มะละกอ พืชท้องถิ่น สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะละกอเป็นอาหาร สรรพคุณของมะละกอ เช่น ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย บำรุงผิวพรรณ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของมะละกอมีอะไรบ้างมะละกอ สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของมะละกอ

ต้นมะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L. สำหรับชื่อเรียกอื่ืนๆของมะละกอ เช่น ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ และ บักหุ่ง เป็นต้น ต้นมะละกอ มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอล ปัจจุบันมะละกอมีหลายสายพันธ์ เช่น มะละกอแขกดำ มะละกอแขกดำดำเนิน มะละกอแขกหลอด มะละกอปากช่อง มะละกอแขกนวล มะละกอสายน้ำผึ้ง มะละกอจำปาดะ มะละกอโซโล มะละกอฮอลแลนด์ เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอ

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยหลักๆนำผลมะละกอมาทำเป็นอาหารรับประทาน รับประทานผลมะละกอดิบ เช่น แกงส้ม ส้มตำ ส่วนผลมะละกอสุกใช้เป็นอาหารยามว่าง รับประทานเป็นผลไม้ รสหวานอร่อย ผลมะละกอช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง นอกจากนั้นผลมะละกอนำมาแปรรูปอาหารในรูปแบบสินค้าอุตสาหกรรม เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น ยางมะละกอ มีเอนไซม์ชื่อPapain ซึ่งมีคุณสมบัติย่อยโปรตีนได้ และที่สำคัญ มะละกอนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ มาร์กหน้า เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะละกอ

ต้นมะละกอ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น สามารถปลูกได้ในดินทุกสภาพดิน ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะละกอ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นมะละกอ ลำต้นมะละกอตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีแก่นลำต้น ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบมะละกอ ลักษณะใบเดี่ยว ก้านใบยาว ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ใบมะละกอมีขนอ่อนๆ ผิวใบสากมือ สีเขียว ก้านใบของมะละกอ มีลักษณะกลม บวมน้ำ ออกมาจากข้อของลำต้น
  • ดอกมะละกอ ลักษณะดอกเป็นช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอม ออกดอกออกตามซอกใบ
  • ผลมะละกอ ลักษณะเรียวยาว ปลายผลแหลม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลดิบมะละกอเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมะละกอเป็นสีส้มเมล็ดของผลดิบสีขาว เมล็ดของผลสุกมีสีดำ

คุณค่าทางอาหารของมะละกอ

สำหรับการรับประทานมะละกอเป็นอาหาร นิยมรับประทานทั้งผลมะละกอดิบและผลมะละกอสุก นักโภชนาการได้ศุกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะละกอดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.023 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.357 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.191 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม

ยางมะละกอ มีเอนไซม์โปรตีน 4 ชนิด คือ papain , chymopapain A และ B และ papaya peptidase A  โดย เอนไซม์ chymopapain เป็นเอนไซม์ที่พบมากที่สุดในยางมะละกอ ทนความร้อนและทนต่อสภาพความเป็นกรดได้ดี ทำให้เนื้อมีความนุ่ม เอนไซม์ในยางมะละกอส่วนมากพบที่ใบก้านและผลดิบ

สรรพคุณของมะละกอ

สำหรับมะละกอนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก ผลมะละกอ ยางมะระกอ และ รากมะละกอ สรรพคุณของมะละกอ มีดังนี้

  • ผลมะละกอดิบ สรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน บำรุงน้ำนม ช่วยขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ช่วยขับพยาธิ
  • ผลมะละกอสุก สรรพคุณแก้ท้องผูก ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ยางมะละกอ สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับถ่ายพยาธิ
  • รากของมะละกอ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว

โทษของมะละกอ

สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน มีความเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้ สตรีมีครรภ์ไม่ควรระวังการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของยางมะละกอ
  • ผลมะละกอสุกมีความหวาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน และ สารลาเท็กซ์ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ใยบางคน

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร ใช้รักษาโรค บำรุงกำลัง บำรุงเลือด เถาม้ากระทืบโรงตากแห้งนำมาดองเหล้า ดื่มเป็นยารักษาโรค โทษของม้ากระทืบโรงเป็นอย่างไรม้ากระทืบโรง สมุนไพร สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

ต้นม้ากระทืบโรง สมุนไพรชนิดไม้เถา ม้ากระทืบโรงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm.  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของม้ากระทืบโรง เช่น ม้าทะลายโรง เดื่อเครือ พญานอนหลับ กาโร เป็นต้น ม้ากระทืบโรงมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต นิยมนำมาดองกับเหล้า เถาม้ากระทืบโรงตากแห้ง มีรสเย็น นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายก็ได้เช่นกัน

ต้นม้ากระทืบโรง เป็นไมพุ่มเลื้อย เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ มักเลื้อยเกาะไปตามหลักและเสา มักพบเกาะเลื้อยอยู่ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา

ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง

ต้นม้ากระทืบโรง เป็นไม้เถาที่มีขนาดใหญ่ มักจะเลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่น มักพบเกาะเลื้อยอยู่ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ต้นม้ากระทืบโรงมีน้ำยางมีสีขาว สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ุและการปักชำ ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง มีดังนี้

  • ลำต้นต้นม้ากระทืบโรง เป็นเถาขนาดใหญ่ ความสูงถึง 25 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลักษณะสากๆมีปุ่มคล้ายๆหนาม เนื้อไม้สีขาว มีน้ำยางสีขาว
  • ใบม้ากระทืบโรง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหอก ก้านใบและผิวใบด้านล่างรวมไปถึงฐานรองดอกอ่อนจะมีขนอ่อนๆ
  • ดอกม้ากระทืบโรง ลักษณะดอกเป็นช่อ ลักษณะทรงกลม ดอกออกตามซอกใบ
  • ผลม้ากระทืบโรง ลักษณะกลม เปลือกผลสีเขียว เนื้อผลมีสีแดง

สารสำคัญในม้ากระทืบโรง

การศึกษาสารต่างๆในม้ากระทืบโรง พบว่ามีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่งมีสารสำคัญประกอบด้วย

  • สารกลุ่ม eudesmane sesquiterpene ได้แก่ foveolide A , foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β , 6α-diol, 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol
  • สารกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B
  • สารกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide , ethyl rosmarinate
  • สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin , taraxerol และ betulin
  • สาร foveolide A จากลำต้นแสดงความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้คือ 200 ไมโครโมลาร์

สรรพคุณของม้ากระทืบโรง 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากม้ากระทืบโรง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สมารถใช้ประโยชน์จาก เถา เนื้อไม้ และ ทั้งต้น ซึ่งสรรพคุณของม้ากระทืบโรง มีดังนี้

  • ทั้งต้นของม้ากระทืบโรง สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง แก้ปวดแมื่อย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเลือดเสีย รักษาริดสีดวงทวาร บำรุงธาตุ
  • เถาม้ากระทืบโรง มีรสเย็น สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้ปวดฟัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย แก้ประดงลม รัักษาฮ้อเลือด  แก้ปวดหลังปวดเอว
  • เนื้อไม้ม้ากระทืบโรง สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดหลัง แก้ปวดเอว

โทษของม้ากระทืบโรง

ลำต้นม้ากระทืบโรง มีสาร foveolide A ซึ่งมีความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และ มีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ คือ 200 ไมโครโมลาร์

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย