หญ้าคา วัชพืช มีประโยชน์หลากหลาย สมุนไพร ลักษณะของหญ้าคาเป็นอย่างไร สารในหญ้าคา สรรพคุณของหญ้าคา ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษานิ่ว โทษของหญ้าคามีอะไรบ้างหญ้าคา สมุนไพร สรรพคุณของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา ภาษาอังกฤษ เรียก Alang-alang หรือ Blady grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าคา คือ Imperata cylindrica (L.) Raeusch. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของหญ้าคา คือ สาแล กะหี่ บร่อง ทรูล ลาลาง ลาแล แปะเม่ากึง เตี่ยมเซากึง คา แฝกคา ลาแล เก้อฮี เป็นต้น หญ้าคากับหญ้าแฝกป็นพืชคนละชนิด หญ้าคา เป็นพืชที่ถูกจัดเป็นพืชรุกราน ( invasive alien species ) ขยายพันธ์เร็วมาก หญ้าคาหนึ่งต้นสามรถผลิตเมล็ดพันธ์ได้ 3,000 เมล็ด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน

ลักษณะของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา เป็นพืชที่ชอบแสงแดดและมีความทนทานสูง สามารถพบได้ตามพื้นที่รกร้าง ท้องทุ่งทั่วไป ตามหุบเขา และริมทาง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หญ้าคาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นหญ้าคา มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าคา ลักษณะเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเส้นกลมทอดยาว มีข้อชัดเจน ผิวลำต้นเรียบ มีขนเล็กน้อย สามารถแตกกิ่งก้านสาขาและเลื้อยแผ่ได้มากมาย
  • ใบหญ้าคา ลักษณะใบแบนเรียวยาว ใบแตกออกมาจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน  ท้องใบมีขนอ่อนๆ  ขอบใบแหลมคม
  • ดอกหญ้าคา ลักษณะดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก มีขนฟูสีขาว ก้านดอกแทงออกจากปลายลำต้น หญ้าคาจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน
  • เมล็ดหญ้าคา ลักษณะเมล็ดแบนรี มีสีเหลือง เกาะอยู่ที่ดอกหญ้าคา สามารถขยายพันธ์ต่อได้

สารเคมีในหญ้าคา

รากหญ้าคามีสารสกัดเมทานอล หลายชนิด ประกอบด้วย 5-hydroxy-2-(2-phenylethyl) chromone , 5-hydroxy-2-[2-(2-hydroxyphenyl) ethyl] chromone ,  flidersiachromone และ hydroxy-2-styrylchromone ซึ่งพบว่าสาร 5-hydroxy-2(2-phenylethy) chromone และ 5-hydroxy-2-[2-(2-hyroxyphenyl) ethyl] chromone สามารถป้องกันพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้ และ สารประกอบฟินอลิก อิมพิรานิน ( imperanene ) ในรากหญ้าคา สามารถยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด

สารสกัดจากเหง้าหญ้าคาแห้งสามารถยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 protease และ ลดอาการแผลในกระเพาะอาหารได้

สรรพคุณของหญ้าคา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าคา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ดอก ช้อดอก และ ลำต้น สรรพคุณของหญ้าคา มีดังนี้

  • รากหญ้าคา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง รักษาตาลขโมย แก้หอบหืด ช่วยหยุดเลือดกำเดา แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ แก้เกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้บิด แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ปัสสาวะเป็นหนอง รักษาหนองใน ช่วยขับระดูขาว แก้ปวดท้องประจำเดือน แก้ไตอักเสบ บำรุงไต แก้ตัวบวม ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย ช่วยห้ามเลือด
  • ดอกหญ้าคา สรรพคุณช่วยหยุดเลือดกำเดา แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้อุจจาระเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร  แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยห้ามเลือด
  • ผลหญ้าคา สรรพคุณเป็นยาสงบประสาท ช่วยห้ามเลือด
  • ใบหญ้าคา สรรพคุณแก้ลมพิษ รักษาผดผื่น ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของหญ้าคา

สำหรับหญ้าคา มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค แต่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและใช้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โทษของหญ้าคา มีดังนี้

  • ใบหญ้าคามีความแหลมคมมาก ให้ระวังในการเดินเข้าในดงหญ้าหรือระวังการจับใบหญ้า
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเกร็ดเลือด หรือ ผู้ที่รับยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือดอยู่ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าคา เนื่องจากในหญ้าคามีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด
  • ไม่ควรใช้สมุนไพรจากหญ้าคาในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สำหรับสตรีมีครรภ์หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังก่อนจะใช้สมุนไพรหญ้าคา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

ดอกซ่อนกลิ่น น้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่นนำมาทำหัวเชื้อน้ำหอม ลักษณะของต้นซ่อนกลิ่นเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของซ่อนกลิ่น เช่น ช่วยผ่อนคลาย กระตุ้นกำหนัดซ่อนกลิ่น ลั่นทม สมุนไพร สรรพคุณของซ่อนกลิ่น

ต้นซ่อนกลิ่น ภาษาอังกฤษ เรียก Tuberose ชื่อวิทยศาสตร์ของซ่อนกลิ่น คือ Poliamtues tuberosa Lin. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นซ่อนกลิ่น เช่น ดอกรวงข้าว ดอกลีลา ต้นลั่นทม เป็นต้น ต้นซ่อนกลิ่น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ พบตามแถบเทือกเขาแอนดีส  มีข้อมูลว่ามีการปลูกในทวีปเอเชียครั้งแรกที่ฟิลิปปินส์โดยชาวสเปน และสันนิษฐานว่าเข้าสู่ประเทศไทยโดยชาวจีนที่ค้าขายสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีบันทึกอย่างชัดเจน

ดอกซ่อนกลิ่นในประเทศไทย

ดอกซ่อนกลิ่นพบว่ามีการปลูกต้นซ่อนกลิ่นตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเข้ามาได้อย่างไร ตามความเชื่อของสังคมไทย ดอกซ่อนกลิ่นมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าดอกลั่นทม พ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปล่วาความเศร้าหมอง จึงถูกมองว่าเป็นพืชไม่เป็นมงคล ไม่นิยมให้ปลูกบริเวณบ้านอย่างเด็ดขาด แต่ในขณะที่คนไทยส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อดอกซ่อนกลิ่น แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ชอบใช้น้ำหอมที่มีกลิ่นของดอกซ่อนกลิ่น

ลักษณะของต้นซ่อนกลิ่น

ต้นซ่อนกลิ่น เป็นพืชไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายต้นหัวหอม สามารถขยายพันธ์ โดยการแยกหัวปลูก สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะของต้นซ่อนกลิ่น มีดังนี้

  • ลำต้นซ่อนกลิ่น มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวหอม และ ลำต้นแทงออกจากหัว ลักษณะกลมตรง สีเขียว
  • ใบซ่อนกลิ่น ลักษณะเรียวยาวใบยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร มีสีเขียว โผล่ออกมาจากลำต้น
  • ดอกซ่อนกลิ่น ลักษณะดอกเป็นช่อ และชูช่อออกจากตรงกลางกอของลำต้น ดอกมีสีขาว กลีบดอกแต่ละกลีบจะไม่เท่ากัน มีกลิ่นหอมมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน

น้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่น ( essential oil ) เกิดจากการนำกลีบดอกซ่อนกลิ่นมาเข้ากระบวนการกลั่น ใช้ไอน้ำเป็นตัวแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากกลีบดอก น้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่น 1 กิโลกรัม ต้องใช้ดอกซ่อนกลิ่น 3,600 กิโลกรัม น้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่นมีกลิ่นหอม และ ยังมีสรรพคุณต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียได้

สรรพคุณของซ่อนกลิ่น

การใช้ประโยชน์จากซ่อนกลิ่นในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จากน้ำมันหอมระเหย ดอก และ เหง้า สรรพคุณของซ่อนกลิ่น มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่น สรรพคุณช่วยต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย
  • เหง้า ลดการอักเสบ ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ลดความตึงเคลียด ทำให้ใจเย็น จิตใจสงบ นอนหลับง่าย ความหอมอ่อนโยน เย้ายวนใจ ช่วยกระตุ้นกำหนัด
  • ดอกซ่อนกลิ่น ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ลดความตึงเคลียด ช่วยให้นอนหลับง่าย กระตุ้นกำหนัด ลดการอักเสบ

โทษของซ่อนกลิ่น

สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่น นำมาใช้ประโยชน์ต่างๆควรระมัดระวังในการใช้ โดยให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ การใช้อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

ดอกซ่อนกลิ่น มีกลิ่นหอมมาก น้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่น นำมาทำหัวเชื้อน้ำหอม พืชมีประโยชน์ทางสมุนไพร ลักษณะของต้นซ่อนกลิ่นเป็นอย่างไร สรรพคุณของซ่อนกลิ่น เช่น ช่วยผ่อนคลาย กระตุ้นกำหนัด

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย