้นเพื่อจำแนกเอาไว้)

ลักษณะของต้นมะนาว

ต้นมะนาว เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย สำหรับการปลูกมะนาวนั้น สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ ทาบกิ่ง และ การเพาะเมล็ดพันธ์ุ ต้นมะนาวมีหลากหลายสายพันธ์ุ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ ลักษณะของต้นมะนาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของมะนาว ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสอง สี เปลือกอ่อนสีเขียว เปลือกแก่มีสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามแหลมคม ซึ่งหนามมักอยู่ตามซอกใบ
  • ใบมะนาว เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งก้านของลำต้น ใบมีลักษณะรี ผิวใบเรียบ มันวาว สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกมะนาว ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาว คล้ายรูปทรงกระบอก
  • ผลมะนาว พัฒนามาจากดอกมะนาว ผลสดมะนาวมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีสีเขียว ภายในผลชุ่มน้ำ ผิวเปลือกของมะนาวมีต่อมน้ำมันที่ผิว
  • เมล็ดมะนาว ลักษณะของเมล็ดคลายหยดน้ำ ปลายเมล็ดแหลม มีรสขม เมล็ดของมะนาวอยู่ในผลมะนาว ซึ่งเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว 

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะนาวขนาด 100 กรัม สามารถใหเพลังงาน 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม
วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาว สรรพคุณที่ความสดชื่น มีกลิ่นหอม มีสารเคมีสำคัญประกอบด้วย สารซิโตรเนลลัล ( Citronellal ) ซิโครเนลลิล อะซีเตต ( Citronellyl Acetate ) ไลโมนีน ( Limonene ) ไลนาลูล ( Linalool ) เทอร์พีนีออล ( Terpeneol ) เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรดซิตริค ( Citric Acid ) กรดมาลิก ( Malic Acid ) และกรดแอสคอร์บิก ( Ascorbic Acid ) ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อมกับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ช่วยลดรอยด่างดำ

สรรพคุณของมะนาว

มะนาว เป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่คนไทยคุ้นเคยกันดี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของมะนาว สามารถใช้ได้แทบบทุกส่วนของต้น ทั้ง ใบมะนาว รากมะนาว เปลือกผลมะนาว น้ำมะนาว โดย สรรพคุณของมะนาว มีรายละอียด ดังนี้

  • ใบมะนาว สามารถแก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • รากมะนาว สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกผลมะนาว สามารถแก้เวียนหัว รักษาหูด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • น้ำมะนาว สามารถ แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว รักษาอาการระดูขาว ช่วยรักษาอาการลิ้นเป็นฝ้า ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดอาการเหงือกบวม ช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยการเจริญอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิจาง แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการร้อนใน ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคกลาก รักษาโรคเกลื้อน รักษาหิด รักษาโรคน้ำกัดเท้า ช่วยรักษาแผล รักษาแผลน้ำร้อนลวก ช่วยบรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นประสาท
  • น้ำมัันหอมระเหยจากมะนาว ช่วยลดความเครียด ทำให้หลับง่าย ช่วยประตุ้นประสาท ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด ทำความสะอาดจมูก

โทษของมะนาว

การใช้ประโยชน์จากมะนาว มีข้อควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากมะนาว โทษของมะนาว มีดังนี้

  • น้ำมะนาวมีความเป็นกรด หากสัมผัสเข้ากับผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร การรับประทานน้ำมะนาวสดๆ โดยไม่มีการเจือจากให้รสชาติอ่อนลง อาจทำให้เกิดการระคายเครื่องระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรด
  • กรดจากน้ำมะนาว ทำให้ฟันกัดกร่อนง่าย ไม่ควรอมน้ำมะนาวไว้ในปากนานๆ
  • หากกินเปรี้ยวมากเกิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูกได้

การบังคับมะนาวออกลูกนอกฤดู

ปกติมะนาวจะให้ลูกหน้าฝน แต่มีวิธีการบังคับให้มะนาวออกลูกหน้าร้อน เพื่อให้ได้คือการปลูกมะนาวในบ่อวงซีเมนต์ โดยจะคลุมพลาสติกบ่อที่โคนต้นในฤดูฝน เพื่อไม่ให้มะนาวรับน้ำจากฝน และจะเอาออกเมื่อหมดฤดูฝน จะทำให้มะนาวออกลูกในฤดูร้อนซึ่งมะนาวมีราคาแพงได้ เป็นการหลอกต้นมะนาว ว่ายังไม่ถึงฤดูฝน ทำให้การติดลูกของดอกมะนาวช้าลงนั่นเอง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย