เจตมูลเพลิงแดง สมุนไพร ไม้ประดับดอกสวย รากสามารถนำมาทำยาได้ สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยขับเสมหะ ขับพยาธิ ขับประจำเดือน โทษของเจตมูลเพลิงเป็นอย่างไรเจตมูลเพลิงแดง สมุนไพรไทย สรรพคุณเจตมูลเพลิงแดง

ต้นเจตมูลเพลิงแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Rose-colored leadwort ชื่อวิทยาศาสตร์ของเจตมูลเพลิงแดง คือ Plumbago indica L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเจตมูลเพลิงแดง เช่น ปิดปีแดง ปิดปิวแดง ไฟใต้ดิน ตอชูกวอ ตั้งชู้โว้ คุ้ยวู่ อุบ๊ะกูจ๊ะ จื่อเสี่ยฮวา หงฮวาตัน   เจ็ดหมุนเพลิง เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ไม่ชอบน้ำมาก เจริญได้ดี ในที่แสงแดดรำไร ประโยชน์ของเจตมูลเพลิงแดง เช่น เปลือกใช้เป็นยาฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู ยอดอ่อนและใบ ใช้รับประทานเป็นผักสดได้ หรือนำไปปรุงเป็นอาหารหลายเมนู เช่น แกงคั่ว แกงเผ็ด แกงเนื้อ เป็นต้น

ลักษณะของต้นเจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง จัดเป็นพืชล้มลุก ประเภทไม้พุ่ม อายุหลายปี พบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป ทุกภาคในไทย สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร ลักษณะของต้นเจตมูลเพลิงแดง มีดังนี้

  • ลำต้นเจตมูลเพลิงแดง ความสูงไม่มาก ไม่เกิน 1.5 เมตร แตกกิ่งค่อนข้างมาก ลำต้นกลมเรียบ ยอดอ่อนสีแดง กิ่งสีเขียวปนแดง
  • ใบเจตมูลเพลิงแดง ใบปลายแหลม รูปไข่ โคนใบมน เป็นใบเดี่ยว กว้าง 3-5 ซม. และ ยาว 8-13 ซม. ก้านใบ และ แกนกลางใบอ่อน มีสีแดง
  • ดอกเจตมูลเพลิงแดง ออกดอกเป็นช่อ ประมาณ 10-15 ดอก สีแดงสด มี 5 กลีบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้ง เกสรตัวผู้ และ รังไข่เพศเมีย สามารถผสมภายในดอกเองได้
  • ผลเจตมูลเพลิงแดง เป็นฝักกลม ผลมีรูปทรงรียาว มีขนไม่ยาวมาก ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกออกตามร่อง

สารสำคัญของเจตมูลเพลิงแดง

สำหรับการศีกษาสารสำคัญต่างๆในเจตมูลเพลิงแดง ซึ่งมีฤทธิ์ทางยา ช่วยแก้อาการผิดปกติ และ รักษาโรคต่างๆ พบว่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารสกัดทั้งต้นพบ Plumbagin, D-Naphthaquinone
  • สารสกัด และจำแนกเป็นจำพวกแนฟธาควิโนน (Naphthaquinone) ชื่อว่า Plumbagin, 3-chloroplumbagin, α-naphthaquinone มีฤทธิ์ ทางผิวหนัง หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือ เป็นผื่นแดงไหม้ ไม่ควรใช้ เจตมูลเพลิงแดงมากเกินไป
  • สาร Plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านเชื้อมาลาเรีย ต้านโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ต้านความสามารถในการสืบพันธุ์ ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ และ เซลล์มะเร็งทุกชนิด นอกจากนั้น ยังมีฤทธิ์ยับยั้ง การสังเคราะห์ Chitin ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เรื่อง การออกดอกของกล้วยไม้ และ สามารถยับยั้งการเจริญของไส้เดือนฝอย
  • สาร Napthoquinone สามารถช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ ฤทธิ์ต่อต้านยีสต์ และ แบคทีเรีย ยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา

สรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง มีฤทธิ์ตามตำรับยาไทยโบราณ เป็น ยาร้อน มีฤทธิ์ส่งเสริมธาตุไฟ ปรับสมดุล สร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย เพราะ มีสารสำคัญ มีฤทธิ์ทางยา กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ต้านเชื้อโรค และ กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก สรรพคุณทางยาสามารถใช้ได้จาก ราก ทั้งต้น ดอกและใบ สรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง มีดังนี้

  • รากเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ บำรุงกำลัง เป็นยาขับเลือด ช่วยฟอกเลือด บำรุงเลือด ทำให้ร่างกายอบอุ่น รักษาปอดบวม แก้ปวดฟัน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาทางเดิกปัสสาวะอักเสบ รักษากามโรค รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการตกขาว บำรุงสำหรับสตรีหลังคลอด แก้ปวดเมื่อย
  • ใบเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณช่วยขับลม ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร
  • ทั้งต้นเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ช่วยฟอกเลือด แก้ปวดท้อง รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลฝี รักษาแผลหนอง แก้ฟกช้ำ
  • ดอกเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณรักษาโรคตา ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ผลเจตมูลเพลิงแดง สรรพคุณรักษาแผลฝี ถ่ายพยาธิผิวหนัง

ตำรับยาที่เกี่ยวข้องกับเจตมูลเพลิงแดง 

เจตมูลเพลิงแดง เป็นยาร้อน มีฤทธิ์บำรุงธาตุไฟ การนำมาใช้เดี่ยวๆ จะรักษาได้บางโรค บางอาการ เท่านั้น และ ใช้ได้เป็นครั้งคราว การเข้ายากับ สมุนไพร ชนิดอื่น ตามตำรายาโบราณ จะช่วยลดทอน ฤทธิ์ซึ่งกันและกัน สามารถใช้เป็นยาบำรุง ใช้ได้เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน ตำรับยาที่เกี่ยวข้องกับเจตมูลเพลิงแดง ได้แก่

  • ตำรับยาเบญจกูล ประกอบด้วย รากเจตมูลเพลิงแดง รากชะพลู เหง้าขิงแห้ง เถาสะค้าน และผลดีปลี สัดส่วนที่ใช้ คือ ใช้รากเจตมูลเพลิง 16 ส่วน กองวาโยธาตุ ใช้รากเจตมูลเพลิง 8 ส่วน และ กองอากาศธาตุ ใช้รากเจตมูลเพลิง 2 ส่วน สามารถช่วยต้านเซลล์มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม ได้ดี เป็นยาบำรุงช่วยชะลอความแก่ เพราะ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ตำรับยามันทธาตุ ประกอบไปด้วย สมุนไพร หลายชนิด ได้แก่ กระเทียม การบูร กานพลู โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐสอ โกฐหัวบัว จันทร์แดง จันทร์เทศ ดีปลี เทียนขาว เทียนดำ เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน รากช้าพลู รากเจตมูลเพลิงแดง รากไคร้เครือ เถาสะค้าน ลูกจันทร์ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน พริกไทยล่อน หนักอย่างละ 1 ส่วน ขิง และลูกเบญกานี หนักอย่างละ 3 ส่วน ( ใช้ส่วนราก )
  • ตำรับยาธรณีสัณฑะฆาต เป็น ยาสรรพคุณคลายเส้น ประกอบไปด้วยสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ กานพลู โกฐกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ำเต้า ขิง ชะเอมเทศ ลูกกระวาน ลูกเร่ว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนขาว เทียนดำ รากเจตมูลเพลิงแดง หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง หัวดองดึง หนักอย่างละ 1 ส่วน ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักอย่างละละ 2 ส่วน, รงทอง ( ประสะแล้ว ) หนัก 4 ส่วน, การบูร เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงคุ์ หนักอย่างละ 6 ส่วน, ยาดำ หนัก 20 ส่วน และพริกไทยล่อน หนัก 96 ส่วน ( ใช้ส่วนราก )
  • ตำรับยาหอมนวโกฐ และ ยาประสะกานพลู เจตมูลเพลิงแดง เป็น ส่วนประกอบสำคัญ ช่วยรักษา กลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต หรือ ยาแก้ลม
  • ยาหอมอินทจักร์ แก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้ ตำรับยาแก้โรคเหงื่อออกมาก ยาสมุนไพรแก้โรควิงเวียนหน้ามืดตาลาย ตำรับยาขนานใหญ่ แก้โรคลมอัมพาต ยาสมุนไพรแก้โรคลมต่าง ๆ ยาแก้โรคประสาท ยาสมุนไพรแก้โรคกระเพาะ ยาแก้ธาตุทั้งสี่แปรปรวน

โทษของเจตมูลเพลิงแดง

ถึงแม้เจตมูลเพลิงแดงจะมีสรรพคุณและประโยชน์มากมาย ที่ใช้ในการนำมาทำยาตามตำราแพทย์แผนไทย แต่หากใช้อย่างไม่ถูกต้องในปริมาณที่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดโทษได้ โทษของเจตมูลเพลิง มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่มีครรภ์ ไม่ควรห้ามรับประทานยาจาเจตมูลเพลิงแดง เนื่องจากเจตมูลเพลิงแดงมีสรรพคุณในการขับเลือด ซึ่งอาจเกิดการกระตุ้นมดลูก เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้
  • เนื่องจากรากของเจตมูลเพลิงแดงมีน้ำยาง มีฤทธิ์ทำลายเยื่ออ่อน เมื่อถูกผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังไหม้ และ พองได้ จึงเป็นที่มาของชื่อ เจตมูลเพลิงแดง หากต้องการใช้ราก จะต้องสวมถุงมือทุกครั้ง
  • การรับประทานเจตมูลเพลิงแดง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร และ อาจเป็นพิษได้
  • ยางจากรากเจตมูลเพลิงแดง หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคือง ไหม้พองที่ผิวได้

เจตมูลเพลิงแดง สมุนไพร ไม้ประดับดอกสวย รากสามารถนำมาทำยาได้ สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยขับเสมหะ ขับพยาธิ ขับประจำเดือน โทษของเจตมูลเพลิงแดงเป็นอย่างไร

ทุเรียน Durian ผลไม้ยอดนิยม ฉายา ราชาแห่งผลไม้ King of fruit มีกลิ่นเฉพาะตัว มีประโยชน์มากมาย สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้ ทำความรู้จักกับทุเรียนทุเรียน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของทุเรียน

ต้นทุเรียน ภาษาอังกฤษ เรียก Durian ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียน คือ Durio zibethinus L. ที่มาของคำว่า Durian มาจากภาษามาเลย์ คือ duri แปลว่า หนาม  ทุเรียนมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันทุเรียนมีมากกว่า 30 สายพันธุ์ ทุเรียนที่ได้รับความนิยมปลูกกันมาก คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และ ก้านยาว

ประโยชน์ของทุเรียน

นอกจาก ทุเรียน จะเป็น ผลไม้ และ ยาสมุนไพร แล้ว ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย ทั้งการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

  • ใช้เป็นยาลดความอ้วน โดยสามารถลด ระดับไขมัน หรือ คอเลสเตอรอล เพราะทุเรียนมี สารโพลีฟีนอล ( Pholyphenols ) รับประทานแค่ 1 พู ต่อวัน เท่านั้น ห้ามเกินนี้ มิเช่นนั้นจะเป็นโทษมากกว่าประโยชน์
  • ป้องกัน การเสื่อมของอวัยวะ และ การเกิดโรค ต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง เพราะ ทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ อยู่มาก โดยเฉพาะ พันธุ์หมอนทอง ซึ่งมีไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
  • การกินทุเรียนเป็นประจำ ช่วยการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะ มีเส้นใยอยู่เยอะ
  • มีการนำมาแปรรูป เป็นขนมหวานหลากหลายชนิด เช่น ขนมลูกกวาดโบราณ, ขนมไหว้พระจันทร์ ( นิยมมาก ), ขนมปังสอดไส้ทุเรียน, ไอศกรีมทุเรียน, มิลก์เชกทุเรียน, เค้กทุเรียน, ข้าวเหนียวทุเรียน, เต็มโพยะก์, ทุเรียนดอง, ทุเรียนแช่อิ่ม, ทุเรียนกวน, ทุเรียนทอด, แยมรสทุเรียน
  • เมล็ดทุเรียนใช้เป็นอาหารรับประทาน ทำให้สุก โดย การคั่ว การทอดด้วยน้ำมันมะพร้าว หรือ การนึ่ง เนื้อใน อร่อย มีลักษณะคล้ายเผือก หรือ มันเทศ มีเหนียวรสชาติดีกว่า
  • ใบอ่อน และ หน่อของทุเรียน ใช้ทำอาหาร ประเภทต้ม เช่นเดียวกับผักใบเขียวได้
  • เปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ทำถ่าน และ การรมควันปลา เพื่อดับกลิ่นคาว
  • มีการใช้เปลือกมาผลิตกระดาษ ซึ่งจะได้กระดาษที่เหนียว เพราะ มีเส้นใยเหนียวนุ่ม และ เหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา
  • ดอกทุเรียนสามารถนำมารับประทานได้
  • เป็นต้นไม้มงคล เพราะ ทุเรียน มีคำว่า เรียน คนที่ปลูกทุเรียนในบ้าน เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จด้านการศึกษา

ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับประวัติของทุเรียนในประเทศไทย มีประวัติการเขียนบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ หัวหน้าคณะราชทูตฝรั่งเศสในสมัยนั้น เขียนถึงเรื่องเกี่ยวกับทุเรียน ว่าเป็น ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาก สำหรับการปลูกทุเรียน มีการปลูกในภาคกลางตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่านำมาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย

สมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี หรอ สุ่น สุนทรเวช ได้กล่าวถึงทุเรียน ว่ามีการนำพันธุ์ทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมากรุงเทพ ปลูกด้วยการใช้การตอนกิ่ง ทำให้เกิดทุเรียนพันธ์ลูกผสมมากมาย สายพันธุ์ทุเรียนมีมากถึง 227 พันธุ์

สายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับสายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย มี 6 กลุ่ม สายพันธ์ ประกอบด้วย กลุ่มสายพันธ์กบ กลุ่มสายพันธ์ลวง กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว กลุ่มสายพันธ์กำปั่น กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย และ กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • กลุ่มสายพันธ์ลวง จำแนกสายพันธุ์ได้ 12 พันธุ์ เช่น ทุเรียนลวงทอง ทุเรียนชะนี ทุเรียนสายหยุด ทุเรียนชะนีก้านยาว เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์กำปั่น จำแนกสายพันธุ์ได้ 13 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกำปั่นเหลือง ทุเรียนกำปั่นแดง ทุเรียนปิ่นทอง ทุเรียนหมอนทอง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์กบ จำแนกสายพันธุ์ได้ 46 สายพันธุ์ เช่น ทุเรียนกบตาดำ ทุเรียนกบทองคำ ทุเรียนกบวัดเพลง ทุเรียนกบก้านยาว
  • กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่ลักษณะสายพันธุ์ไม่แน่ชัด มี 83 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกะเทยเนื้อขาว ทุเรียนกะเทยเนื้อแดง ทุเรียนกะเทยเนื้อเหลือง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว จำแนกสายพันธุ์ได้ 8 พันธุ์ เช่น ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนก้านยาววัดสัก ทุเรียนก้านยาวพวง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย จำแนกสายพันธุ์ได้ 14 พันธุ์ เช่น ทุเรียนทองย้อยเดิม ทุเรียนทองย้อยฉัตร ทุเรียนทองใหม่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นทุเรียน 

ต้นทุเรียน เป็น ไม้ยืนต้นอายุยืนยาวถึง 80- 150 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง และ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทุเรียน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นทุเรียน ตั้งตรง สูงใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม หยาบ ลอกเปลือกได้ มีรากแก้ว
  • ใบทุเรียน เป็นใบเลี้ยงคู่ ใบสีเขียว เป็นใบเดี่ยวกระจายอยู่ทั่วตามกิ่งของทุเรียน ปลายใบใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบ ท้องใบเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกทุเรียน ดอกทุเรียน เป็นช่อเจริญออกจากกิ่งหรือลำต้น ใน 1 ช่อ มีดอก 1-45 ดอก เป็น ดอกสมบูรณ์เพศ
  • ผลทุเรียน ทุเรียน เป็น ผลไม้ ที่มีเนื้อหุ้มเมล็ดแบบ aril โดย ที่เปลือกรอบผลมีหนามคมล้อมรอบ แต่ละผลมี 5 พู
  • เมล็ดทุเรียน รูปทรงยาวรี ปกติจะมี สีน้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลแดง

การปลูกทุเรียน

ต้นพันธุ์ นิยมใช้พันธุ์การค้า ที่มีจำหน่ายตามโรงเรือนเพาะชำทั่วไป ดินที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง  สูงจากระดับน้ำทะเล 0-650 เมตร ความลาดเอียง 1-3%  มีการระบายน้ำดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร และมีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6.5 สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม  อากาศร้อนชื้น ฝนกระจายตัวดี ปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,600-3,000 มิลลิเมตร/ปี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และ ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 30% การให้น้ำ มีเพียงพอในการผลิตทุเรียนตลอดปี ประมาณ 600-800 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ คือ 6.0-7.5  ในน้ำมีสารละลายเกลือไม่มากกว่า 1,400 มิลลิโมล

สรรพคุณของทุเรียน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากทุเรียนด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ เปลือกผลทุเรียน และ เนื้อผลทุเรียน สรรพคุณของทุเรียน มีดังนี้

  • รากทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ และ แก้ท้องร่วง
  • เนื้อผลทุเรียน สรรพคุณช่วยรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ
  • เปลือกผลทุเรียน สรรพคุณใช้รักษาตานซาง รักษาโรคคางทูม ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาฝี รักษาแผลพุพอง ช่วยสมานแผล ใช้ไล่ยุงและแมลง
  • ใบทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ดีซ่าน ช่วยรักษาแผลหนอง

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน

สำหรับการรับประทานทุเรียนนิยมรับประทานเนื้อผลทุเรียน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลทุเรียน ปริมาณ 100 กรัม จะได้รับพลังงาน 174 กิโลแคลอรี ซึ่งมาจาก คาร์โบเดรต ไขมัน และ โปรตีน นอกจากนั้น ยังมีวิตามิน ได้แก่ วิตามินA  วิตามินB1 2 3 5 6 และ 9 วิตามินC  ธาตุอาหารต่างๆ ได้แก่ Ca Fe Mg Mn P K Na Zn การบริโภคทุเรียนมากเกินไป อาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกาย มากกว่าเกิดประโยชน์ ควรรับประทานแต่พอดี วันละ 1 พู จะเป็นปริมาณที่เหมาะสมที่สุด

โทษของทุเรียน

สำหรับการกินทุเรียน ถึงแม้ว่ากลิ่นจะหอม รสจะหวาน แต่หากรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดโทษได้ ข้อควรรู้ในการกินทุเรียน มีดังนี้

  • เนื้อทุเรียน ทีน้ำตาลในปริมาณมาก สำหรับผู้ป่วยที่ควรระวังในการกินทุเรียน คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ โรคไขมันในเส้นสูง
  • เนื้อทุเรียน ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีแคลอรี่สูง โดยทุเรียน 4 เม็ด ให้พลังงานมากถึง 400 กิโลแคลอรี่ เท่ากับการดื่มน้ำอัดลมถึง 2 กระป๋อง
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินทุเรียน เพราะ ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น เป็นอันตราต่อลูกในท้อง
  • การกินทุเรียน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มผลมแอลกอฮอล์ เป็นอันตราย ทำให้ร่างกายร้อนเกินไป ทำให้เสียชีวิตได้

ทุเรียน ( Durian ) ผลไม้ยอดนิยม ฉายา ราชาแห่งผลไม้ ( King of fruit ) รชาติอร่อยมีกลิ่นเฉพาะตัว มีประโยชน์มากมาย สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้ ทำความรู้จักกับทุเรียน

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย