จิงจูฉ่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ปลูกง่าย ไม่ชอบแดด สรรพคุณของจิงจุฉ่าย เช่น บำรุงเลือด ช่วยขับถ่าย ช่วยขับลม นิยมรับประทานเป็นอาหาร ดับกลิ่นคาวเครื่องในได้ดี จิงจูฉ่าย สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของจิงจูฉ่าย

ต้นจิงจูฉ่าย ( White mugwort ) สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ของจิงจูฉ่าย คือ Artemisia lactiflora และ ชื่อเรียกอื่นๆของจิงจูฉ่าย เช่น โกศจุฬาลัมพา และ เซเลอรี เป็น ต้นจิงจูฉ่าย เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศจีนทางตะวันตก เป็นผักใบเขียวคล้ายต้นขึ้นฉ่าย มีสรรพคุณทางยาเป็นยาเย็น สมุนไพรธาตุหยิน ใบและลำต้นมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในเกาเหลาเลือดหมู

ประโยชน์ของจิงจูฉ่าย

ต้นจิงจูฉ่ายมีการศึกษาวิจัยสรรพคุณทางยาของจิงจูฉ่าย พบว่ามีประโยชน์รักษาไข้ บำรุงปอด ฟอกเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี ปรับสมดุลความดันโลหิต ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ การกินจิงจูฉ่ายเพื่อเป็นยานั้นควรกินในปริมาณที่เหมาะสม การปลูกจิงจูฉ่ายง่าย ไม่มีแมลงศัตรูพืช และ ใบมีกลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหย แมลงศตรูพืชไม่ชอบ

ลักษณะของต้นจิงจูฉ่าย

ต้นจิงจูฉ่าย เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มขนาดเล็ก สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ดพันธ์ หรือ การแยกต้นมาปลูก ชอบแดดรำไร ชอบดินที่มีความชื้น ลักษณะของต้นจิงจูฉ่าย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นจิงจูฉ่าย ลักษณะลำต้นกลม อ่อน มีน้ำมาก มีความสูงประมาณ 1 ฟุต แตกกิ่งก้านแขนง ค่อนข้างหนาแน่นเป็นกอ
  • ใบจิงจูฉ่าย ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปทรงรี ขอบเป็นแฉก 5 แฉก ใบมีสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย

คุณค่าทางโภชนาการของจิงจูฉ่าย

สำหรับการรับประทานจิงจูฉ่ายเป็นอาหารสามารถรับประทานทั้งต้น โดยนักโภชนาการของใบจิงจูฉ่าย พบว่าจิงจูฉ่ายขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมางถึง 392 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร แคลเซียม ะาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินซี และ วิตามินอี

สรรพคุณจิงจูฉ่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จิงจูฉ่ายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จากทั้งต้น การรับประทานต้นจิงจูฉ่ายนิยมรับประทานทั้งก้านและใบในพร้อมๆกัน ซึ่งสรรพคุณของจิงจูฉ่าย มีดังนี้

  • บำรุงเลือด โดยเฉพาะ สตรีที่กำลังมีประจำเดือน ลดการเสียเลือด ทำให้ผลิตเลือดทดแทนการสูญเสียได้ดี
  • ปรับสมดุลย์ความดันเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร และ ลำไส้อักเสบได้ดี
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคเกี่ยวกับปอด โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ปอด หรือ ปอดบวม ในฤดูหนาวนั่นเอง
  • บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากการได้รับพิษ แก้ผื่น แก้ตุ่มคัน
  • ช่วยลดไข้ รักษาโรคมาลาเรีย แก้พิษที่เกิดจากการติดเชื้อไข้มาลาเรีย

โทษของจิงจูฉ่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์ของจิงจูฉ่ายไม่มีโทษจากการรับประทานจิงจูฉ่ายอย่างชัดเจน แต่การรับประทานเพื่อเป็นยาหรืออาหาร ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งโทษของจิงจูฉ่าย มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยูในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรทาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแท้งลูกได้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับร่างกายเย็น ไม่ควรรับประทานจิงจูฉ่าย เนื่องจากจิงจูฉ่ายเป็นยาเย็น สรรพคุณทำให้ร่างกายเย็น หากผู้ป่วยตัวเย็นรับประทานอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

หนุมานประสานกาย สมุนไพร ไม้ประดับ กันยุงได้ สรรพคุณและประโยชน์ของหนุมานประสานกาย เช่น ขับพิษ ห้ามเลือด รักษาแผล โทษของหนุมานประสานกายเป็นอย่างไรหนุมานประสานกาย สมุนไพร ไม้กันยุง สรรพคุณของหนุมานประสานกาย

ต้นหนุมานประสายกาย ภาษาอังกฤษ คือ Edible-stemed Vine ชื่อวิทยาศาสตร์ของหนุมานประสานกาย คือ Schefflera leucantha R.Vig. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นหนุมานประสานกาย เช่น ว่านอ้อยช้าง ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง ต้นหนุมานประสานกาย พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกเป็น สมุนไพร ประจำบ้าน และ กันยุง มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย สามารถเจริญได้ดีพื้นที่ร้อนชื้น ทนแดด สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นหนุมานประสานกาย เช่น ช่วยรักษาแผลสด แก้ไอ รักษาโรคภูมิแพ้ รักษาวัณโรค แก้ร้อนใน ขับเสมหะ แก้อาการตกเลือด รักษาอาการเส้นเลือดฝอยในสมองแตก เป็นต้น

การใช้ประโยชน์ของหนุมานประสานกาย

นอกจากจะใช้ หนุมานประสานกาย เป็น ยาสมุนไพร ยังสามารถ ใช้ประโยชน์อื่นๆอีก ได้แก่

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะ เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก ดอกมีความความสวยงาม ผลเมื่อสุกสีแดงสด สวย สามารถปลูกในกระถางได้ ไม่ต้องกานพื้นที่มาก ทนแดดได้ดี สามารถปลูกกลางแจ้งได้
  • ปลูกเพื่อป้องกันยุง สามารถนำใบของ หนุมานประสานกาย มาทำเป็นยากันยุงได้ โดย ตากใบให้แห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับน้ำมะพร้าว สัดส่วน 1 ต่อ 1 ต้มด้วยไฟแรง ประมาณ 5 นาที กรองเอากากออก ทิ้งไวจนเย็น สามรถนำมาทาเป็นยากันยุงได้ดี ออกฤทธิ์นานหลายชั่วโมง เหมาะสำหรับ ผู้ที่แพ้ยากันยุงที่ทำมาจากสารเคมี ใช้ทดแทนกันได้ดี
  • ใช้เป็น สมุนไพรยาสามัญประจำบ้าน แก้เจ็บคอ แก้ไอ เด็ดใบเคี้ยว สะดวก ไม่ต้องผ่านการต้ม

ลักษณะของต้นหนุมานประสานกาย 

หนุมานประสานกาย สามารถขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นไม้พุ่ม ลักษณะของต้นหนุมานประสานกาย มีดังนี้

  • ลำต้น ความสูงไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นกลม เรียบ ไม่มีหนาม
  • ใบ ใบกระจายแบบนิ้วมือ มีประมาณ 8 ใบ รูปยาวรี ปลายแหลม แต่ละใบ มีความกว้างประมาณ 1.5-3 ซม. และ มีความยาวประมาณ 5-8 ซม. ผิวใบเรียบมัน
  • ดอก มีเป็นช่อ แต่ละดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว เหลืองนวล ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว
  • ผล ผลรูปทรงกลม ขนาดเล็ก มีน้ำมาก มีความกว้างประมาณ 4-5 มม. และ มีความยาวประมาณ 5-6 มม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สุก จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด

ตัวยาสำคัญในหนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย มีตัวยา ที่ถูกนำมาวิเคราะห์ทางเคมี และ แยกสารสำคัญออกมาแล้ว สารประกอบเชิงซ้อน ได้แก่ Butulinic acid, D-glucose, D-Xylose, Oleic acid, L-rhamnose และ สารซาโปนิน ( Saponins ) ซึ่งเป็นสารที่สกัดได้จากใบหนุมานประสานกาย มีฤทธิ์ขยายหลอดลมแต่ไปกดหัวใจ เป็นสารต้านทำหน้าที่ลดการหลั่ง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และ เร่งการหดตัวของบาดแผล ทำให้แผลปิดสนิทและหายเร็วขึ้น

สรรพคุณของหนุมานประสานกาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหนุมานกาย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค  สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้น และ ใบ ซึ่งสรรพคุณของต้นหนุมานประสานกาย มีดังนี้

  • ทั้งต้นของหนุมานประสานกาย สรรพคุณช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • ใบหนุมานประสานกาย สรรพคุณรักษาหืดหอบ รักษาวัณโรค แก้ไอ รักษาไข้หวัด แก้เจ็บคอ รักษาแผลในช่องปาก ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับพิษ ช่วยแก้อาการตกเลือดเนื่องจากการคลอดบุตรของสตรี ช่วยสมานแผล ช่วยห้ามเลือด แก้อาการอักเสบบวม ช่วยแก้ช้ำใน

โทษของหนุมานประสานกาย  

หนุมานประสานกายไม่ได้มีแต่คุณประโยชน์ แต่ยังมีโทษด้วย หากไม่ระมัดระวังการใช้ประโยชน์ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหนุมานประสานกาย เพราะ อาจะส่งผลถึงทารกในครรภ์ได้
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรรับประทานยาที่มีส่วนผสมของหนุมานประสานกาย เนื่องจากเป็นการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ อาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนเป็นอันตรายได้
  • ผู้ที่มีไข้สูง เพราะ อาจจะทำให้ไข้ไม่ลด เพราะ ไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป
  • หลังออกกำลังกาย ไม่ควรกินหนุมานประสานกาย เพราะ จะทำให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป
  • ไม่ควรใช้ หนุมานประสานกาย ตัวเดียว เป็นยาเดี่ยว ติดต่อกันนานเกินไป เมื่ออาการหายดี ควรหยุดใช้ หากต้องการใช้เป็นยาดื่มบำรุง จะต้องใช้ตามตำรับ ยาสมุนไพรไทย เพราะ จะได้มีฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดอื่น มาลดทอนฤทธิ์ซึ่งกันและกัน
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย