มะนาว พืชพื้นบ้าน นิยมนำมาปรุงรสชาติอาหารให้รสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะนาว คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณของมะนาว เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด ลดอักเสบ โทษของมะนาวมะนาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะนาว ( Lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle มะนาวเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับส้ม (RUTACEAE) ชื่อเรียกอื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น

มะนาว จัดว่าเป็นพืชมหัศจรรย์ พืชเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการใช้สูง จากการศึกษาสารในมะนาว พบว่า น้ำมะนาว มีสารฟลาโวนอยด์ สูง ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดอาการอักเสบ และ รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปรกติ สำหรับการนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสชาติ ให้รสเปรี้ยว มีการนำเอามะนาวมาแปรรูปเป็นอาหารหลายรูปแบบ เช่น มะนาวดองเปรี้ยวหวาน มะนาวแช่อิ่ม มะนาวผง และ น้ำมะนาวสำเร็จรูป

ลักษณะของต้นมะนาว

ต้นมะนาว เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย สำหรับการปลูกมะนาวนั้น สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ ทาบกิ่ง และ การเพาะเมล็ดพันธ์ุ ต้นมะนาวมีหลากหลายสายพันธ์ุ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ ลักษณะของต้นมะนาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของมะนาว ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสอง สี เปลือกอ่อนสีเขียว เปลือกแก่มีสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามแหลมคม ซึ่งหนามมักอยู่ตามซอกใบ
  • ใบมะนาว เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งก้านของลำต้น ใบมีลักษณะรี ผิวใบเรียบ มันวาว สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกมะนาว ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาว คล้ายรูปทรงกระบอก
  • ผลมะนาว พัฒนามาจากดอกมะนาว ผลสดมะนาวมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีสีเขียว ภายในผลชุ่มน้ำ ผิวเปลือกของมะนาวมีต่อมน้ำมันที่ผิว
  • เมล็ดมะนาว ลักษณะของเมล็ดคลายหยดน้ำ ปลายเมล็ดแหลม มีรสขม เมล็ดของมะนาวอยู่ในผลมะนาว ซึ่งเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้

สายพันธุ์ของมะนาว

สำหรับมะนาวมีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ คือ มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวหนัง และ มะนาวทราย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะนาวไข่ ลักษณะเปลือกบาง ผลกลม หัวท้ายยาว สีอ่อนคล้ายไข่เป็ด
  • มะนาวแป้น ลักษณะผลใหญ่กลม เปลือกบาง มีน้ำมะนาวมาก นิยมใช้บริโภคเชิงพาณิชย์ โดยสายพันะุ์ พันธุ์แป้นรำไพ และแป้นดกพิเศษ นิยมปลูกมากที่สุด
  • มะนาวหนัง ลักษณะผลกลม เปลือกหนา สามารถเก็บรักษาได้นาน
  • มะนาวทราย ไม่นิยมนำมาบริโภค เนื่องจากน้ำมะนาว มีรสขม นิยมนำมาปลุกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นมะนาวทรายลักษณะเป็นพุ่มสวน ให้ผลตลอดปี

สำหรับ มะนาวสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ไม่นิยมปลูกในประเทศไทย เช่น มะนาวตาฮิติ มะนาวหวาน มะนาวปีนัง มะนาวโมฬี มะนาวพม่า มะนาวเตี้ย เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

สำหรับมะนาว นิยมใช้ประโยชนืจากน้ำมะนาว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะนาว ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

น้ำมะนาว มีสารเคมีสำคัญเป็รส่วนประกอบ คือ กรดมาลิค ( Malic Acid ) กรดแอสคอร์บิก ( Ascorbic Acid ) และ กรดซิตริค ( Citric Acid )

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะนาว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และ ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะนาว

สำหรับ มะนาว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้หลากหลาย และ สามารถใช้ได้แทบบทุกส่วนของต้น ทั้ง ใบมะนาว รากมะนาว เปลือกผลมะนาว น้ำมะนาว โดย สรรพคุณของมะนาว มีรายละอียด ดังนี้

  • ใบมะนาว สามารถช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • รากมะนาว สามารถช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกผลมะนาว สามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้เวียนหัว รักษาหูด
  • น้ำมะนาว สามารถช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว รักษาอาการระดูขาว ช่วยรักษาอาการลิ้นเป็นฝ้า ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดอาการเหงือกบวม ช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยการเจริญอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิจาง แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการร้อนใน ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคกลาก รักษาโรคเกลื้อน รักษาหิด รักษาโรคน้ำกัดเท้า ช่วยรักษาแผล รักษาแผลน้ำร้อนลวก ช่วยบรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นประสาท
  • น้ำมัันหอมระเหยจากมะนาว สามารถช่วยลดความเครียด ทำให้หลับง่ายขึ้น ช่วยประตุ้นประสาท ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด ทำความสะอาดจมูก

โทษของมะนาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะนาว อย่างปลอดภัยต้องบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะนาวอย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่เกิดอันตราย และ ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากมะนาว โดยข้อควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากมะนาว มีดังนี้

  • น้ำมะนาว มีความเป็นกรด หากสัมผัสเข้ากับผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร การรับประทานน้ำมะนาวสดๆ โดยไม่มีการเจือจากให้รสชาติอ่อนลง อาจทำให้เกิดการระคายเครื่องระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรด
  • กรดจากน้ำมะนาว ทำให้ฟันกดกร่อนง่าย ไม่ควรอมน้ำมะนาวไว้ในปากนานๆ
  • ความเปรี้ยวจากน้ำมะนาว ช่วยลดกลิ่นคาว และ กำจัดแบคทีเรีย แต่การกินเปรี้ยวมากเกิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูกได้

มะนาว พืชพื้นบ้าน นิยมนำน้ำจากผลมะนาว มาปรุงรสชาติอาหาร ให้รสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะนาว เป็นอย่างไร ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของมะนาว สรรพคุณของมะนาว เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด ลดอาการอักเสบ เป็นต้น โทษของมะนาว มีอะไรบ้าง

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณเด่นแก้ปวดฟัน ระงับกลิ่นปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ต้นกานพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ สรรพคุณและโทษของกานพลูมีอะไรบ้างกานพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกานพลู ( Clove ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกานพลู คือ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry กานพลู คือ พืชตระกลูชมพู่ เป็นไม้ยืนต้น สรรพคุณหลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แหล่งปลูกและส่งออกกานพลู คือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน และประเทศศรีลังกา เป็นต้น

ลักษณะของต้นกานพลู

สำหรับ ต้นกานพลู จัดเป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศแถบเอเชียกลาง ดอกกานพลูตากแห้ง นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยเฉพาะบำรุงเหงือกและฟัน ลักษณะของต้นกานพลู มีดังนี้

  • ลำต้นกานพลู เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร ลักษณะของต้นกานพลูเป็นพุ่มทรงกรวยคว่ำ เปลือกลำต้นเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน เปลือกกานพลูมีต่อมน้ำมัน
  • ใบกานพลู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีความมันวาว
  • ดอกกานพลู ลักษณะเป็นช่อดอก โดยดอกกานพลูแทงออกจากปลายยอด และ ง่ามใบ ดอกกานพลูแตกแขนงเป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีต่อมน้ำมัน
  • ผลกานพลู พัฒนามาจากดอกกานพลู เป็นผลเดี่ยว ในผลกานพลูมีเมล็ด เป็นทรงไข่ ผลแก่กานพลูมีสีแดงเข้ม

กานพลูในประเทศไทย

สำหรับการปลูกกานพลูในประเทศไทย พบว่าสามารถปลูกได้เฉพาะเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และ การปลูกกานพลูในประเทศไทย มีน้อยมาก ความต้องการใช้กานพลูนั้นนิยมใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศในอาหาร ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้ากานพลูเป็นหลัก ปริมาณการนำเข้ากานพลูมากกว่า 100 ตันต่อปี ประเทศที่ส่งกานพลูเข้ามาขายในประเทศไทย คือ ประเทศอินโดนีเชีย

สำหรัยการพลูด้านการรักษาโรค ตำรายาสมุนไพรของไทย เลือกใช้ดอกกานพลูแห้ง ในการนำมาดองเหล้า ใช้แก้ปวดฟัน หรือ นำดอกกานพลูแห้งมาชงน้ำเพื่อดื่ม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม นอกจากนั้น นำกานพลูผสมน้ำใช้ทำยาบ้วนปากช่วยระงับกลิ่นปาก

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

น้ำมันกานพลู คือ น้ำมันที่สกัดได้จากกานพลู ซึ่งมีสรรพคุณในาการยับยั้งการเจริญของ Lactococcus garvieae ซึ่งในน้ำมันกานพลู มี สารeugenol มีสรรพคุณป้องการการเกิดโรคโลหิตจาง ฆ่าเชื้อรา มีฤทธิ์เร่งการขับน้ำดี นำมันกานพลู นำมาเป็นส่วนผสมของอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น นำไปผสมน้ำยาบ้วนปาก นำมาใช้เป็นยาดับกลิ่นไล่ยุง นำมาแต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ทำสบู่ และ ทำยาสีฟัน

สำหรับสารเคมีต่างในกานพลู พบว่ามีหลากหลาย และ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่ง สามารถสรุป สารเคมีต่างๆในกานพลูส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ใบกานพลู มี Eugenol 94.4 % และ β-caryophyllene 2.9 %
  • ดอกการพลู มี Eugenol 72-90 % Eugenyl acetate 2-2.7 %  β-caryophyllene 5-12 %  และ trans-β-caryophyllene 6.3-12.7 %

สรรพคุณของกานพลู

ประโยชน์ของกานพลู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ดอกกานพลู เปลือกลำต้นกานพลู ใบกานพลู และ น้ำมันกานพลู โดย สรรคุณของกานพลู มีดังนี้

  • ดอกกานพลู สามารถใช้รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดฟัน ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง รักษาหู บรรเทาอาการไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย รักษาโรคหืด ขับเสมหะ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน และ ช่วยดับกลิ่นปาก
  • เปลือกต้นกานพลู สามารถแก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
  • ใบกานพลู สามารถช่วยรักษาอาการปวดท้อง
  • น้ำมันกานพลู สามารถช่วยขับลม แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ

โทษของกานพลู

การนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ นั้นต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธี ซึ่งหากนำกานพลูมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยโทษของกานพลู สามารถสรุป ได้ดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ห้ามใช้กานพลู เพราะ กานพลูทำให้เกิดอันตรายมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • สาร eugenol ที่พบในดอกการพลู ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ไม่ควรใช้น้ำมันกานพลูในปริมาณที่มากเกินไป
  • น้ำมันกานพลู หากนำมาใช้รักษาอาการปวดฟัน หรือ นำมาบ้วนปากเพื่อระงับกลิ่นปากโดยตรง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือกและเยื่อบุในช่องปากได้

กานพลู สมุนไพรกลิ่นหอม สรรพคุณเด่นแก้ปวดฟัน ระงับกลิ่นปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลักษณะของต้นกานพลู คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู ประโยชน์และสรรพคุณของกานพลู มีอะไรบ้าง โทษของกานพลู เป็นอย่างไร ต้นกานพลู

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย