เสาวรส กะทกรกฝรั่ง ผลไม้ที่ได้รับความนิยมรสเปรี้ยวอมหวาน ต้นเสาวรสเป็นอย่างไร สรรพคุณของเสาวรส เช่น บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ลดความอ้วน โทษของเสาวรส มีอะไรบ้างเสาวรส กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณของเสาวรส

ต้นเสาวรส ภาษาอังกฤษ เรียก Passion Fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส คือ Passiflora edulis Sims เสาวรสมีต้นกำเนิดในประเทสแถบทวีปอเมริกาใต้ ประโยชน์ของเสาวรสมีมากมายหลาย เนื่องจากผลเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต สำหรับเสาวรสในประเทศไทย ได้มีการปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ปัจจุบันปลูกมากในภาคเหนือและภาคตะวันออก

สายพันธ์เสาวรส

สำหรับสายพันธุ์เสาวรสที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 3 สายพันธ์ คือ เสาวรสสายพันธ์ผลสีเหลืองทอง เสาวรสสายพันธ์ผลสีม่วง และ เสาวรสสายพันธ์ผสมสีม่วงและสีเหลืองทอง รายละเอียด ดังนี้

  • เสาวรสสายพันธุ์ผลสีเหลืองทอง ( Golden passion fruit ) ผลมีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เป็นสายพันธ์ตามธรรมชาติ พบได้ตามพื้นที่สูงในแถบชายฝั่งทะเลที่มีความสูงตั้งแต่ 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
  • เสาวรสสายพันธุ์ผลสีม่วง ( Purple passion fruit ) ผลมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์สีเหลืองทอง เปลือกผลจะบางกว่าพันธุ์สีเหลืองทอง และ ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าสายพันธ์ผลสีเหลืองทอง สายพันธุ์นี้พบได้ในที่สูงประมาณ 1,000 – 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ชอบอากาศค่อนข้างหนาวเย็น
  • เสาวรสสายพันธุ์ผสมสีม่วงกับสีเหลืองทอง ( Hybrid passion fruit ) ผลให้รสหวาน ผลขนาดใหญ่ เปลือกบาง และให้ผลผลิตต่อไร่สูง

ลักษณะของต้นเสาวรส

ต้นเสาวรส เป็นพืชในเขตร้อนมีอายุประมาณ 4-5 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำและเสียบยอด ลักษณะของต้นเสาวรส มีดังนี้

  • ลำต้นเสาวรส ลักษณะเป็นเภาไม้เลื้อย เถาแตกกิ่ง และ มีหนามขนาดเล็กขึ้นปกคลุมห่างๆ
  • ใบเสาวรส ลักษณะเป็นใบเดียวแทงออกเรียงสลับกันตามเถา ใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นแฉกๆ ปลายแฉกแหลม แผ่นใบหนาและสากมือ
  • ดอกเสาวรส ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แทงออกตามซอกใบและตามเถา กลีบดอกมีสีเขียว เมื่อบานจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลเสาวรส ลักษณะเป็นผลเดียว ผลกลม อวบน้ำ สีของผลแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเป็นมัน ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดเสาวรส อยู่ภายในผล ลักษณะเป็นรูปรี เมล็ดด้านในมีสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส

สำหรับการรับประทานเสาวรสเป็นอาหาร นินมรับประทานผลเสาวรส ให้รสชาติเปรี้ยวอมหวาน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเสาวรสขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 97 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม น้ำตาล 11.2 กรัม กากใยอาหาร 10.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 734 ไมโครกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 30 มิลลิกรัม วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของเสาวรส

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเสาวรสในด้านสมุนไพร และ การรักษาโรคนั้น เราใช้ประโยชน์จากผลเสาวรส โดยประโยชน์ของผลเสาวรส มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากผลเสาวรสมีวิตามินเอ และ สารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันเซลล์ประสาทตาถูกทำลาย
  • ช่วยกระกระตุ้นระบบขับถ่าย เนื่องจากเสาวรสมีกากใยอาหาร เหมาะสำหรับใช้ดีท็อกซ์ของเสียออกจากร่างกาย
  • ช่วยบำรุงหัวใจ โพแทสเซียม เป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อเซลล์ และของเหลวในร่างกาย ช่วยให้การทำงานของหัวใจ และความดันโลหิตเป็นปกติ
  • บำรุงกระดูก เนื่องจากเสาวรสมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงเหงือกและฟันด้วย
  • ช่วยให้นอนหลับง่าย ช่วยผ่อนคลาย
  • ช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจากเสาวรสมีแคลอรี่ต่ำ รับประทานแล้วไม่อ้วน ลดการสร้างไขมันใหม่ และ ช่วยสลายไขมันเก่าได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด เนื่องจากสารไบโอฟลาโวนอยด์ ( Bioflavonoid ) ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายได้ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย วิตามินซีในเสาวรสช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง

โทษของเสาวรส

สำหรับการนำเสาวรสมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย มีข้อควรระวังโดย ต้นสดของเสาวรสมีความเป็นพิษ ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด อาจทำให้เสียชีวิตได้

เสาวรส หรือ กะทกรกฝรั่ง เป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมรสเปรี้ยวอมหวาน ลักษณะของต้นเสาวรสเป็นอย่างไร สรรพคุณของเสาวรส เช่น บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ลดความอ้วน โทษของเสาวรส มีอะไรบ้าง

ต้นบัวหลวง พืชน้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับใช้บูชาพระ ลักษณะของต้นบัวหลวง สรรพคุณเช่น บำรุงกำลัง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของบัวหลวง มีอะไรบ้างบัวหลวง สมุนไพร สรรพคุณของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวหลวง คือ Nelumbo nucifera Gaertn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ โช้ค เป็นต้น ต้นบัวหลวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ปัจจุบันมีการปลูกบัวหลวงเพื่อการพาณิชย์ในประเทศและส่งออก และ ยังได้รับการเลือกให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี พิจิตร สุโขทัย และ หนองบัวลำภู

สายพันธุ์บัวหลวง

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของบัวหลวง สามารถแบ่งได้ 4 สายพันธ์ตามลักษณะของดอกที่แตกต่างกัน โดย ประกอบด้วย บัวหลวงดอกสีชมพู บัวหลวงดกอสีขาว บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน และ บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน รายละเอียด ดังนี้

  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพู ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมคล้ายรูปไข่ ปลายดอกเรียว กลีบดอกสีชมพู โคนกลีบดอกสีขาวนวล กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาว ลักษณะดอกใหญ่ ดอกทรงรี ปลายดอกเรียว กลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว และกลีบในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพู กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้นๆ
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมเป็นทรงรี ปลายดอกแหลม สีชมพู กลีบดอกเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกสีเขียวอมชมพู กลีบดอกด้านในสีชมพู
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมทรงรี ปลายแหลม ดอกสีขาวและกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกชั้นในสีขาว

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก มีอายุยาวนาน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ที่อยู่ในแหล่งน้ำที่มีควาทลึกประมาณ 50 เซนติเมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นบัวหลวง มีดังนี้

  • ลำต้นบัวหลวง เหง้าอยู่ใต้ดินและลำต้นเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลำต้นเป็นปล้องๆสีเหลืองอ่อนกลมๆ ลำต้นอวบน้ำ
  • ใบบัวหลวง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบกลม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น และใบมีขนาดใหญ่ ผิวใบด้านบนเป็นนวล
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว สีต่างๆตามสายพันธ์ กลีบดอกจะมีจำนวนมากและเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ล้อมรอบฐานรองดอก ดอกบัวหลวงจะบานในตอนเช้า โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม
  • ฝักบัวหลวง คือ ส่วนฐานรองดอก ฝักอ่อนสีเขียวนวล รูปกรวย ฝักเมื่อแก่จะขยายใหญ่ขึ้น และจะมีผลสีเขียวอ่อนอยู่ในฝัก
  • ผลบัวหลวง หรือ เมล็ดบัวหลวง ลักษณะรี เป็นเม็ดๆอยู่ในฝักบัว ผลอ่อนมีสีเขียวนวลและมีจำนวนมาก
  • ดีบัวหลวง คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง ดีบัวจะมีรสขมจัด แต่ไม่มีกลิ่น

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

สำหรับการบริโภคบัวหลวง นิยมรับประทานเมล็ดบัวหลวง และ และ รากบัวหลวง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล้ดบัวและรากบัว รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 332 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 64.47 กรัม น้ำ 14.16 กรัม ไขมัน 1.97 กรัม โปรตีน 15.41 กรัม วิตามินเอ 50 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.640 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.150 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.600 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.629 มิลลิกรัม วิตามินบี9 104 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 163 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.53 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 210 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 626 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,368 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.05 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 66 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 16.02 กรัม น้ำ 81.42 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม กากใยอาหาร 3.1 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.58 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.302 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.218 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 27.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 363 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 45 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

ดีบัวมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ เช่น Demethylcoclaurine , Isoliensinine , Liensinine , Lotusine , Methyl corypalline , Neferine , Nuciferine , Pro Nuciferine และ สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น Galuteolin , Hyperin , Rutin

ดอกมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ คือ nelumbine ส่วนเกสรมีสารฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น quercetin , isoquercitrin , luteolin , luteolin glucoside

รากบัวสามารถช่วยลดการดูดซึมกลูโคส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

สรรพคุณของบัวหลวง

สำหรับการใช้ประโยชน๋จากบัวหลวง เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุดส่วนของบัวตั้งแต่รากบัว ใบบัว ดอกบัว สรรพคุณของบัวหลวง มีดังนี้

  • กลีบดอกบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
  • เมล็ดบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเลือด บำรุงประสาทและสมอง ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ใบบัวอ่อน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ช่วยขับเสมหะ รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบ
  • ใบบัวแก่ สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยลดไข้
  • รากบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย ทำให้หลับสบาย ช่วยลดไข้ แก้ไอ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยสมานแผล แก้อาการผดผื่นคัน ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ดีบัว สรรพคุณลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยผ่อนคลาย ช่วยลดไข้ แก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • เกสรบัว สรรพคุณบำรุงประสาทและสมอง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยขับเสมหะ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล บำรุงปอด แก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยสมานแผล

โทษของบัวหลวง

สำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค มีข้อควรระวังและคำแนะนำในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • สำหรับบางคนที่มีอาการแพ้เกสรดอกไม้ เกสรบัวหลวงอาจทำให้เกิดอาการแพ้
  • สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ค่อย ไม่ควรรับประทานเม็ดบัว เนื่องจากเม็ดบัวอาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย