เงาะ ผลไม้แสนอร่อย มีสรรพคุณทางยา สรรพคุณของเงาะ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการรติดเชื้อ ช่วยขับถ่าย ลดอาการอักเสบ เงาะมีรสหวาน แหล่งปลูกสำคัญอยู่ภาคใต้และภาคคตะวันออก

เงาะ ผลไม้ สมุนไพร

เงาะ ภาษาอังกฤษ เรียก Rambutan ชื่อวิทยาศาสตร์ของเงาะ คือ Nephelium lappaceum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเงาะ เช่น เงาะป่า พรวน กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต ต้นเงาะ มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย จากนั้นนำเข้ามาปลูกในไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 โดยสายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุด คือ เงาะพันธุ์โรงเรียน เงาะพันธุ์สีทอง และ เงาะพันธุ์สีชมพู เป็นต้น

ประโยชน์ของเงาะ สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เงาะกระป๋อง เงาะกวน แยมเงาะ เงาะอบแห้ง นอกจากนั้นแล้วในเงาะมีสารแทนนิน ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ย้อมสีผ้า บำบัดน้ำเสีย ทำปุ๋ย และกาว ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ป้องกันแมลง เงาะสามารถใช้เป็นยายับยั้งเอนไซน์ในกระเพาะอาหาร ทำให้อิ่มเร็วขึ้น ประโยชน์สำหรับการลดน้ำหนัก

ประวัติเงาะโรงเรียน

เงาะโรงเรียน เป็น เงาะ ที่ดีที่สุด ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะ มีรสหวาน เปลือกบาง จึงเป็นที่ชื่นชอบ โดยถือกำเนิดในปี พ.ศ. 2469 ชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค หว่อง นำเมล็ดพันธุ์ เงาะ จากปีนัง มาปลูกในที่ดิน 18 ไร่ จำนวน 4 ต้น พบว่า สองต้น มีรสหวาน เปลือกบาง ต่อมาได้ขายที่ดินให้ กระทรวงศึกษาธิการ และ ได้ตั้ง โรงเรียนนาสาร ในปัจจุบัน ในขณะนั้น นายคำแหง วิชัยดิษฐ์ ได้ย้ายมา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนาสาร และพิจารณาแล้วว่า เงาะต้นนี้เป็นเงาะพันธุ์ดี ควรให้มีการขยายพันธุ์อย่างแพร่หลาย จึงอนุญาตให้คนทั่วไปตอนกิ่งแพร่พันธุ์ได้ จนเป็นที่มาของพันธุ์เงาะโรงเรียนจนถึงทุกวันนี้

สายพันธุ์เงาะ

สำหรับสายพันธ์เงาะที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ เงาะโรงเรียน เงาะสีชมพู และ เงาะสีทอง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เงาะสีทอง ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ขนสีแดงยาวปลายขนเป็นสีเขียว เนื้อเงาะเป็นสีเหลือง เมล็ดแบนสีขาวปนน้ำตาล มีรสหวานและกลิ่นหอม นิยมปลูกในจังหวัดจันทบุรีและตราด
  • เงาะสีชมพู ลักษณะเด่น คือ ผลสุกเปลือกค่อนข้างหนา ขนเป็นสีชมพู สายพันธ์นี้ปลูกมากในเขตภาคตะวันออก
  • เงาะโรงเรียน ลักษณะเด่น คือ ผลกลมรี ขนยาว เปลือกหนา เปลือกสีแดงเข้ม เนื้อเงาะหนา สีขาวนวล รสหวานจัด ปลูกมากในจังหวัดทางภาคใต้

ลักษณะของต้นเงาะ

ต้นเงาะ เป็นไม้ยืนต้น นิยมรัปบระทานผลเงาะ เป็นอาหาร สามารถขยายพัยธ์โดยการทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นเงาะ มีดังนี้

  • ลำต้นเงาะ ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มหนาทึบ กิ่งเปราะและหักง่าย เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้ของต้นเงาะสามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้
  • ใบของเงาะ เป็นใบประกอบ ลักษณะรีรูปไข่ ใบสีเขียว ขึ้นตามกิ่งก้านและปลายกิ่ง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
  • ดอกของเงาะ ลักษณะเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเขียวอ่อน และ สีน้ำตาลอมเขียว มีขนสั้นๆปกคลุม
  • ผลเงาะ ลักษณะผลกลมรี เปลือกผลหนา มีขนหนา ภายในผลมีเนื้อผล และ เมล็ดภายในผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่จะมีสีแดง เนื้อผลมีรสหวาน เมล็ดเงาะลักษณะแบนรี

คุณค่าทางอาหารของเงาะ

การบริโภคเงาะ 100 กรัม จะได้พลังงาน 82 กิโลแคลอรี โดยมาจาก คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ ไขมัน โปรตีน วิตามินต่างๆ ได้แก่ วิตามินบี 1 2 3 6 และ 9 วิตามินซี ธาตุอาหารต่างๆ เช่น Fe Ca Mg Mn P K Zn

การปลูกเงาะ 

เงาะ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 25 – 30° C ความชื้นสัมพัทธ์ คือ 75 – 85 % ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน คือ ประมาณ 5.5 – 6.5 และ แหล่งปลูก ต้องที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี เงาะ เป็น ไม้ผล ที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดิน ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง การปลูก ควรใช้ประมาณ 25 – 40 ต้นต่อไร ระยะปลูก ทั่วไป 6 – 8 X 6 – 8 เมตร หรือ ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร

สรรพคุณของเงาะ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเลาะด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผล เปลือกของผล โดยสรรพคุณของเงาะ มีดังนี้

  • สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ผู้ที่รับประทานเงาะ จะพบว่ามีผิวพรรณดี ดูสดใส อ่อนกว่าวัย เปล่งปลั่ง
  • เมื่อพบอาการร้อนใน มีแผลในปาก การรับประทานเงาะ สามารถช่วยลดอการอักเสบได้
  • เมื่อเกิดอาการท้องร่วง การรับประทานเงาะ ช่วยบรรเทาอาการอ่อนพลีย จากการสูญเสียน้ำของร่างกายได้ดี
  • รักษาโรคบิด ลดเชื้อที่ทำให้ท้องร่วง อาการปวดท้อง โดยรับประทานเงาะ จะมีอาการดีขึ้น
  • เมื่อเกิดอาการอักเสบ จากการติดเชื้อต่างๆ การรับประทานเงาะ ช่วยบรรเทาอาการได้ดี
  • เงาะมีฤทธิ์เป็นยา สมุนไพร ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • เปลือกผลของเงาะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ดูอ่อนกว่าวัย ชะลอการแก่ของร่างกาย

โทษของเงาะ

สำหรับโทษของเงาะนั้น มีข้อควรระวังในการรับประทานเงาะ และ การใช้เงาะในการรักษาโรค ดังนี้

  • สารแทนนิน ( Tannin ) ในเนื้อเงาะ ทำให้ท้องผูก สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกอยู่แล้วไม่ควรรับประทานเงาะ
  • เมล็ดเงาะมีความเป็นพิษ หากกินเมล็ดเงาะอาจทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้สูง
  • ไม่ควรรับประทาน เงาะ มากเกินไป เพราะ จะทำให้ท้องอืด ท้องเฝ้อ จากผลของสารแทนนิน ที่ยับยั้ง เอนไซน์ในการย่อยอาหารของกระเพาะอาหาร
  • นอกจากนั้น ยังมีน้ำตาลในเงาะมาก หากรับประทานมากไป อาจจะเสี่ยงทำให้อ้วน และ เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป
  • ในเมล็ดเงาะมีพิษ ห้ามรับประทานเพราะอาจจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้ได้ ถึงแม้จะนำไปคั่วจนสึกแล้วก็ตามก็ยังเสี่ยงควรหลีกเลี่ยง

กวาวเครือขาว ( White kwao krua ) สมุนไพรสำหรับเพศหญิง ทำให้มีน้ำมีนวล หน้าอกขยายเต่งตึง บำรุงผิวพรรณ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้นมโต ช่วยชะลอวัย

กวาวเครือขาว สมุนไพร สมุนไพรนมโต

กวาวเครือขาว คือ สมุนไพรประเภทหนึ่ง พืชล้มลุก นิยมใช้หัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย จัดเป็นยาอายุวัฒนะ ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ สารเคมีในกวาวเครือมีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว ( White kwao krua ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว คือ Pueraria candollei จัดเป็นไม้เลื้อยตระกูลถั่ว ( Fabaceae หรือ Leguminosae ) เป็นพืชที่มีการสะสมอาหารในรูปแป้งใต้ดินเป็นหัว เพื่อใช้สำหรับการเจริญเติบโตของต้นใหม่ แต่ละหัวจะมีลักษณะกลมสีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สามารถหนักได้มากถึง 20 กก. เมื่อผ่าเนื้อข้างในจะมีสีขาวนวลคล้ายมันแกว มีน้ำสะสมอยู่ภายในเนื้อจำนวนมาก เป็นยาสมุนไพรประจำบ้านที่สามารถรับประทานได้ไม่เป็นอันตราย แต่ฤทธิ์จะคงอยู่จนกว่าจะหยุดรับประทานประมาณ 3 สัปดาห์ การรับประทานให้ปั้นเป็นลูกเท่าเม็ดพริกไทย รับประทานวันละ 1 เม็ด

ลักษณะต้นกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือ เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว มีหัวอยู่ใต้ดิน พบมากตามป่าเบญจพรรณ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร พบมากในเขตภูเขาของประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยใช้การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ลำต้นกวาวเครือขาว ลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงลักษณะยาว ความยาวประมาณ 5 เมตร
  • ใบของกวาวเครือขาว เป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกันที่ปลายใบ ใบเป็นทรงรีปลายใบแหลม เนื้อใบเรียบ ด้านล่างของในมีขนสั้นๆ
  • ดอกกวาวเครือขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง กลีบดอกลักษณะคล้ายกัน คือ งอนโค้งคล้ายปีกนก
  • ผลกวาวเครือขาว ออกผลเป็นฝัก ลักษณะแบน มีขน ฝักมีสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลม เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
  • หัวของกวาวเครือขาว ลักษณะเหมือนมันแกว หัวอยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆ มีสรรพคุณุสูง มีฤทธิ์ทางยามากยิ่งหัวมีอายุมากขนาดก้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม หัวกวาวเครือมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อหัวกวาวเครือสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก มีน้ำมาก

สรรพคุณของกวาวเครือ 

สรรพคุณสามารถแบ่งได้เป็นสรรพคุณบำรุงเพศหญิง สรรพคุณเพิ่มสรรถนะเพศชาย สรรพคุณบำรุงอวัยวะภายในต่างๆ สรรพคุณบำรุงร่างกายทั่วไป

สรรพคุณบำรุงเพศหญิง ด้านความงาม

  • บำรุงผิวพรรณ ให้เต่งตึง สดใส ลดรอยเหี่ยวย่น
  • บำรุงเส้นผมให้ดกดำ เงางาม ดูมีน้ำหนัก
  • ลดการเกิดสิว ฝ้า กระ
  • บำรุงฮอร์โมนเพศหญิง
  • บำรุงช่องคลอดกระชับกล้ามเนื้อ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
  • กระชับผิวหนังลดรายแตกที่ต้นขา หน้าท้อง
  • เพิ่มขนาดหน้าอก ช่วยให้เต่งตึง

สรรพคุณบำรุงสมรรถนะเพศชาย

  • ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ป้องกันการเกิดหัวล้าน
  • สร้างความกระชุ่มกระชวย คึกคักให้กับเพศชาย
  • เพิ่มกล้ามเนื้อ ในผู้ที่ผอมแห้ง
  • ลดอาการปวดเมื้อย อาการอ่อนเพลีย
  • เพิ่มการผลิตอสุจิ ช่วยให้มีลูกได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายจากความเครียด

สรรพคุณบำรุงระบบต่างๆในร่างกาย

  • บำรุงระบบข้อและกระดูก ลดการเกิดกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม
  • บำรุงระบบเลือด ช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น
  • บำรุงระบบตา ป้องกัน โรคต้อกระจก โรคสายตาผิดปกติ
  • บำรุงระบบสืบพันธุ์
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้จดจำได้มากขึ้น

สรรพคุณบำรุงร่างกายทั่วไป

  • ช่วยเรื่องการนอน ให้สามารถนอนหลับได้สนิท
  • การเคลื่อนไหวของร่างกาย กระฉับกระเฉงมากขึ้น
  • เพิ่มรสชาติให้การรับประทานอาหารอร่อยมากขึ้น
  • ชะลอการแก่ก่อนวัย ทำให้ดูเด็กลง

โทษของกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือขาว มีความเป็นพิษหากรับประทานหรือใช้ประโยชน์ในปริมาณที่มากเกินไป โดยข้อห้ามใช้ประโยชน์จากกวาวเครือขาว ตามตำราแผนโบราณ ประกอบด้วย

  • ห้ามคนวัยหนุ่มสาวกิน รวมถึง หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะ อาจทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ และ ระบบประจำเดือน
  • เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาว ห้ามกินรวมกับของดองหมักดอง ของเปรี้ยว ของเค็ม และ ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา และ ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาวไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  • การรับประทานกราวเครือขาวอาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ แต่การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาดเป็นอันตราย ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย