ต้นชะอม นิยมรับประทานยอดอ่อน ต้นชะอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงสายตาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ โทษของชะอมมีอะไรบ้างชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ชะอม ( Climbing wattle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd. ชื่อเรียกอื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ , อม , ผักขา , พูซูเด๊าะ , โพซุยโดะ เป็นต้น ต้นชะอม จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว พืชพื้นเมือง นิยมรับประทานยอดอ่อนชะอม เป็นอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทย เมนูชะอม เช่น ชะอมชุบไข่ทอด แกงหน่อไม้ แกงแค เป็นต้น

สายพันธุ์ของชะอม

สำหรับชะอมที่นิยมปลูก เพื่อรับประทาน มี 3 สายพันธุ์ คือ ชะอมป่า ชะอมเด็ดยอด และ ชะอมไม่มีหนาม โดยชะอมที่วางขายตามตลาดทั่วไป มี 3 สายพันธุ์ คือ ชะอมยอดใหญ่ ชะอมอยอดขนาดกลาง และ ชะอมยอดเล็ก

ลักษณะของชะอม

ต้นชะอม เป็นพืชล้มลุก ชะอมมีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ สามารถขยายพันธ์โดย การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือ การโน้มกิ่งลงดิน ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นของชะอม ลำต้นกลม ตั้งตรง แตกกิ่งก้าน ลำต้นมีหนามแหลมคม เปลือกลำต้นสีน้ำตางอ่อนๆ
  • ใบของชะอม ลักษณะของใบชะอม เป็นใบประกอบ ใบมีสีเขียว ขนาดเล็ก ใบชะอมคล้ายใบกระถิน ใบชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ใบเรียบ
  • ดอกชะอม ออกตามซอกใบ มีขนาดเล็ก สีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

ต้นชะอมนิยมนำยอดอ่อน มารับประทานเป็นผัดสด โดยนำมาลวกก่อน เพื่อลดกลิ่นฉุนของใบชะอม โดยคุณค่าทางโภชนาการของชะอม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย การใยอาหาร 5.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 58 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

การใช้ประโยชน์จากชะอม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากรากชะอมและใบชะอม โดยรายละเอียดของสรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ใบยอดชะอม สรรพคุณช่วยขับลม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงเส้นผม เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับถ่าย แก้โรคท้องผูก
  • รากชะอม สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น

โทษของชะอม

สำหรับการรับประทานชะอม หากรับประทานชะอมในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดโทษได้ โดยข้อควรระวังในการกินชะอม มีดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอด ไม่ควรรับประทานชะอม เพราะ จะทำให้น้ำนมแห้ง
  • การกินชะอมในหน้าฝน ชะอมจะมีรสเปรี้ยว และ กลิ่นฉุนแรง อาจทำให้ปวดท้องได้
  • ชะอมมีกรดยูริก ทำให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถรับประทานได้ แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก

ต้นชะอม พืชพื้นบ้าน นิยมรับประทานยอดอ่อนชะอม ลักษณะของชะอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม สรรพคุณของยอดชะอม เช่น ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงสายตาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง โทษของชะอม มีอะไรบ้าง

เตย สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตยนิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นและสีอาหาร ต้นเตยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตย

เตย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเตย หรือ ต้นเตยหอม ( Pandan leaves ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของเตย เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น ต้นเตย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินเดีย ทวีปแอฟริกา และ ทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำ ใบเตยกับคนไทย จัดว่าเป็นพืชสวครัวที่ขาดไม่ได้ อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาทำอาหาร ให้สีสวยงาม และ กลิ่นหอม

ชนิดของเตย

สำหรับชนิดของต้นเตยสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาทำอาหาร แต่นิยมใช้ใบนำมาทำเครื่องจักสาน
  • เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ไม่มีดอก ใบเตยมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใช้ทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชล้มลุก สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้นเตยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นเตย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเตย ลักษณะของลำต้นเป็นทรงกลม เป็นข้อๆ สั้นๆ โผล่ขึ้นมาจากดิน โคนของลำต้นแตกรากแขนง เพื่อเป็นรากค้ำจุนลำต้นสามารถแตกหน่อได้
  • ใบเตย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ใบออกมาจากข้อของลำต้น ใบสีเขียว ผิวใบเรียบ มีกลิ่นหอม เนื้อใบหนา

เตยในประเทศไทย

ใบเตยหอม เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมาขายใบเตยตามตลาด ใบเตยมักนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบ ใบสดและใบแห้ง ใบเตยมีขายในรูปใบแช่แข็ง ส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเตย

สำหรับการใช้เตยในการบริโภคนั้น ใช้ประโยชน์จากใบเตย โดยนักโภชนาการได้ศึกษาสารต่างๆในใบเตยและคุณค่าทางโภชนาการของใบโดย มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบเตย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 35 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม

ใบเตยยังมีสารสำคัญ เป็นสารในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ คือ anthocyanin , carotenoids , tocopherols , tocotrienols , quercetin , alkaloids , fatty acids , esters และ essential oils

สรรพคุณของเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบเตย น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ลำต้นเตย และ รากเตย รายละเอียด ดังนี้

  • รากของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย แก้ปวดตามข้อและกระดูก แก้ปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ แก้อักเสบในลำคอ
  • ลำต้นของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ

โทษของเตย

สำหรับการบริโภคเตยให้ปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย สำหรับการบริโภคเตยนั้น นิยมนำเตยมาต้ม หรือ นำมาสกัดเอาน้ำสีเขียวมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยต้องใช้เตยในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการบริโภคเตย มีดังนี้

  • ใบเตย มีกลิ่นหอม และ มีน้ำมันหอมระเหย การบริโภคใบเตยแบบสดๆ การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน
  • ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากใบเตย เช่น ชาใบเตย น้ำใบเตย หรือ ชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบเตย ควรศึกษาฉลากผลิตภัณฑ์และ ฉลากขององค์การอาหารและยาให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

เตย พืชพื้นบ้าน สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตย นิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการของใบเตย ประโยชน์และสรรพคุณของเตย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตยมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย