ไข้ทับระดู อาการปวดท้องและมีไข้ระหว่างมีประจำเดือน เกิดขึ้นกับสตรีโดยทั่วไป บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปวดท้องแบบไหนปรกติ แบบไหนไม่ปรกติ

ไข้ทับระดู โรคสตรี

คำว่า ระดู หมายถึง เลือดประจำเดือนของสตรี

ไข้ทับระดู ( Period Flu ) คือ อาการมีไข้ระหว่างมีประจำเดือน ผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน ร่างกายจะอ่อนแอลง เนื่องจากการขับเลือดของร่างกาย ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อน้อยลง ช่วงมีประจำเดือนทำให้มีโอกาสติดเชื้อจึงง่ายกว่าปกติ ไข้ทับระดูในอดีต อาจดูเป็นโรคน่ากลัวสำหรับผู้หญิง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย ควมรุนแรงของโรคน้อยลงมาก

ประเภทของไข้ทับระดู

สำหรับการแบ่งประเภทของโรคไข่ทับระดู มี 2 ประเภท คือ ไข้ทับระดูที่ไม่มีภาวะอื่นแอบแฝง และ ไข่ทับระดูที่มีภาวะโรคแอบแฝง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  •  ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง ลักษณะมีอาการคล้ายกับไข้หวัด อ่อนเพลีย สามารถรับประทานยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการได้
  •  ไข้ทับระดูที่มีภาวะโรคแอบแฝง ลักษณะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดหลัง ปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีตกขาวผิดปรกติร่วมด้วย

สาเหตุของโรคไข้ทับระดู

สำหรับสาเหตุของการเกิดอาการไข้ทับระดู ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นไข้หวัดธรรมดาและไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่สำหรับสาเหตุอื่นๆ สามารถสรุปสาเหตุต่างๆได้ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน อาจเกิดจาก เชื้อหนองใน หรือ เชื้อคลามัยเดีย
  • ภาวะหลังคลอดของผู้ป่วยบางคน มักจะเกิดจาก ตัวของเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ เป็นปกติวิสัยในช่องคลอดกระตุ้นให้ เชื้อโรคนั้นเจริญขึ้น จนเกิดเป็นโรคได้
  • อาจเกิดจากการแปดเปื้อนเชื้อโรคจากภายนอกช่องคลอด เข้าไปสู่ช่องคลอด และ มดลูกได้
  • อาจเกิดจากการทำแท้ง ซึ่งจะทำให้เชื้อกระจายตัวเข้าไปในมดลูก และเกิดการอักเสบ ที่เรียกกันว่า การทำแท้งติดเชื้อ

อาการของไข้ทับระดู

สำหรับอาการผู้ป่วยไข่ทับระดู ผู้ป่วยมักจะมีอาการที่ไข้ขึ้นสูง ปวดท้องน้อย ลักษณะบิดๆ หากไม่มีอาการผิดปรกติมาก อาการปวดท้องจะค่อยๆหายไปเอง หากมีลักษณะอาการผิดปรกติ เช่น อาการตกขาวเป็นหนองและจะมีกลิ่นที่แรงมาก เหม็นมาก อาการปวดหลังแบบรุนแรง คลื่นไส้และอาเจียน ประจำเดือนออกมามากและมีกลิ่นเหม็น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค

การรักษาไข้ทับระดู

แนวทางการรักษาโรคไข้ทับระดู เราแบ่งแนวทางการรักษาตามประเภทของไข้ทับระดู โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะโรคอื่นแอบแฝง ไข้ทับระดูสามารถรักษาตามอาการได้ทันที ถ้ามีอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน และปวดท้องน้อย ก็ให้ใช้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดประจำเดือนตามปกติ สามารถดื่มน้ำอุ่นเพื่อขับพิษไข้ ระบายออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ หรือใช้ถุงน้ำร้อนประคบที่ท้องเพื่อให้เลือดประจำเดือนขับออกมาได้คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ควรดูแลทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • ไข้ทับระดูที่มีสภาวะโรคอื่นแอบแฝง หากมีอาการของไข้ทับระดูชนิดนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อสอบถามซักประวัติผู้ป่วย ประวัติการใช้ยา รวมถึงประวัติการมีเพศสัมพันธ์

ภาวะแทรกซ้อนของไข้ทับระดู

  • อาจจะก่อให้เกิดฝีในรังไข่ หรือ บริเวณท่อรังไข่ ซึ่งมันจะทำให้เป็นแผลเป็น และ เกิดการเป็นหมันได้
  • จะมีโอกาสเกิด การตั้งครรภ์นอกมดลูกถึง 50%
  • จะเกิด อาการเจ็บปวด เมื่อเวลาที่มี เพศสัมพันธ์

การป้องกันการเกิดไข้ทับระดู

  • ควรเลี่ยง การสวนล้างช่องคลอด เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากตลอดบุตร
  • สำหรับคนที่ยังไม่พร้อมมีบุตร ควรจะเลี่ยง การทำแท้งด้วยตัวเอง หรือ ใช้อุปกรณ์ที่สกปรกใน การทำแท้ง
  • ออกกังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ ให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย
  • ถ้าหากคิดว่าติด เชื้อหนองใน จากคนรัก ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนที่เชื้อจะลุกลาม และ จะทำให้ ปีกมดลูดอักเสบได้

ระบบประสาทถูกทำลาย คือ ระบบประสาทส่วนกลางและเส้นประสาทถูกทำลาย ทำให้เสี่ยงอัมพาตและเสียชีวิต มักเกิดจากอุบัติเหตุ การกระแทกอย่างรุนแรง แนวทางการรักษามีอะไรบ้าง

ระบบประสาทถูกทำลาย ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท

ระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตสัตว์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย หากระบบประสาทถูกทำลาย มักจะส่งผลให้เป็นอัมพาตหรือตายได้

ระบบประสาทของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง นั้นมีสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง ( central nervous system – CNS ) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง ( peripheral nervous system – PNS )

  • ระบบประสาทกลาง คือ สมองและไขสันหลัง
  • ระบบประสาทนอกส่วนกลาง คือ เส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยระบบประสาทนอกส่วนกลาง  แบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย ( somatic nervous system )  และระบบประสาทอิสระ ( autonomic nervous system )

ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย คือ ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย จากสาเหตุต่างๆ ส่งผลต่อระบบการควบคุมร่างกายทุกส่วนมีปัญหาการทำงาน เป็นอาการของโรคอย่างหนึ่ง โรคระบบประสาทและสมอง มักเกิดกับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ แรงกระแทก แรงอัด การได้รับปาดเจ็บจากการต่อสู่ โดยการใช้อาวุธ เช่น ปืน มีด ดาบ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย หากโดยเส้นประสาทที่สำคัญบริเวณกระดูกสันหลัง ก้านสมอง สมอง มักจะมีอาการรุนแรง

ทำให้เกิดโรคอัมพฤษ์ อัมพาต ได้ ทั้งนี้อาการต่างๆของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่เพศชายมักมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากวิธีการใช้ชีวิตที่มีโอกาสประสบกับเหตุการณ์รุนแรงๆต่างๆได้มากกว่าเพศหญิง

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลาย

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลาย คือ การถูกทำลายที่ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนนอกส่วนกลาง ซึ่งอาจเกิดได้หลายสาเหตุ แต่โดยมากเกิดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงไม่ว่าจะด้วยอุบุติเหตุหรือการถูกกระแทกอย่างตั้งใจ โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง แรงกระแทกทำให้ระบบประสาทโดยเฉพาะ สมอง และ กระดูกสันหลังถูกทำลาย
  • การได้รับบาดเจ็บจากอาวุธ เช่น ปืน ไม้ หรือ มีด เป็นต้น โดยโดนทำร้ายที่ระบบประสาทในจุดที่สำคัญ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หรือ เส้นประสาท
  • การรับสารพิษบางชนิดทำลายระบบประสาทโดยตรง หรือ การถูกสัตว์มีพิษทำลายระบบประสาท เช่น งูกัด

การรักษาระบบประสาทถูกทำลาย

สำหรับผู้ที่ป่วยภาวะระบบประสาทถูกทำลาย มีความเสี่ยงสูงในการอัมพาต หรือ เสียชีวิต ถือเป็นภาวะวิกฤต ซึ่งแนวทางการรักษาระบบประสาทถูกทำลาย ต้องรักษาจากสาเหตุ โดยต้องตรวจการตอบสนองของระบบประสาท การตรวจรีเฟรกซ์ของอวัยวะที่สำคัญต่างๆ และรักษาตามอาการ เท่าที่จะสามารถรักษาได้ โดยแนวทางการรักษามีดังนี้

  • หากเส้นประสาทฉีกขาดสามารถ ผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาทได้
  • การรักษาตามอาการที่พบ เช่น หากมีการตกเลือดจะต้องห้ามเลือดก่อน การรักษาการติดเชื้อต่างๆ การขับพิษออกจากร่างกาย
  • การผ่าตัดเพื่อทำวัตถุที่ฝังในร่างกายออก
  • การผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาท
  • การฟื้นฟูร่างกาย เช่น การทำกายภาพบำบัด
  • การฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยในรายที่ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเดินได้ ให้สามารถยอมรับความจริงและใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขได้
  • การฝึกการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินต่างๆ เช่น ไม้เท้า วิลแชร์
  • การอบรมญาติผู้ดูแลให้มีการดูแลอย่าใกล้ชิด ฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้

การป้องกันระบบประสาทถูกทำลาย

สาเหตุของระบบประสาทถูกทำลายมาจากการถูกกระแทกที่ระบบประสาทอย่างรุนแรง ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • พักผ่อนร่างกายและจิตใจให้พร้อมสำหรับทำกิจกรรมในแต่ละวัน การขาดการพักผ่อนทำให้ระบบสมองสั่งการช้า ทำให้เกิดอุบัตติเหตุได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงการขับรถด้วยความเร็วสูงเกินไป การขับรถเร็วทำให้ีโอกาสเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้มากกว่าคนขับรถช้า
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเสี่ยงต่อการกระแทกอย่างรุนแรง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีความเสียงในการติดเชื้อโรคหรือการได้รับสารพิษอย่างรุนแรง เช่น น้ำโคลน โรงงานที่มีสารพิษ เป็นต้น
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย