หญ้าปักกิ่ง หญ้าเทวดา สมุนไพร สรรพคุณทางยาหลากหลาย ช่วยป้องกันมะเร็ง เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค โทษของหญ้าปักกิ่งมีอะไรบ้างหญ้าปักกิ่ง หญ้าเทวดา สมุนไพร สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง

ต้นหญ้าปักกิ่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Angel Grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าปักกิ่ง คือ Murdannia loriformis (Hassk.) R.S.Rao & Kammathy และ Murdannia bracteata (C.B.Clarke) J.K.Morton ex D.Y.Hong สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของหญ้าปักกิ่ง เช่น หญ้าเทวดา ต้นอายุยืน เล่งจือเช่า งู้แอะเช่า และ หนิวเอ้อเฉ่า เป็นต้น เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน พบได้มากในประเทศจีน ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม โดยมักพบตามดินทรายริมลำธาร สำหรับประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ และ พื้นที่ริมแม่น้ำที่เป็นดินทราย

ประโยชน์ของหญ้าปักกิ่ง สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ นิยมรับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ รวมถึงปลูกเป็นไม้ประดับเป็นพืชคลุมดินใต้ต้นไม้ใหญ่ ด้านการรักษาโรคสามารถใช้เป็นยาร่วมในการรักษามะเร็ง ยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็ง ปรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และ สามารถช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษาแผนปัจจุบัน เช่น ผลจากการใช้เคมีบำบัด การใช้รังสีเทคนิค หญ้าปักกิ่งสามารถพัฒนาเป็นยาเม็ด ลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัดหรือเคมีบำบัดของผู้ป่วยมะเร็ง

หญ้าปักกิ่งในประเทศไทย

สำหรับหญ้าปักกิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ด้านจากการรักษาโรคในแพทย์แผนปัจจุบัน มีการศึกษาวิจัยหญ้าปักกิ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล องค์การเภสัชกรรมประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น แต่ปริมาณของหญ้าปักกิ่งมีน้อยยังต้องนำเข้าจากประเทศจีน

ลักษณะของต้นหญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่ง เป็นพืชประเภทไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า อายุยืนนานหลายปี ชอบดินปนทราย และ ต้องการแสงแดดแบบรำไรไม่มาก ขยายพันธุ์ โดยการปักชำ และ การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นหญ้าปักกิ่ง มีดังนี้

  • ลำต้น ความสูงของต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีช่อดอกจะยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม
  • ใบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายใบไผ่ กาบใบเป็นขนครุย สีใบสีเขียวอมเหลือง ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
  • ดอก ลักษณะดอกเป็นช่อเล็ก ๆ โดยจะออกที่ปลายยอด มีประมาณ 1-5 ช่อ กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี สีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วงอ่อน สีม่วงน้ำเงิน
  • ผล ลักษณะเป็นผลแห้งและแตกได้ ทำให้เมล็ดกระจาย เติบโตไปทั่วบริเวณข้างเคียง

สารสำคัญในหญ้าปักกิ่ง  ในหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ทางยา มากมาย เช่น สาร Glycosphingolipid (G1b) ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า 1B-O-D-glucopyranosy1-2-(2′-hydroy-6′-ene-cosamide)-sphingosine (G1b) สาร Cytoxic ซึ่งเป็นสารรักษามะเร็ง ไกลโคสฟิงโกไลพิดส์ (Glycosphingolipid) ที่มีชื่อว่า G1b สารชนิดนี้อาจมีฤทธิ์ปรับระบบภูมิคุ้มกันได้  และ สารสกัดหญ้าปักกิ่งยังมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase ทำลายสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าปักกิ่งในการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้น ดอก และ ใบ สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง มีดังนี้

  • ทั้งต้นหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ปรับสมดุลย์ของร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยลออาการอ่อนเพลีย ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไข้ แก้ไอ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ปวดท้อง รักษาฝี รักษาแผลหนอง รักษาแผลเรื้อรัง แก้ปวด แก้บวม แก้อักเสบ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  • ใบหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณใช้ป้องกันสารพัดโรค สามารถรับประทานหญ้าปักกิ่งสดๆได้
  • ดอกหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงไต รักษาอาการไตอักเสบ

โทษของหญ้าปักกิ่ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าปักกิ่ง จำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีในปริมาณที่เหมาะสม และ ได้รับคำแนะนำในการใช้จากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีข้อควรคำนึง ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไป เนื่องจากหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์เป็นยาเย็น หากรับประทานต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ แขนขาชา กล้ามเนื้อลีบจนไม่อาจเดินได้
  • ใบของหญ้าปักกิ่ง เมื่อสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแพ้ มีอาการคันได้ เพราะ เป็นขนใบที่มีสาร แคลเซียมออกซาเลต และพวกเกลือโซเดียม บางคนอาจจะเกิดอาการแพ้ ผู้ที่สัมพัสแล้วเกิดอาการแพ้ต่างๆ ให้งดใช้ หญ้าปักกิ่ง ทันที

ต้นเสลดพังพอน สมุนไพร นิยมปลูกเป็นไม้ระดับ เชื่อว่าป้องกันสัตว์มีพิษได้ สรรพคุณถอนพิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด รักษาแผลไฟไหม้ ยอดอ่อนนำมารับประทานได้เสลดพังพอน สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของเสลดพังพอน

ต้นเสลดพังพอน ภาษาอังกฤษ เรียก Snake Plant ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสลดพังพอน คือ Barleria lupulina Lindl.  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเสลดพังพอน เช่น ลิ้นมังกร ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องคำ เสลดพังพอนตัวเมีย พญาปล้องดำ พญาปล้องทอง  ลิ้นงูเห่า พญายอ โพะโซ่จาง ชิงเจี้ยน หนิ่วซิ้วฮวา เป็นต้น

ต้นเสลดพังพอน สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เสลดพังพอนเป็นพืชที่นิยมมาปลูกไว้ประดับบ้าน เชื่อว่าสามารถป้องกันสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ได้

ประโยชน์ของเสลดพังพอน ยอดอ่อนและใบอ่อน สามารถรับประทานได้ โดยนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงแค นอกจากนี้ สารสกัดจากเสลดพังพอนสามารถนำมาสัดทำครีมและโลชั่นในการบำรุงผิวและรักษาโรค เช่น รักษาโรคเริม โรคงูสวัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นเสลดพังพอน

ต้นเสลดพังพอน เป็นพืชประเภทไม้พุ่ม สามารถขยายพันธุ์ได้โดย การปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธ์ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมแบบป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นเสลดพังพอน มีดังนี้

  • ลำต้นเสลดพังพอน มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร ลักษณะลำต้นกลม ไม่ใหญ่ เปลือกมีสีเขียวอมน้ำตาล โคนก้านใบมีหนามแหลมคมและยาวสีน้ำตาลข้อละ 2 คู่
  • ใบเสลดพังพอน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปรียาวปลายแหลม ผิวใบเกลี้ยง ยาวประมาณ 5-7 ซม. กว้างประมาณ 2 ซม.
  • ดอกเสลดพังพอน ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกที่ปลายยอด ดอกเป็นรูปกลมรี กลีบดอกจะเป็นสีเหลือง เรียงซ้อนแผ่ชิดกัน โคนกลีบดอก รวมติดกัน ลักษณะเป็นหลอด
  • ผลเสลดพังพอน ลักษณะของผลเป็นฝัก รูปมนรี ทรงไข่ ภายใน มีเมล็ด 2-4 เมล็ด เมื่อแห้ง จะแยกแตกออกเป็น 2 ซีก

สรรพคุณของเสลดพังพอน

สำหรับการนำเสลดพังพอนมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก เปลือกลำต้น ใบ และ ทั้งต้น โดย สรรพคุณของเสลดพังพอน มีดังนี้

  • รากเสลดพังพอน สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปรกติ ช่วยสมานแผล
  • เปลือกลำต้นเสลดพังพอน สรรพคุณบำรุงกำลัง
  • ใบเสลดพังพอน สรรพคุณลดไข้ แก้เจ็บคอ รักษาคางทูม แก้ปวดท้อง รักษาแผลอักเสบ รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลหนอง แก้อาการคัน รักษาสิว รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาแผลร้อนใน
  • ทั้งต้นเสลดพังพอน สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ปวดท้อง รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด เคล็ดขัดยอก

สารสำคัญในเสลดพังพอน

ใน เสลดพังพอน มีสารสำคัญมากมาย มีฤทธิ์ ในการต้านพิษต่างๆ ได้ดี ได้แก่

  • สารประกอบ Acetylbarlerin พบใน ใบเสลดพังพอน มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ
  • สารประกอบ Barlerin พบใน ใบเสลดพังพอน มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ
  • สารประกอบ Bataine พบใน ใบเสลดพังพอน มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ
  • สารประกอบ Scutellarein-7-Rhamnosyl glucoside พบใน ใบเสลดพังพอน มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ
  • สารประกอบ Shanzhiside methyl ester พบใน ใบเสลดพังพอน มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ
  •  iridoid glycosides พบใน ก้านเสลดพังพอน มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ
  • สารพวก iridoid มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสได้ เช่น ไวรัสงูสวัด โรคเริม หรือ พิษจาก แมลงสัตว์กัดต่อย
  • สารสำคัญ ที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • สารสำคัญ ที่มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวด

โทษของเสลดพังพอน

สำหรับเสลดพังพอน เป็นพืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค แต่ต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยโทษของเสลดพังพอน มีดังนี้

  • สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ สมุนไพร ชนิดนี้ ทั้งการรับประทาน ดื่ม ทา พอก
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถใช้เป็นครั้งคราวได้ เมื่อหายดีแล้ว ให้หยุดใช้ หากต้องการใช้ติดต่อกันนานๆ ควรดูส่วนผสมตาม ตำรับยาสมุนไพรไทย ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรชนิดอื่น ที่ลดทอนพิษซึ่งกันและกัน จึงสามารถใช้ดื่มบำรุงติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ได้

ต้นเสลดพังพอน สมุนไพร นิยมปลูกเป็นไม้ระดับ เชื่อว่าป้องกันสัตว์มีพิษได้ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง สรรพคุณ เช่น ถอนพิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด รักษาแผลไฟไหม้ ยอดอ่อนนำมารับประทานได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย