โรคเท้าช้าง ( Filariasis ) ติดเชื้อจากพยาธิตัวกลมที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ทำให้เกิดการอักเสบที่ท่อน้ำเหลือง เกิดอาการบวมที่รักแร้ อัณฑะ ขา กินยาฆ่าเชื้อรักษาได้

โรคเท้าช้าง โรคติดเชื้อ

โรคเท้าช้าง ( Filariasis ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย ที่มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่ท่อน้ำเหลือง จนทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมที่ขา แขน หรืออวัยวะเพศ สำหรับพยาธิตัวกลมที่ทำให้เกิดโรคเท้าช้าง เกิดจาก พยาธิตัวกลม 3 ชนิด ดังนี้

  • Brugia Malayi พบน้อย ในประเทศไทย มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมียุงลายเสือ (Mansonia) เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง
  • Brugia Timoli พบน้อย ในประเทศไทย
  • Wuchereria Bancrofti เป็นชนิดที่ มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น  จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี และอำเภอทองผาภูมิ) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด) จังหวัดระนอง (อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง) เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ยุงลายป่า (Aedes niveus group) เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่

พยาธิตัวกลม นั้นจะอาศัยอยู่มาก หรือ ดำรงชีวิตได้ดีใน น้ำเหลืองของคน ในร่างกานคน โดย จะมี ยุงเป็นตัวพาหะนำโรค การติดต่อจะพบได้มากในเด็ก เพราะ ไม่สามารถป้องกันยุงกันได้ดีพอ และ ภูมิต้นทานยังน้อย เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ แต่ อาการเจ็บปวด และ การแสดงออกของ โรคเท้าช้าง จะเกิดขึ้นมาก กับคนในวัยทำงาน คือ อายุ 30 ปีขึ้นไป เนื่องจาก การเพาะเชื้อจะใช้เวลาค่อนข้างนาน กว่าพยธิจะมีจำนวนมากพอ จนก่อให้เกิดโรค การอุดตันของ ระบบน้ำเหลืองภายในร่างกาย

สาเหตุการเกิดโรคเท้าช้างเกิดจากอะไร

โรคเท้าช้างเกิดจากเชื้อโรคจากพยาธิตัวกลมที่มีภาหะนำโรคจากยุง เมื่อยุงที่มีเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างระยะที่ติดต่อกัดคน เชื้อโรคจะอยู่บริเวณผิวหนังและไชเข้าสู่ผิวหนังตรงรอยยุงกัด และเจริญเติบโตจนเป็นพยาธิตัวแก่ในต่อมน้ำเหลือง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 3 ถึง 9 เดือน เมื่อพยาธิผสมพันธุ์และเจริญเติบโตในร่างกาย ทำให้ไมโครฟิลาเรียเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าไป ทำให้ท่อน้ำเหลืองอักเสบและอุดตัน

  • หนอนพยาธิตัวกลม ที่อาศัย และ เพิ่มจำนวนได้ดี ในระบบน้ำเหลือง ของร่างกายมนุษย์ สามารถติดต่อกันได้ โดยต้องอาศัยพาหะนำโรค
  • ยุงตัวเมีย ที่มีเชื้อหนอนพยาธิตัวกลม เป็นพาหะโรคเท้าช้าง ภายในจะมีตัวอ่อน ที่มาจากการกัดดูดเลือดคนที่ป่วยโรคนี้ และ ไปกัดดูดเลือด ทำให้เชื้อตัวอ่อน ของหนอนพยาธิตัวกลม เข้าสู่ระบบเลือด และ น้ำเหลือง เจริญและเพิ่มจำนวน จนก่อให้เกิดโรคในที่สุด
  • สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย หากอยู่ในชุมชนแออัด ที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จะทำให้มีโอกาส เสี่ยงสูงมากขึ้น ที่จะป่วยโรคนี้

อาการของผู้ป่วยโรคเท้าช้างเป็นอย่างไร

เมื่อถูกยุงที่มีเชื้อโรคกัด จะเริ่มมีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด ต่อมาจะเกิดระยะติดต่อ เมื่อยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างระยะติดต่อกัดคน เชื้อจะเคลื่อนตัวออกจากส่วนปากของยุงมาที่บริเวณผิวหนัง ไชเข้าสู่ผิวหนังตรงรอยยุงกัด และเข้าไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ในต่อมน้ำเหลือง มีระยะฟักตัว 3-9 เดือน จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรียซึ่งจะออกมาอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงมากัดก็จะรับเชื้อตัวอ่อนเข้าไปและเจริญเป็นพยาธิระยะติดต่อภายใน 1-2 สัปดาห์

  • ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เกิดจาก การอักเสบของท่อน้ำเหลืองที่รักแร้ อัณฑะ หรือ ขาหนับ เนื่องจากพยาธิมีจำนวนมาก มาอุดตัน
  • ระยะถัดมา ผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองจะบวม ขนาดเปลี่ยนไป ใหญ่ขึ้นเห็นได้ชัดเจน ถ้ากดตรงที่บวมจะบุ๋มลง นิ่ม ไม่เด้งคืน
  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิ เป็นเวลานาน 5-10 ปี โดยไม่รักษา หรือ ไม่รู้ตัว จะเกิดภาวะเท้าช้าง และ พิการได้ถาวร คือ ขาจะโต มีอาการบวม ตั้งแต่เข่าลงไป หรือ อาจจะมีอาการบวมที่แขน ตั้งแต่ข้อศอกลงไป ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายเท้าช้าง จึงเรียกว่า โรคเท้าช้าง
  • ผู้หญิง อาจจะพบการบวม บริเวณปากช่องคลอดได้ หรือ บริเวณหน้าอก อาการทุกข์ทรมาน ดำรงชีวิตได้ไม่ปกติสุข
  • ผู้ชาย อาจจะพบการคั่งของน้ำเหลืองในอัณฑะ และ ปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น หนองปะปนออกมา เจ็บปวด ทรมาน

แนวทางการวินิจฉัยโรคเท้าช้างทำอย่างไร

  • การตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจแขนขา ที่บวม การจับต่อมน้ำเหลือง เพื่อ ดูอาการปวม สอบถามโรคประจำตัว ยารักษาที่ใช้อยู่ อาชีพ ที่อยู่อาศัย ความเสี่ยงที่จะเกิดโรค
  • การตรวจหาแอนติเจน/สารก่อภูมิต้านทานของเชื้อหนอนพยาธิ ซึ่งจะเป็นการตรวจจากเลือด ในผู้ป่วย ที่ติดเชื้อจะตรวจพบหนอนเจอ 100%
  • การตรวจหาตัวหนอนพยาธิ โดย ทำการเจาะเลือดไปหาตัวอ่อน ด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • สามารถใช้เครื่องอันตราซาวน์ สามารถเห็นการไหลเวียนของเลือด จะเห็นพยาธิตัวเต็มไว

การรักษาโรคเท้าช้างทำอย่างไร

  • แพทย์จะให้ทานยา Albendazole ร่วมกับ Hetrazan เพื่อฆ่าเชื้อพยาธิ
  • แพทย์จะให้ทำความสะอาดบริเวณที่มี อาการโรคเท้าช้าง ร่วมกับ การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูการใช้งาน แขนขา โดยจะนวดตรงที่บวม เพื่อ จะเพิ่มอัตราการไหลเวียนของน้ำเหลือง
  • ผู้ป่วยบางราย ทีมีอาการรุนแรง บวมมาก แพทย์อาจจะพิจารณาให้ผ่าตัด

เราป้องกันโรคเท้าช้างได้อย่างไร

  • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดย ทายากันยุง นอนในมุ้ง หรือ นอนห้องมุ้งลวด
  • กำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามแหล่งน้ำต่างๆ บริเวณบ้าน ไม่ให้มีน้ำขัง
  • คนที่อยู่ในแหล่ง ที่มีการระบาดของ โรคเท้าช้าง ควรกินยาป้องกัน ได้แก่ Diethylcarbamazine ( DEC ) โดย สามารถติดต่อรับยาได้ที่ หน่วยรักษาพยาบาลใกล้บ้าน สถาณีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน

การป้องกันโรคเท้าช้างที่สำคัญ คือ ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด โดยการ นอนในมุ้ง ทายากันยุง การใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เป็นต้น นอกจากนั้นต้องควบคุมและกำจัดยุงที่เป็นพาหะของโรค โดย กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่างๆ กำจัดวัชพืช และพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำยุงลายเสือ เป็นต้น สำหรับเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคสูง วิธีที่ช่วยลดการแพร่กระจายของโรคได้ดี คือ การให้ประชาชนที่อยู่ในแหล่งระบาดของโรคเท้าช้างกินยาฆ่าเชื้อหนอนพยาธิ

เส้นเลือดสมองแตก ( hemorrhagic stroke ) เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองแตก ทำให้สมองขาดเลือด ส่งให้เซลล์สมองตาย สังเกตุอาการ คือ ปวดหัวรุนแรง อาเจียน หมดสติ อันตรายมาก

เส้นเลือดสมองแตก โรคระบบประสาทและสมอง

เส้นเลือดสมองแตก ( hemorrhagic stroke ) คือ ภาวะเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองแตก ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองตาย โรคระบบประสาทและสมอง โดยจะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง และ หมดสติ เป็นโรคอันตราย ต้องรับการรักษาทันที โรคหลอดเลือดในสมอง ชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อย ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง

ภาวะหลอดเลือดสมองแตก จึงเป็นความเสี่ยง ขอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง ที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะ หากเกิดขึ้นมาแล้ว ส่วนมากจะรักษาไม่ทัน และ เป็นเหตุให้ต้องเสียชีวิต ซึ่งลักษณะอาการจะเป็นแบบ เฉียบพลัน ทำให้หากไม่ส่งตัวรักษาได้ทัน จะทำให้เกิด ภาวะเลือดคั่งในสมอง ทำให้เนื้อสมองตาย สุดท้ายก็จะเสียชีวิต หรือ ภาวะสมองตาย ในที่สุด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของคนรอบข้าง และ หมั่นตรวจร่ากาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เพื่อรักษาชีวิตให้นานยิ่งขึ้น โดยมากแล้ว

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยโรคอื่น เพราะ โรคความดันโลหิตสูง มักจะมาจาก ภาวะไขมันในเลือด มากกว่าปกติ ซึ่งจะไปเกาะตามหลอดเลือด ทำให้ ช่องทางการเดินของเลือด ลดลง ทำให้ความดัน หรือ แรงฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้น (สังเกตุจากเวลาที่เราเอานิ้วอุดสายยางที่ปล่อยน้ำ น้ำที่ออกมาจะไหลแรงขึ้น) เส้นเลือดในสมองนั้นมีความเปราะบาง หากแรงดันในเลือดมากเกินไป หรือ เกิดการกระทบกระเทือนใดๆ จะทำให้เกิดการฉีกขาด สมองจะขาดเลือดเฉียบพลัน เลือดไปคั่งอยู่ในเนื้อสมอง เกิดภาวะสมองตาย ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าเสียชีวิต ถึงแม้ว่าหัวใจจะยังทำงานได้อยู่ก็ตาม และ หายใจปกติก็ตาม

เส้นเลือดสมองแตกเกิดจากอะไร?

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคนั้น สามารถแบ่งได้มี 2 ประเภท คือ สาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และ สาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ โดยรายละเอียด มีดังนี้

สาเหตุของเส้นเลือดสมองแตกที่หลีกเลี่ยงได้มีอะไรบ้าง?

  • โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากพฤติกรรม ของผู้ป่วย เช่น ชอบรับประทานอาหารมัน ของทอด แป้ง การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • โรคเบาหวาน นอกจากพฤติกรรมการกินแล้ว การขาดการออกกำลังกาย ก็เป็นสาเหตุได้ เพราะ น้ำตาลตกค้างในเลือดมาก การออกกำลังกาย จะเป็นการใช้น้ำตาลในเลือดให้ลดลง และ เพิ่มประสิทธิภาพ การเผาผลาญพลังงานของร่างกาย พบว่า ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จะมีความเสี่ยงในการเป็น โรคเบาหวาน ลดลงมาก และ ลด ความเสี่ยงการเกิด โรคเส้นเลือดในสมองได้อีก 2-5 เท่า
  • การสูบบุหรี่ นอกจากจะเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิด โรคความดันโหลิตสูง แล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อความแข็งตัวของหลอดเลือด เพราะมี สารนิโคติน และ คาร์บอนมอนอกไซด์  จะไปลดความยืดหยุ่นของหลอดเลือด พูดง่ายๆว่าทำให้เส้นเลือดเปราะมากขึ้น เสี่ยงต่อการฉีกขาด แตก รั่ว โดยเฉพาะ ในอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง
  • ภาวะไขมันตัวร้ายในเลือดมาก ไขมันตัวร้าย คือ ไขมัน LDL (Low Density Lipoprotein) มักจะไปเกาะที่พนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย มาจาก อาหาร ที่มีไขมันเป็นสวนประกอบ การเปลี่ยนรูป จากแป้ง ที่เกินความจำเป็น ไขมัน
  • ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ในผู้หญิงที่ต้องการคุมกำเนิด หรือ ที่นิยมในสาวประเภทสอง เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง มักจะมีผลข้างเคียงต่อการแข็งตัวของหลอดเลือด
  • เชื้อโรคบางชนิด เช่น โรคซิฟิลิส ซึ่ง สามารถติดต่อ ได้ทางเพศสัมพนธ์ มีผลต่อการอักเสบของหลอดเลือดทั่วร่างกาย
  • ค่า CRP (C-reactive protein) ในเลือดสูง เป็น การแสดง การตอบสนองต่อร่างกาย ต่อการอักเสบในเลือด โดยมากแล้ว การอักเสบที่พบบ่อยมากที่สุด จะพบที่หลอดลเลือด ถ้าค่านี้มากกว่า 0.3 แสดง ถึงคามเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือด มาก และ อายุ จะสั้นกว่าคนปกติ
  • โรคอ้วน พบว่า ผู้ป่วยโรคอ้วน มีโอกาสสูงมาก ที่จะป่วยโรคนี้

สาเหตุของเส้นเลือดสมองแตกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้มีอะไรบ้าง?

  • อายุ  เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของระบบต่างๆมนร่างกาย จะลดลง ทั้ง การเผาพลาญพลังงาน ระบบภูมิคุมกันของร่างกาย ระบบไหลเวียนของเลือด การสร้างโปรตีนที่สำคัญต่างๆ ดังนั้น เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดจะ ลดความยืดหยุ่นลง การอักเสบในหลอดเลือด จะหายช้าขึ้น
  • พันธุกรรม ที่ควบคุมการแข็งตัวของเลือด พบว่าผู้ป่วยบางราย มีการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าคนปกติ ทำให้ เมื่อหลอดเลือดอักเสบ จะเกิดการอุดตันของเกร็ดเลือด เสี่ยงต่อการเป็น โรคเส้นเลือดในสมองแตก มากยิ่งขึ้น
  • เพศ จากการเก็บสถิติผู้ป่วย ในประเทศไทย พบว่า ผู้ชาย มีจำนวณผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า ผู้หญิง ซึ่งนอกจาก เพศ แล้ว อาจจะมาจากธรรมชาติ พฤติกรรมการดำรงชีวิต ความเสี่ยงเรื่องของ การกระทบกระเทือนที่สมอง
  • อุบัติเหตุ จากการเดินทาง จากการเล่นกีฬา การทะเลาะวิวาท

ลักษณะอาการของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกเป็นอย่างไร? 

อาการที่พบจะเป็นอาการทางสมอง เพราะ มาจากสมองตาย โดยอาการหนัก-เบา ขึ้นอยู่กับ ความรุนแรง ตำแหน่ง ของหลอดเลือดที่แตก ฉีก ขาด อาการต่างนี้ จะเป็นสัญญาณแรก ในการเตือน ให้ผู้ป่วยคนรอบข้าง อย่านิ่งนอนใจ รีบพบแพทย์โดยด่วน ภายในสาม ชั่วโมง เพราะ จัดเป็นโรคร้ายแรง หากไม่รีบพบแพทย์ จะเสี่ยต่อการเสียชีวิต หรือ เป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาตซึ่งหากเป็นแล้ว จะกระทบต่อการดำรงชีวิต ของผู้ป่วยเอง และ คนรอบข้าง เสียค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูร่างกาย และ โรคแทรกซ้อนต่างๆอีกมาก

  • อาการปวดศีรษะรุนแรง วินเวียนศีรษะ ทันทีทันใด
  • อาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เสียการทรงตัว ลุกยืนแล้วล้ม เดินเซไม่ตรง
  • อาการชา ครึ่งซีก จะรู้สึกก่อนที่ปลายมือ ปลายเท้า ข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้น ลุกลามทั้งครึ่งซีกร่างกาย
  • อาการปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว ดื่มน้ำแล้วน้ำไหลออกจากปาก ควบคุมไม่ได้
  • สูญเสียการมองเห็น ตาจะเริ่มพล่ามัว จากนั่นจะมองไม่เห็น ข้างใดข้างหนึ่ง ของดวงตา

เราวินิจฉัยโรคเส้นเลือดในสมองแตกอย่างไร? 

เนื่องจาก เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาขึ้นมากในปัจจุบัน ทำให้การตรวจ บ่งชี้ ตำแหน่ง ความรุนแรง ได้แม่นยำมากขึ้น ส่งผล การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • การตรวจอาการเบื้องต้น ตรวจการตอบสนองของร่างกาย สมมาตรของใบหน้า ให้ผู้ป่วยยกแขนขา ทดสอบแรงต้าน
  • การเอกซเรย์สมอง ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมผิวเตอร์ computerized tomography ทำให้ทราบ ตำแหน่ง ที่เลือดคั่ง หรือ ตำแหน่งที่สมองขาดเลือด
  • การตรวจสมองคลื่นสมอง โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า magnetic resonance imaging จะทราบลักษณะ เนื้อสมองภายในกะโหลก หลอดเลือดสมองรอบๆ หลอดเลือดจากหัวใจ ที่ผ่านมาทางลำคอ วิธีนี้ประสิทธิภาพ และ ลดอาการบาดเจ็บจากรังสีได้มาก
  • การตรวจระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ใช้ประกอบการประเมินการรักษา  เช่น การตรวจเลือด เพื่อ หาค่าความเข้มข้น และ ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง ตรวจระดับไขมันในเลือดเพื่อ ทราบสาเหตุหลัก จากภาวะไขมันในเลือดสูง การตรวจระดับ น้ำตาลในเลือด เพื่อ พิจารณาสาเหตุ จากโรคเบาหวาน การวัดคลื่นไฟฟ้าหัว เพื่อ พิจารณาดู การทำงานของหัวใจ ว่ายังปกติหรือไม่

แนวทางการรักษาโรคเส้นเลือดในสมองแตกทำอย่างไร? 

เนื่องจาก เป็นโรครุนแรง และ เร่งด่วน หากปล่อยไว้ จะทำให้สมองตาย จะทำการผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้อสมอง ระบายเลือดออกจากกะโหลกศีรษะ ควบคุมแรงดันเลือด ผู้ป่วยจะกลับมาปกติได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงที่เป็น อายุ การฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โรคนี้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง หากรอดชีวิต การฟื้นฟู สำคัญมาก ทั้งเรื่องของร่างกาย และจิตใจ คนรอบข้าง คนใกล้ชิด ต้องเรียนรู้เข้าใจผู้ป่วย กำลังใจผู้ป่วยเป็นสิ่งที่จำเป็น

เราป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองแตกได้อย่างไร? 

สามารถทำได้ โดย การควบคุมความเสี่ยงจาก สาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ได้แก่

  • ออกกำลังกายตามสมควร อย่างน้อย 3 วัน ต่อ สัปดาห์ แต่ละครั้งที่ออกกำลังกาย ให้รู้สึกเหนื่อยหอบ และ หยุด ทำซ้ำ จนครบ 45 นาที
  • ลดปริมาณอาหาร มัน อาหารทอด อาหารผัด แป้ง เพิ่ม ผัก ผลไม้ เนื้อปลา สัดส่วน 3:1 คือ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ สามส่วน ต่อ แป้ง ไขมัน 1 ส่วน มื้อเย็น ควรรับประทานก่อน 6 โมงเย็น และ ไม่ควรรับประทานมาก แค่พออิ่ม รสชาติอาหารให้ลด หาน มัน เค็ม ลง แรกๆ จะไม่อร่อย แต่ หลังจากนั้น 7 วัน สมองจะชินกับรสชาติ และ อร่อยขึ้นมาเอง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ในวันทำงาน อย่างน้อบ 7 ชั่วโมง
  • ไม่หักโหมงานมากเกินไป เพราะ จะทำให้เกืดความเครียด ส่งผลลบ ต่อ ร่างกาย โดยรวม ทั้งระบบ ภูมิคุ้มกัน ระบบสมองและหลอดเลือด
  • เลิกดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือ เสพสารเสพติด ทุกชนิด
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อพบ ความเสี่ยง ให้ควบคุมตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ความดันเลือด
  • อาการเตือนของโรคเส้นเลือดในสมองแตก ตามที่กล่าวมาข้างต้น หากพบ คนใกล้ชิด มีอาการ ให้รีบส่งตัวพบแพทย์โดยด่วย หากผู้ป่วยหมดสติ ให้อธิบายอาการให้แพทย์ทราบ
  • ควบคุม BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อ่านวิธีคำนวณ BMI ได้จากบทความเรื่องสารความแก่ AGE
  • ในต่างประเทศ ใช้คำว่า FAST โดย F=Face dropping (หน้าตก ปากเบี้ยว) A=Arm weakness (แขนอ่อนแรง) S=Speak difficulty (พูดไม่ชัด) T=Time (รีบแรกรถพยาบาล) เพื่อเตือนใจ ให้รักษาชีวิตผู้ป่วยได้ทันเวลา

แหล่งอ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ต้องดูอาการ อย่างต่อเนื่อง และบำบัดเพื่อไม่ให้เสันเอนตาย การได้รับออกซิเจน ที่บริสุทธิ ตามธรรมชาติที่ไม่มีมลพิษ จะเพิ่มการขยายตัวของเส้นเลือด จะดีขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลาย ปัจจัยของร่างกาย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย