พาร์กินสัน สันนิบาตลูกนก เกิดจากความผิดปรกติของสมอง ทำให้มีอาการสั่น ไม่สามารถควบคุม ยังไม่มียารักษาโรคนี้ การรักษาใช้การประคับประครองตามอาการของโรค การป้องกันโรคพาร์กินสัน สันนิบาตลูกนก โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคพาร์กินสัน เกิดจากระบบประสาทและสมองเกิดการเสื่อม เป็นโรคทางสมองที่พบมากที่สุดอันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ จากสถิติของจำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั่วโลกมีร้อยละ 1 ของกลุ่มคนที่มีอายุเกิน 65 ปี และสถิติการเกิดโรคพาร์กินสันในประเทศไทยพบผู้ป่วย 425 คนต่อประชากร 100,000 คน โรคพาร์กินสัน สมัยโบราณเรียก โรคสันนิบาตลูกนก ลักษณะของอาการสังเกตุจากอาการสั่นของร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่โด่งดังที่คนทั่วโลกรู้จัก คือ มูฮามัดอาลี นักชกมวยระดับโลก

สาเหตุการเกิดโรคพาร์กินสัน

สำหรับสาเหตุของโรคพาร์กินสันเกิดจากก้านสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเสื่อมจนไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของก้านสมองเสื่อมว่าเกิดจากอะไร แต่ทางการแพทย์เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติหรือพี่น้องคนในครอบครัวมีอาการป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีความเสี่ยงสูงกว่าปรกติ
  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การกระทบกระเทือนทางสมอง การรับสารต่างๆเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น

อาการผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยจะค่อยๆแสดงอาการของโรคและเห็นอย่างชัดเจนจากลักษณะความผิดปรกติของการควบคุมร่างกาย มีลักษณะ 3 อาการเด่น คือ อาการสั่น อาการเกร็ง และอาการเคลื่อนไหวช้า โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการสั่น จะสั่นขณะที่อยู่เฉยๆ และหากเคลื่อนไหวอาการสั่นจะลดลงหรือหายไป และ มักเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่ง
  • อาการเกร็ง จะมีอาการตึงบริเวรแขน ขาและลำตัว ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก และทำให้ปวดตามกล้ามเนื้อ
  • อาการเคลื่อนไหวช้า เนื่องจากอาการอ่อนแรง ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง ไม่ปรกติเหมือนคนทั่วไป

นอกจาก 3 อาการหลักๆ อาการเหล่านี้ยังส่งผลต่ออาการอื่นๆอีก เช่น น้ำลายไหล ร่างกายแข็งเกร็ง เดินลำบาก เดินซอยเท้า เท้าติดเวลาก้าวขา หกล้มง่าย  ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดีในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย เหงื่อออกมาก ท้องอืด ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ การรับรู้กลิ่นและรสไม่ดี มึนศีรษะเวลาลุก รวมถึงอาการทางจิตใจ ผู้ป่วยพาร์กินสันอาจมีอาการโรคซึมเศร้าด้วย

การรักษาโรคพาร์กินสัน

สำหรับการรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันยังไม่มีสามารถรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาด หรือ หยุดยั้งอาการของโรคได้ ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบันเพียงการประคับประครองอาการของโรค โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาด้วยยาตามอาการ เช่น ใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
  • การรักษาด้วยการกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย ช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหว ท่าเดิน ท่านั่ง การทรงตัว ตลอดจนการออกกายบริหารแก้ไขภาวะอื่นๆ เช่น หลังโกง ไหล่ติด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ ปวดขา เป็นต้น
  • การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก ( deep brain stimulation ) รักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้า เพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล

การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองจะลดลง แนวทางการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน มีดังนี้

  • ต้องมีผู้ที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
  • ป้องกันการลื่นล้ม ดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่ผู้ป่วย
  • ฝึกการก้าวเดินเนื่องจากส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องการเดิน อาจจะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
  • การออกกำลังกาย บริหารร่างกายส่วนต่างๆอย่างประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นและป้องกันอาการโรคซึมเศร้า
  • ต้องระวังเรื่องท้องผูกเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายเองได้

โรคพาร์กินสัน หรือ สันนิบาตลูกนก เกิดจากความผิดปรกติของสมอง ทำให้ร่างกายมีอาการสั่น ไม่สามารถควบคุม ยังไม่มียารักษาโรคนี้ได้ แนวทางการรักษาใช้การประคับประครองตามอาการของโรค การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันต้องทำอย่างไร

ต้นแมงลัก เม็ดแมงลัก นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ใบแมงลักให้กลิ่นหอม สรรพคุณบำรุงระบบเลือด ช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคผิวหนัง โทษของต้นแมงลัก มีอะไรบ้างแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocimum × africanum Lour. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับต้นกะเพรา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นแมงลัก เช่น ก้อมก้อข้าว มังลัก อีตู่ เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และเพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหารที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ แหล่งเพาะปลูกแมงลักภายในประเทศไทย สามารถให้ผลผลิตได้เพียง 112 กิโลกรัม ต่อพื้นที่เพียง 148 ไร่เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราส่วนผลผลิตต่อไร่ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับการปลูกต้นกะเพราและต้นโหระพา เราสามารถพบเห็นต้นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด และ สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ แมงลักสายพันธุ์ศรแดง เป็นสายพันธ์แมงลักที่ใบใหญ่

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก จัดเป็นพืชล้มลุก ในกลุ่มพืชตระกูลเดียวกับต้นกะเพราและต้นโหระพา สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย จากใบแมงลักสดและเมล็ดแมงลัก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียดดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบเฟลวิล 0.14 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และโปรตีน 2.9 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย methyl cinnamate , d-camphor และ polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

การใช้ประโยชน์จากต้นแมงลักด้านสมุนไพร เพื่อการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เราใช้ประโยชน์จาก ใบแมงลัก และ เม็ดแมงลัก ซึ่งสรรพคุณของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

ข้อควรระวังการบริโภคเม็ดแมงลัก

เม็ดแมงลักมีสรรพคุณด้านสมุนไพรมากมาย แต่การรับประทานเม็ดแมงลัก มีข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เนื่องจาก เมล็ดแมงลักจะพองตัวในกระเพาะ ทำให้แน่นท้องมากเกินไป
  • เมล็ดแมงลักหากรับประทานในขณะที่เมล็ดยังพองตัวไม่สุด เมล็ดแมงลักจะดูดน้ำในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้ หรือ ภาวะลำไส้อุดตันได้
  • ขณะระหว่างที่รับประทานยา ควรงดการกินเม็ดแมงลัก เนื่องจากเมล็ดแมงลักจะดูดซึมยาที่ใช้รักษาร่างกาย ทำให้ฤทธิ์ของยาไม่มีประสิทธิภาพ
  • หากต้องการลดความอ้วนด้วยการรับประทานเม็ดแมงลัก ควรเป็นมื้อเย็นแทนการรับประทานอาหาร และ ไม่ควรรับประทานทุกมื้อ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • เม็ดแมงลักที่ขายตามท้องตลาด อาจมีเชื้อราปะปน เมื่อนำมารับประทาน อาจทำให้ท้องเสีย และ เป็นพิษต่อร่างกายได้

ต้นแมงลัก เม็ดแมงลัก สมุนไพร นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ใบแมงลักให้กลิ่นหอมช่วยดับคาวอาหารได้ สรรพคุณของแมงลัก เช่น บำรุงระบบเลือด ช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคผิวหนัง โทษของต้นแมงลัก มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย