เหน็บชา Beriberi ภาวะขาดวิตามินบี1 มักเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหาร โรคเหน็บชาไม่ควรกินอะไร ควรดูแลตนเองอย่างไร ทำอความรู้จักกับโรคเหน็บชาอย่างละเอียด

เหน็บชา โรคเหน็บชา

เหน็บชา ( Beriberi ) คือ ภาวะการเกิดอาการชา และ เหมือนมีเข็มจำนวนมากจิ้ม ซึ่งพบได้ทั่วไปและเกิดได้กับทุกคน สาเหตุของการเกิดโรคนี้ คือ การขาดวิตามินบี1 ส่วนมากจะพบโรคนี้ในชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ พื้นที่ขาดแคลน ขาดความรู้เรื่องโภชนาการ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร

การที่ร่างกายขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี1 หรือ Vitamin B1 หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ ไทอะมีน หรือ Thiamine จะส่งผลต่อร่างกายเกี่ยวข้องกับระบบประสาทในการรับส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์ประสาท ซึ่งวิตามินบี1 จะเป็นตัวเร่งกระแสประสาทการรับรู้ความรู้สึกจากเซลล์รับรู้ความรู้สึกสู่เซลล์ประสาทเพื่อเชื่อมต่อไปยังสมอง การขาดวิตามินบี1 จะทำให้การรับรู้ได้น้อยลงจึงทำให้เกิดความรู้สึกชาหรืออาการชาเกิดขึ้นได้

ตามความเข้าใจของคนทั่วไป คิดว่าคนที่มีร่างกายซูบผอม มักขาดสารอาหารแต่จากความเป็นจริงคนที่ร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ก็สามารถขาดสารอาหารได้ เนื่องจากการบริโภคของแต่ละคนไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ดังนั้น โรคเหน็บชาก็สามารถพบได้ในคนอ้วนได้เช่นกัน ความเข้าใจเรื่องผอมแล้วเป็นโรคเหน็บชาจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

สถานกาณ์โรคเหน็บชาในประเทศไทย

ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเหน็บชา มีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่และแม่มีภาวะขาดวิตามิน บี 1 หรือบริโภคอาหารที่ขาดวิตามิน บี 1 และพบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ผู้ที่รับประทานปลาร้าและอาหารดิบเป็นประจำ รายางการป่วยและเสียชีวิตในประเทศไทยแยกตามปี สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ปี 2548 พบผู้ป่วยชาย เป็นชาวประมงในจังหวัดสมุทรสาคร 11 ราย และสงสัยเสียชีวิตจากการขาดวิตามินบี 1 อีก 2 ราย
  • ปี 2549 พบผู้ป่วยชาย เป็นชาวประมงในจังหวัดสมุทรสาคร 20 ราย มีอาการรุนแรง 5 ราย แพทย์ให้การวินิจฉัย cardiac beri beri และในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน พบผู้ป่วยสงสัยเสียชีวิตจากการขาดวิตามินบี 1 อีก 28 ราย
  • ปี 2553 พบผู้ป่วยสงสัยขาดวิตามินบี 1 ประมาณ 40 ราย มีอาการแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในเรือนจำแห่งหนึ่ง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ปี 2557 พบผู้ป่วยที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงและชา 78 ราย มีอาการรุนแรง 3 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 2 ราย ผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในเรือนจำอีกแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ความแตกต่างระหว่างอาการชาและอาการเหน็บ 

ทั้งอาการสองอาการมีความแตกต่างกันแต่มักเกิดร่วมกัน ซึ่งแล้วแต่สิ่งเร้าและสภาพร่างกายผู้ป่วย อาการชาจะเกิดจากการที่ร่างกายขาดความรู้สึกจากการสัมผัส ซึ่งเกิดกับร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือเกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งแล้วแต่สิ่งเร้าที่ได้รับ เช่น ชาจากการสัมผัส ตามปลายมือ ปลายเท้า ส่วนอาการเหน็บจะเริ่มต้นมาจากอาการชา แต่จะมีความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นมา เช่น อาการเหน็บที่ขาเกิดความเจ็บปวดไม่สามารถยืดได้ ลุกเดินไม่ได้ ปวดมาก

ผู้ที่ป่วยโรคเหน็บชาจะพบอาการต่างๆเหล่านี้บ่อยกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการดำรงชีวิต แต่โรคเหน็บชาไม่ได้เป็นโรคที่รุนแรงจนถึงชีวิตเพียงแต่เป็นโรคที่ทุกทนทรมาน

ประเภทของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เหน็บชาในเด็ก และ เหน็บชาในผู้ใหญ่ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • เหน็บชาในเด็ก
    พบบ่อยในทารกอายุ 2-3 เดือน มักพบในทารกที่ดื่มน้ำนมแม่ และแม่กินอาหารที่ขาดวิตามินบี 1 ทารกมักมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น หน้าเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม หัวใจเต้นเร็ว หัวใจโต ร้องเสียงแหบหรือไม่มีเสียง อาจตายภายใน 2-3 ชั่วโมง
  • เหน็บชาในผู้ใหญ่
    อาการผู้ใหญ่ แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ เหน็บชาชนิดแห้ง , เหน็บชาชนิดเปียก และ เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome โดยรายละเอียด ดังนี้

    • เหน็บชาชนิดแห้ง ( Dry Beriberi ) ผู้ป่วยจะมีอาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
    • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) ผู้ป่วยจะมีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า น้ำคั่งในช่องท้องและช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่างๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
    • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อยหรือทำไม่ได้เลย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

สาเหตุการเกิดโรคเหน็บชา 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคเหน็บชาเกิดจากการขาดสารอาหาร วิตามินบี1 แต่สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้เกิดโรคเหน็บชา มีดังนี้

  • ภาวะติดสุราเรื้อรัง ทำให้ร่างกายดูดซึมและสะสมวิตามินบี1 ไม่เพียงพอ
  • กรรมพันธุ์
  • ภาวะการเกิดโรคที่ส่งผลต่อการดูดซึมสารอาการ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ( Hyperthyroidism ) การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (Bariatric surgery) โรคเอดส์ (AIDS) ท้องเสียเป็นเวลานาน การใช้ยาขับปัสสาวะ การฟอกไต โรคตับแข็ง
  • การรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น อาหารหมักดอง ปลาร้า ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ และปลาน้ำจืดดิบ  อาหารเหล่านี้มีสารทำลายวิตามินบี 1 นอกจากนั้นการรับประทานแป้งและน้ำตาลมากเกินไปก็เป็นสาเหตุการขาดวิตามินบี1 

อาการโรคเหน็บชา

ลักษณะอาการของโรคเหน็บชา คือ เกิดอาการเหน็บและชา แต่ลักษณะอาการสามารถแบ่งได้ตามประเภทของโรคเหน็บชา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหน็บชาในเด็ก Infantile beriberi เด็กจะมีอาการเจ็บจากเหน็บแต่ไม่สามารถแสดงออกได้นอกจากการร้องไห้ หากเด็กเกิดอาการตัวเขียว ซึม ร้องไม่มีเสียง เสียงร้องผิดปกติ ขาบวม หายใจหอบ หน้าเขียว แสดงว่าเด็กเกิดอาการเจ็บปวดเป็นอย่างมาก ต้องรีบเข้ารับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง เพราะ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • เหน็บชาชนิดผอมแห็ง ( Dry Beriberi ) ผู้ป่วยจะมีอาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
  • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) ผู้ป่วยจะมีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า น้ำคั่งในช่องท้องและช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่างๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อยหรือทำไม่ได้เลย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

การรักษาโรคเหน็บชา

สำหรับแนวทางการรักษาอาการเหน็บชาโดยทั่วไป ใช้การรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค คือ การขาดวิตามินบี1 ใช้การปรับพฤติกรรมให้รับประทานวิตามินบี 1 เลือกรับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว และหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อการดูดซึมวิตามินบี1 ของร่างกาย แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุของเหน็บชาจากสาเหตุอื่น เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง ก็ให้รักษาตามสาเหตุของโรค

การป้องกันโรคเหน็บชา

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเหน็บชา คือ การรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี1 และ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ส่งผลกระทบต่อการดูดซึมวิตามินบี1 เข้าสู่ร่างกาย โดยสรุปแนวทางได้ดังนี้

  • การเลิกดื่มสุรา ในรายที่ติดสุราเรื้อรังจะต้องเข้ารับการบำบัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดคามเสี่ยงการกลับมาดื่มสุราอีกครั้ง ทั้งนี้ครอบครัวและคนใกล้ชิดเป็นกำลังใจที่สำคัญให้ผู้ป่วยสามารถเลิกขาดได้
  • การเลือกรับประทานข้าวกล้อง การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยการเพิ่มข้าวกล้องแทนข้าวขาว หรือข้าวขัดสี เพราะในลำข้าว เยื่อหุ้มข้าว จมูกข้าว อุดมไปด้วยสารอาหารรวมทั้งวิตามินบี1 อย่างมาก หากทำไม่ได้ในช่วงแรกให้ผสมกับข้าวขาวและค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้น จนสามารถบริโภคได้ปกติ
  • ลดอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมวิตามินบี1 เช่นของหมักของดอง ของดิบต่างๆ รวมทั้งชา กาแฟ อาหารต่างๆเหล่านี้มีผลต่อการดูดซึมวิตามินบี1 หากเป็นไปได้ให้ลดลงหรือเลิกบริโภคได้จะมีผลดีต่อร่างกายเป็นอย่างมาก
  • ในเด็กอ่อนมารดาจะต้องสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิดเพราะเด็กไม่สามารถพูดได้ หากเกิดอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาจะต้องรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะอันตรายเป็นอย่างมาก
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นธัญพืชต่างๆ ถั่ว ผัก ผลไม้ เพราะในสิ่งเหล่านี้มีวิตามินแร่ธาจุต่างๆมากมาย
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และหลากหลาย ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและถั่วเมล็ดแห้ง รวมทั้งผักใบเขียว
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีตัวทำลายวิตามินบี 1 ได้แก่ จำพวกปลาดิบ ปลาร้าดิบ ปลาส้มดิบ แหนมดิบ เมี่ยง ของหมักดองอื่นๆ หากต้องการรับประทานควรปรุงด้วยความร้อนจนสุก

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง พบบ่อย ในกลุ่มคนำงานออฟฟิต ปวดหลังแปร็บๆ รักษาอย่างไร

หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ เกิดอาหารปวดคอ ปวดหลัง และปวดตามร่างกายหลายๆจุดตามเส้นประสาทที่ถูกกระดูกกดทับ ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายผิดท่าผิดทาง เช่น ก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟน นั่งทำงานนานๆ หรือยกของหนัก เป็นความเสี่ยงในการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการปวดของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทต่างๆจากอาการปวดแบบทั่วไป ซึ่งสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ อาการปวดที่ตำแหน่งของข้อกระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดบ่อยในคน 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุมากกว่า 40 ปี และกลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อม หากออกแรงหรือใช้แรงมากๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทได้ในทันที
  2. กลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก คนกลุ่มนี้ใช้ร่างกายหนัก โลดโผน ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่าย รวมถึงกลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนวัยทำงาน การนั่งทำงานนานๆเป้นสาเหตุของการเคลื่อนของกระดูกสันหลังทับส้นประสาทได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะการกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง เป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อยมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ เมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ หลายๆชั่วโมงในแต่ละวัน มักพบว่าจะป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนมากพบในวัยทำงาน 30 ปีขึ้นไป

สาเหตุการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้น สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นจนไปไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการอักเสบของเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดตรงเส้นประสาท ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลัง ( Intervertebral Disc ) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่บริเวณศูนย์กลางจะมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายเจลลี่ ส่วนที่อยู่โดยรอบ มีลักษณะเหนียวและหนาคล้ายเอ็น และ ส่วนที่ยึดติดกับข้อกระดูกสันหลัง มีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อน ซึ่งทั้ง 3 ส่วน มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวและรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง

หากกระดูกสันหลังถูกใช้งานหนัก ใช้งานผิดท่า รับน้ำหนักมากเกินไป หรือเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นออกมาจนไปกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้

  • การได้รับการกระทบกระเมือนจากแรงกระแทก แรงอัด เช่น จากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬาที่มีการปะทะ
  • การนั่งนานๆ ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ
  • การทำงานที่ต้องก้มบ่อยๆ
  • การทำงานที่ต้องยกของหนักบ่อยๆ
  • น้ำหนักตัวมาก ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเลื่อนของกระดูกสันหลัง

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับอาการของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก แบ่งอาการต่างๆได้ดังนี้

  • อาการปวดช่องเอว อาการปวดเอวเป็นๆหายๆ
  • ก้ม เงย นั่งนานๆ มักจะมีอาการปวดมาก
  • ปวดร้าวลงมาที่ขา น่อง เท้า
  • อาการปวดช่องคอจนลามไปถึงแขน
  • อาการชาที่มือและปลายนิ้ว
  • อาการปวดร้าวที่แขน
  • ปวดคอ สะบักเรื้อรัง
  • เคลื่อนไหวผิดปกติ

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับแนวทางการรักษาสามารถทำได้ด้วยการรักษาตั้งแต่การลดน้ำหนัก การทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษาโรค และ ผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาของแพทย์

  • ลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง ปัจจัยเรื่องน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ เป็นสาเหตุของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่เร็วกว่าปรกติ เพื่อไม่ให้ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเป็นมากกว่าเดิม และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • การทำกายภาพบำบัด สำหรับอาการหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาทที่ไม่รุนแรงมากนัก คือ การทำกายภาพบำบัด ช่วยลดอาการปวดของร่างกาย
  • การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • การผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการดำรงชีวิตจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท  ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น  แผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

แนวทางการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • อย่าปิดตัวแรงๆเพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกหลุดเพิ่มขึ้นได้
  • เมื่อจำเป็นต้องยกของหนักควรย่อเข่าแล้วยก ไม่ควรยกโดยการก้ม หรือ ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรยกของหนักเลย
  • เมื่อต้องนั่งทำงานนานๆ ควรลุกเดินบ้าง สลับกันไป
  • ควรมีหมอนหนุนหลังในเก้าอี้ที่ทำงาน
  • เวลาลุกจากจากการนอนให้ค่อยๆลุก หรือ นอนคว่ำแล้วใช้แขนดันให้ลุกขึ้น
  • ลดหมอนให้เตี้ยลง
  • นอนตะแคงมากขึ้น
  • พบแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำ
  • เมื่อมีอาการชา ตามมือ ตามเท้า ให้ปรึกษาแพทย์เพราะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

การป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อความเสี่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและท้อง ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม
  • งดยกของหนักหากไม่จำเป็น
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากน้ำหนักเกินให้ลดน้ำหนัก
  • อย่านั่งนานๆ ให้ยืน เดิน สลับกันไป
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร