ผักชี Coriander สมุนไพร ผักสวนครัว มีกลิ่นแรง นิยมทำมาประกอบอาหาร สามารถใช้เป็นยาได้ สรรพคุณของผักชี ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

ผักชี สมุนไพร ผักสวนครัว

ผักชี ภาษาอังกฤษ เรียก Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม เป็นต้น ผักชีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถปลูกได้ใน ประเทศเขตร้อนชื้น ทั่วไป ให้ผลผลิตดี ในช่วง ฤดูหนาว แต่ ไม่หนาวมาก พบว่า มีการปลูกมากในภาคกลาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี

ประโยชน์ของผักชี ผักชีนำมาทำอาหาร เพิ่มสีสัน รสชาติ กลิ่น ให้กับอาหารเป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร เช่น การทำแหนม การหมักเนื้อต่างๆ ดับกลิ่นคาวของอาการประเภทเนื้อ เช่น ปลา น้ำจืดต่างๆ นิยมใช้ราก ในการเพิ่มรสชาติ ในน้ำซุป และ การหมักเนื้อ ร่วมกับ พริกไทยดำ

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร

สายพันธ์ุผักชี

สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรียบ
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เมล็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของผักชี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักชี ซึ่งสรรพคุณของผักชี มีดังนี้

  • สรรพคุณขับสารพิษต่างๆออกจากระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณลดอาการไอ ละลายเสมหะ แก้หวัด ลดน้ำมูก
  • สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยให้สารพิษออกทางเหงื่อ
  • สรรพคุณแก้อาการสะอึก แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียนศีรษะ
  • สรรพคุณแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการซูบผอม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงสายตา ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ลดอาการปวดฟัน
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • รักษาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สามารถต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ได้ดี
  • รักษาผื่นแดงในเด็ก และ ผื่นหัด
  • ลดอาการปวด อาการบวมตามข้อ

โทษของผักชี

สำหรับการกินผักชีเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ควรมีข้อควรระวังการใช้ผักชี ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • กินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มึนหัว เพราะ กลิ่นของผักชีแรง

มะระ  ผลมะระมีรสขมมาก แต่สรรพคุณทางยามากมาย รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด มีสารต้านอนุมูลอิสระ เบตาแคโรทีนสูง ลดไข้ รสขมมาจากสาร Momodicine

มะระ สมุนไพร สรรพคุณของมะระ

มะระ ภาษาอังกฤษ เรียก Bitter melon ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. รวมอยู่ในวงศ์เดียวกับแตง ต้นมะระ เป็นพืชประเภทไม้เลื้อย สามารถเจริญได้ทั่วไปในเขตร้อน นิยมปลูกเพื่อให้เป็น ยา และ รับประทาน เป็น ผัก แก้โรคต่างๆ และ เพิ่มรสชาติอาหาร มี วิตามินA วิตามินB1-6 โฟเลต Ca Mg P Zn Cu Fe ต้นมะระ มี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน

ประโยชน์ของมะระ นิยมนำมาเป็นอาหาร บำรุงร่างกาย เป็นอาหารยา ผลมาใช้เป็นอาหาร รับประทานมีประโยชน์ต่อร่างกาย เถา รากและใบของมะระสามารถใช้เป็นยารักษาอาการและโรคต่างๆได้ดี

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา รสขมของผลมะระเป็นเอกลักษณ์ของมะระ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน ซึ่งการขยายพันธ์มะระ ใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะระ มีดังนี้

  • ลำต้นมะระ ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย เถายาวเกาะตามเสา หรือ พื้นที่ที่ต่างๆ ลำต้นอุ้มน้ำมาก มีขนอ่อนๆ
  • ใบมะระ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกๆ ใบมีขนอ่อนๆ
  • ดอกมะระ ลักษณะดอกออกเป็นชอ มีสีเหลือง ออกดอกตามซอกใบ
  • ผลมะระ ลักษณะยาวเรียว สีเขียว ผิวขรุขระ มะระสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ด ผลมะระมีรสขมมาก

สรรพคุณของมะระ

ประโยชน์ของมะระ ในด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ผล เมล็ด และ ลำต้น โดยรายละเอียดสรรพคุณของมะระ ดังนี้

  • ป้องกันเซลล์ไม่ให้เกิดมะเร็ง ช่วยขัดขวางการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมได้
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร เพราะ มีสาร Momodicine ทำหน้าที่ เรียกน้ำย่อย ออกมาจาก ระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยการย่อยอาหาร
  • บำรุงสายตา ระบบการมองเห็น ทำให้ดวงตาสดใส
  • บำรุงระบบกระดูก และ ฟัน ได้แข็งแรงดี
  • แก้กระหายน้ำ บรรเทาอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มคอ
  • รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ดับพิษร้อนภายในร่างกาย
  • ปรับความสมดุลร่างกาย
  • รักษาอาการไข้ รักษาหวัด ขับเสมหะ
  • รักษาแผลปากเปื่อย
  • แก้อาการบิด อาการปวดท้องจากท้องเสีย
  • เป็นยาระบายอ่อน
  • รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • รักษาโรคริดสีดวงทวารหนักได้
  • ช่วยขับพยาธิตัวกลม
  • บำรุงตับ แก้ม้ามพิการ บำรุงน้ำดี แก้ท่อน้ำดีอักเสบ
  • เป็นยาทาภายนอกช่วยลดระคายเคืองผิวหนัง
  • ลดอาการฟกช้ำ บวม ตามผิวหนัง และ แก้อาการผดผื่นคัน
  • ลดอาการปวดบวม รักษาสิวอักเสบ

โทษของมะระ

ข้อควรระวังในการรับประทานมะระ มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารซาโปนิน ( Saponin ) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย การรับประทานผลสุกของมะระ อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • ไม่ควรรับประทานมะระมากเกิน เนื่องจากมะระมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ มีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานมะระ
  • เยื่อหุ้มเมล็ดของมะระที่มีสีแดง เพราะ เป็นพิษต่อร่างกาย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย