ผักไชยา หรือ คะน้าเม็กกซิโก พืชสารพัดประโยชน์ ฉายา ต้นผงชูรส สรรพคุณบำรุงร่างกาย ธาตุเหล็กสูง ลดโอกาสการเกิดโรคโลหิตจาง ประโยชน์และโทษของผักไชยา มีอะไรบ้างผักชายา ผักไชยา ต้นผงูรส คะน้าเม็กซิโก

ต้นชายา ภาษาอังกฤษ เรียก Chaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชในตระกูลยางพารา ( Euphorbiaceae ) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น คะน้าเม็กซิกัน ผักชายา ต้นมะละกอกินใบ ต้นผงชูรส เป็นต้น ต้นไชยา ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง  ผักไชยา เมื่อนำมาตากแห้งป่นเป็นผง สามารถใช้ปรุงรสอาหาร เหมือน ผงชูรส เป็นสมุนไพรไม้พุ่มโตง่าย สามารถแตกยอดได้สูงสุดถึง 6 เมตร มีน้ำยางสีขาว

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ ต้นคะน้าเม็กซิโก ใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

คะน้าเม็กซิโก หรือ ผักไชยา ไม่ใช้พืชท้องถิ่นของไทย แต่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา   

การรับประทานผักไชยาจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะ มีโปรตีนสำคัญ มีวิตามินต่างๆ ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ แคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุอาหารรอง มี ธาตุเหล็ก มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ทำให้ผู้รับประทานดูอ่อนกว่าวัย และมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมถึง 2 เท่า โดยมีธาตุแคลเซียมสูงถึง 421 มิลลิกรัม มากกว่าผักทั่วไปอื่นๆ หลายเท่า จึงนิยมรับประทานมากในคนที่กินมังสวิรัติ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง และรสชาติอร่อย

สารสำคัญที่พบในผักไชยา เป็นสารในกลุ่ม flavonoids และ phenolic acids นอกจากนี้ยังพบสารในกลุ่ม saponins และ alkaloids ด้วย ซึ่งการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าผักไยามีฤทธิ์ต้านจุลชีพหลายชนิด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันในเลือด

สรรพคุณผักไชยา

สำหรับการมช้ประโยชน์จากผักไชยา นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว สามารถใช้บำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • บำรุงร่างกายทำให้ร่างกายกระปรี่กระเปร่าดูอ่อนกว่าวัย เพราะ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • บำรุงโลหิต โดยช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตให้เป็นปกติ โดยลดไขมันเลือด เพิ่มเม็ดเลือดแดง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคโลหิตจาง
  • บำรุงระบบขับถ่ายโดย ช่วยทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ลดการเกิดโรคท้องอืดท้องเฝ้อ บำรุงการทำงานของไต ให้ขับของเหลวออกจากร่างกายได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
  • ลดน้ำหนัก โดยลดน้ำตาลในเลือดเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดการกินโซเดียมมากเกินไปจากผงชูรส ปรับสมดุลการเผาพลาญพลังงานของร่างกาย
  • บำรุงระบบประสาท ลดอาการปวดศีรษะ อาการชาที่ปลายประสาท บำรุงสมองให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • รักษาอาการติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย และลดอาการอักเสบ เช่น อาการติดเชื้อในปอด ปวดตามข้อต่างๆ เส้นเลือดอักเสบ
  • ช่วยทำให้ระบบหายใจดีขึ้น โดยลดอาการไอ บำรุงปอด
  • ผักไชยามีธาตุแคลเซียมสูงมาก จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เพราะ ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ และยังมีวิตามินต่างๆอีกด้วย
  • ทำให้การมองเห็นดีขึ้น เพราะ มีวิตามินสำคัญที่บำรุงสายตา ลดการเสื่อมของประสาทรับภาพ

โทษของผักไชยา

เนื่องจากต้นไชยามีสารกลูโคไซด์ ซึ่งจะปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ ทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ การรับประทานผักไชยาเป็นอาหาร ต้องปรุงให้สุก เพื่อลดความเป็นพิษของไซยาไนด์ และ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมของสารพิษไซยาไนด์ จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ยี่หร่า สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณบำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่ายี่หร่า เครื่องเทศ สมุนไพร สรรพคุณของยี่หร่า

ต้นยี่หร่า ภาษาอังกฤษ เรียก Shrubby basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของยี่หร่า คือ Ocimum gratissimum L. นอกจากนั้นมีชื่อท้องถิ่นภาษาไทยอื่นๆ ได้แก่ หอมป้อม ( ภาษาถิ่นของภาคเหนือ ), กะเพราญวณ ( ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร ), จันทร์หอม เนียม ( ภาษาถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น ( ภาษาถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ), สะหลีดี ( ภาษาถิ่นของกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ), โหระพาช้าง กะเพราควาย ( ภาษาถิ่นของภาคกลาง ), หร่า ( ภาษาถิ่นของภาคใต้ )

ยี่หร่ามีถิ่นกำเนิดในบริเวณแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าเรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศ หรือทำยาหอม คนละประเภทกับที่เราใช้รับประทานใบที่ใช้รับประทาน ยี่หร่ามีชื่อหลากหลายชื่อ เช่น ยี่หร่าจันทร์หอม ยี่หร่าเนียมต้น เนียม กะเพราญวน และ โหระพาช้าง เป็นต้น เรานิยมคุ้นเคยนำมาผัดรับประทานกัน

ชนิดของยี่หร่า

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ยี่หร่าเทียนขาว และ ยี่หร่าจันทรหอม รายละเอียด ดังนี้

  • เทียนขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าชนิดนี้ก็คือผลแห้งที่เรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
  • จันทร์หอม เป็นยี่หร่าแบบกินใบที่เรานิยมนำมาผัดรับประทานกัน ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงยี่หร่าชนิดนี้กันครับ

ลักษณะของต้นยี่หร่า 

ต้นยี่หร่า เป็นพืชล้มลุก ชอบความชื้นปานกลาง ในสภาพกลางแจ้งและแสงเข้าถึง ลักษณะของต้นยี่หร่า มีดังนี้

  • ลำต้น เป็นไม้พุ่มมีทรงเตี้ย โดยมีความสูงไม่มากแค่ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอกใน 1 ช่อ
  • ผล เป็นรูปทรงกลมยาวรี มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร สีดำหรือน้ำตาลเข้ม ภายในมีเมล็ดมากมาย อบให้แห้ง ใช้ดับกลิ่นคาว เป็นเครื่องเทศชั้นดี

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 26.8 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

เนื่องจากเป็นพืชที่สะสมแร่ธาตุและวิตามิน การรับประทานยี่หร่า จึงแทบจะไม่ให้พลังงาน แต่จะมีกากใยและวิตามินแร่ธาตุจำนวนมาก ได้แก่ วิตามินบี1-3 วิตามินซีสูง มีธาตุอาหารหลัก คือ แคลเซียมสูง และธาตุอาหารรอง คือ เหล็กและฟอสฟอรัส โดยมีโปรตีนและไขมันอยู่น้อย

สรรพคุณของยี่หร่า

สรรพคุณทางการรักษาโรคของยีหร่า นอกจากจะใช้ยี่หร่าเป็นอาหาร ดับกลิ่น ให้กลิ่นหอม ในอาหารไทยต่างๆแล้ว การรับประทานยี่หร่ายังมีระโยชน์ต่างๆมากมาย ดังนี้

  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ให้ย่อยอาหารได้เป็นปกติ ลดก๊าซในไส้
  • ลดอาการท้องอืดท้องเฝ้อ อาหารไม่ย่อย จุกเสียดแน่นท้อง ลดอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยให้เจริญอาหาร ในผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ใช้เป็นยาบำรุงในผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  • ขับก๊าซในกระเพาะ และลำไส้ได้ดี ลดการจุกเสียดเมื่อรับประทานอาหาร
  • เมื่อเกิดอาการลำไส้หด การบีบตัวของลำไส้ ยี่หร่าสามารถลดอาหารต่างๆเหล่านี้ได้ดี
  • ในใบยี่หร่ามีธาตุอาหารรองต่างๆมากมาย ช่วยบำรุงแร่ธาตุในร่างกาย ให้สมดุล
  • เมื่อมีอาการปวดประจำเดือน จากการหดเกร็งของมดลูก ยี่หร่าสามารถบรรเทาอาการนี้ได้ดี
  • เมื่อเกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงจากการติดเชื้อ สามารถใช้ผลยี่หร่าตากแห้งประมาณ 3-5 กรัม ชงกับน้ำเดือด ประมาณ 1 ลิตร ใช้ดื่มแก้อาการ
  • ผลการวิจัย พบว่า ยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้ง หรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งในระยะต้นๆ ได้ดี
  • มีวิตามินซีสูง บำรุงระบบภูมิคุ้มกัน และลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงระบบกระดูกและฟันได้ดี เมื่อรับประทานเป็นประจำ

ประโยชน์ของยี่หร่า

คนไทยรับประทานยี่หร่ามาช้านาน เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด ทั้งยังเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณบำรุงร่างกายมากมาย มีการนำยี่หร่ามาใช้ประโยชน์ ได้แก่

  • ยี่หร่าถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันยี่หร่า ( Caraway oil ) ใช้แต่งกลิ่นอาหาร สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว สร้างกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศเป็นอย่างมาก
  • เมล็ดยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคต่างๆ จึงมีการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหอมสำหรับถนอนอาหาร ใช้หมักอาหารประเภทเนื้อต่างๆ ให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน โดยเฉพาะการทำเนื้อตากแห้ง ใช้ผสมเครื่องหมักเนื้อก่อนนำไปตาก พบว่านอกจากจะถนอมอาหารได้ดีแล้วยังดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง
  • เมล็ดยี่หร่าแห้งนิยมนำมาทำเครื่องแกง โดยโขลกรวมกับเครื่องแกงต่างๆ เช่น พริกแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน เพิ่มความหอม
  • ใบยี่หร่าใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว นิยมรับประทนกับไส้อั่ว เพิ่มรสชาติและความหอม

ยี่หร่าเป็นเครื่องเทศสำคัญในอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะแกงกะหรี่และมัสมั่น ส่วนอาหารไทยนิยมใช้ใบยี่หร่าในการแต่งกลิ่นอาหาร และ ยังมีน้ำมันระเหย เรียก น้ำมันยี่หร่า ( cumin oil ) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม

ยี่หร่า สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม นำเสนอเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่า

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย