เสริมพัฒนาการลูกด้วยการเล่น เล่นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

Active Learning การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผ่านการเล่น เล่นอย่างไรให้ได้ประโยชน์ การเสริมพัฒนาการของลูก ผ่านการเล่น แม่และเด็ก เสริมสร้างประสบการณ์ด้วยการเล่น

Active Learning

การเล่น มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางจิตใจและกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้น การเล่นที่เหมาะสมกับวัยและเล่นอย่างสร้างสรรค์ หรือเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กนั้นย่อมส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องในอนาคตสำหรับเด็กได้

การเล่น สามารถส่งเสริมพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็ก ได้เป็นอย่างดี เมื่อ สมองของเด็กทำงานสูงสุด ขณะที่เด็กเล่นผ่านการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น การรับรส และ การปรับอารมณ์ขณะเล่น ส่งผลให้สมองของเด็กพร้อมที่จะเรียนรู้ในความหลากหลายจากประสบการณ์ในการเล่นนั่นเอง องค์ประกอบ “ การเล่น ” ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มีอยู่ 5 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

  1. การเล่นให้สนุกสนานตามวัย การเล่นก่อให้เกิดความสนุกสนาน ส่งผลให้เกิดความรู้สึกด้านบวกตามที่เด็กต้องการ โดยปกติแล้วการเล่นของเด็กจะเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก ไม่ได้มีเป้าหมายในการเล่นเพื่อหวังผลอย่างอื่น เช่น ขนมหรือเงินทอง แต่มีเป้าหมายในตัวของมันเองคือเป้าหมายที่จะเล่นนั่นเอง ดังนั้นการเล่นของเด็กจึงทำให้เกิดความรู้สึกที่หลากหลายเกิดความคิดใหม่ ๆ รวมทั้งเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นตามมา
  2. การเล่นผ่านบทบาทสมมุติ การเล่นบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลองให้เสมือนจริง ทำให้เด็กสามารถสร้างจินตนาการ และสมมุติบทบาทตนเองในจินตนาการได้ เช่น มีการจัดสิ่งแวดล้อม สภาพการณ์ต่างๆ เพื่อเป็นการต่อยอดความคิดและจินตนาการให้เด็ก ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้ได้รวดเร็วจากประสบการณ์ต่างๆ ผ่านการเล่นบทบาทสมมุติ
  3. การเล่นให้มีความยืดหยุ่น ไม่จำกัดด้านเวลาจนเกินไป การเล่นช่วยสนับสนุนให้เด็กมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับอารมณ์ได้ดี ( Emotion Regulation ) การจำกัดเวลาหรือเข้มงวดในขณะที่เด็กเล่นจึงส่งผลในด้านอารมณ์ของเด็กอย่างมาก เพราะลักษณะของการเล่นของเด็กเองมีความไม่แน่นอน มีการปรับเลี่ยนตลอดเวลา เด็กที่มีโอกาสเล่นมากทั้งกับคนอื่นและตามลำพัง จึงมีโอกาสเกิดอารมณ์ที่หลากหลาย ซึ่งประสบการณ์การเล่นที่หลากหลายและต่อเนื่องเหล่านี้ ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อเหตุที่มากระทบอย่างรุนแรงเกินไปในชีวิตจริงได้นั่นเอง
  4. การเล่นอย่างอิสระ หรือ เล่นแบบทันทีทันใด ( Free Play ) เด็กสามารถปรับเปลี่ยนลื่นไหลตามความคิดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ในโลกของการเล่นจึงมีความยืดหยุ่นสูงและเกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อลูกเล่นแบบสนุก การเล่นทำให้เด็กรู้สึกดี สร้างความตื่นเต้น ช่วยทำให้คลายความเบื่อเหงา นั่นเป็นสภาวะที่สมองของเด็กพร้อมที่จะเรียนรู้ เนื่องจากสมองไม่ตึงเครียดแต่มีภาวะตื่นตัวมีแรงจูงใจ เมื่อการเล่นที่เกิดขึ้นทันทีหรือ เล่นแบบด้นสด ( Improvisation ) จึงสามารถช่วยกระตุ้นความคิดและจินตนาการของเด็กๆได้ดี
  5. การเล่นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เมื่อการเล่นของเด็กคือการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการได้ การเรียนรู้ที่ดีที่สุดควรเป็นระดับที่สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในบริบทเดิม หรือบริบทที่แตกต่างจากเดิมหรือที่เรียกว่า ( Meaningful Learning ) ดังการเล่นในลักษณะนี้จึงเป็นการจัดเก็บและการใช้ความรู้จากการเล่นให้เกิดประโยชน์ต้องเกิดจากการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ที่เด็กจะได้เรียนรู้นั่นเอง

Active Learning คือ การเลี้ยงลูก พัฒนาทักษะการเรียนรู้ผ่านการเล่น เล่นอย่างไรให้ได้ประโยชน์ การเสริมพัฒนาการของลูก ผ่านการเล่น แม่และเด็ก เสริมสร้างประสบการณ์ของลูก ด้วยการเล่น

Last Updated on March 19, 2021