ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Atopic dermatitis ) ความผิดปรกติของผิวหนัง เกิดจากอาการแพ้สิ่งระคายเคืองต่างๆ ทำให้เกิดผดผื่น คันตามผิวหนัง ภูมิต้านทาน สาเหตุ อาการ การรักษา

ภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้

ภูมิแพ้ผิวหนัง คือ โรคอะไร ทำไมถึงเป็นโรคนี้ อาการที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง การตรวจวินิจฉัยโรคทำอย่างไร การรักษาทำอย่างไร สามารถป้องกันโรคนี้ได้ไหม บทความนี้จะเสนอให้ทราบ

ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Atopic dermatitis ) คือ ภาวะความผิดปรกติของผิวหนัง เกิดจากอาการแพ้สิ่งระคายเคืองต่างๆรอบตัว ส่งผลให้เกิดอาการ ผดผื่น คันตามผิวหนัง โรคเกี่ยวกับภูมิตานทาน และ โรคผิวหนัง เป็นโรคที่ เกิดโดยไม่รู้ตัว และ ไม่ทราบสาเหตุ สามารถเกิดได้ทั้งบริเวณ ผิวของใบหน้า และ ลำตัว มักจะเกิดรวมกับ

โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น แพ้อากาศ โรคหอบหืด ซึ่ง โรคเหล่านี้ จะมีความเกี่ยวข้องกับ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ตอบสนองต่อ สิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ ได้ไวกว่าปกติ จะทำให้เกิด อาการแพ้ ขึ้นทันที เนื่องจาก ผิวหนัง เป็นด่านแรก ที่สำคัญ ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้อง ร่างกานทั้งหมด  จากเชื้อโรค ความร้อน ความเย็น พิษของสัตว์ ผิวหนังทำงานร่วมกับ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ระบบประสาทรับความรู้สึก จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ป่วยต้อง จะนิ่งนอนใจไม่ได้ หากเกิดอาการผิดปกติใดๆ

สาเหตุการเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีอะไรบ้าง?

  • อากาศ มลภาวะ สารโหละหนัก ในอากาศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง อากาศที่เย็นขึ้น จะทำให้ผื่นกำเริบ
  • พันธุกรรม เป็นสาเหตุ ที่สำคัญ ขอโรคระบบภูมิแพ้ทั้งหมด เพราะ เป็นตัวกำหนด ระบบภูมิต้านทานภายในร่างกาย ให้มีความมากน้อยแตกต่างกันในแต่บุคคล พบว่า หากคนในครอบครัว เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โอกาสที่จะเป็นมีมากถึง 70%
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุมากแล้ว 35 ปีขึ้นไป พบว่า มีโอกาสสูงที่ลูกในครรภ์ จะเป็น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
  • ได้รับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หลายชนิด ในอากาศ อย่างเช่น ละอองของเกสรดอกไม้ หรือ ไรฝุ่น
  • การซักเสื้อผ้าไม่สะอาด เพราะ เสื้อผ้าสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง หากซักไม่สะอาด ก็จะมีสิ่งสกปรก หรือ สิ่งเร้าต่อระบบภูมิต้านทาน เป็นเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้ อีกทั้ง หากผงซักฟอกตกค้าง คนที่แพ้ผงซักฟอก ก็อาจจะเป็นโรคนี้ได้
  • เกิดจากเหงื่อ เพราะ ในเหงื่อ มีไขมัน เกลือแร่ ปะปนอยู่ หาก ไม่ทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า ก็จะทำให้เกิด เชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ ที่เป็นโทษต่อผิวหนังสะสม เกิดการแพ้ที่ผิวหนังได้
  • อาหารและเครื่องดื่ม อย่างเช่น ถั่ว แอลกอฮอล์ นมวัว ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ควรหมั่นสังเกตุตนเอง ว่ารับประทานอะไรแล้วเกิด อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง
  • การพักผ่อนน้อย ไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และ ไม่มีแรงต้านทาน ต่อ สิ่งเร้ากระตุ้นระบบภูมิต้านทาน
  • การเกา เมื่อเจอสิ่งระคายเคือง ผู้ป่วยมักจะเกา เป็นการทำลายผิวหนังชั้นนอก ทำให้สิ่งระคายเคือง ฝังตัวในผิวหนังขั้น กลาง หรือ ชั้นใน กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิด อาการแพ้ มากยิ่งขึ้น

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นอย่างไร?

  • มีผื่นขึ้นขึ้นบริเวณมือ หลังมือ ปลายมือ เกิดง่าย และ เป็นบ่อยจนผิดปกติ
  • ใต้ตาคล้ำ เพราะ เกิดจากการเป็นรอยพับ ที่มาจากตาที่ และ จะขยี้ตาบ่อยๆ จนเกิดริ้วรอยใต้ตา
  • ผื่นขึ้นตาม ง่ามแขน ง่ามขา ข้อพับต่างๆ
  • บริเวณหน้าจะเป็นผื่นสีอ่อนกว่าสีผิวจริง มักพบบ่อยบริเวณแก้ม สีจะแตกต่างจากสีผิวหน้า อย่างเห็นได้ชัด
  • ผิวเกิดการอักเสบ และ จะคันมาก เพราะ ว่าผิวสูญเสียความชุ่มชื่น มีขุยสีขาว คล้ายๆรังแค แต่จะหนากว่า และ ใหญ่หว่า
  • ในบางราย ผิวอักเสบ และ คัน ถ้าเกาบริเวณที่คัน อาจจะเลือดไหลได้ แสบ แดง เพราะ ผิวไม่แข็งแรง
  • เกิดเป็นผื่นคัน เป็นตุ่มน้ำ จะเป็นจุดแดงๆ เกิดขึ้นบริเวณต่างๆ ตามลำตัว อาการนี้แสดง ว่าเกิดการแพ้ขั้นรุนแรง

เราวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ผิวหนังอย่างไร?

  • แพทย์จะซักประวัติการรักษา โรคประจำตัว ประัติการแพ้อาหาร และ สอบถามอาการผิวหนังอย่างละเอียด
  • สอบถามประวัติ คนในครอบครัวว่ามีประวัติ อาการทางผิวหนัง
  • ตรวจร่างกาย ผิวหนัง ตรวจแบบ Patch Test เพื่อ ที่จะตรวจหา สารโลหะ หรือ สารเคมี ที่แพ้
  • ประเมินการรักษา ดูจาก สาเหตุ ระดับความรุนแรง และ สิ่งเร้าที่แพ้

เรารักษาโรคภูมแพ้ผิวหนังอย่างไร?

  • ผิวหนังที่อักเสบเรื้อรังนั้น แพทย์จะใช้ยาที่ไม่มีสเตียรอยด์ในการทา และ จะให้กินยาแก้แพ้ เพื่อควบคุมอาการแพ้ เบื้องต้น
  • หากมีอาการอักเสบแบบรุนแรง แพทย์จะใช้วิธี การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต เพื่อ ที่จะเข้าไปกดภูมิในร่างกาย ไม่ให้ไวต่อสภาพสิ่งแวดล้อม โดยจะคอยดูอาการตอบสนอง สามารถใช้วิธีนี้ร่วมกับยาแก้แพ้
  • ระยะที่เฉียบพลันนั้น ที่มีตุ่มน้ำ และ น้ำเหลือง ควรจะใช้ผ้าพันแผลชุบกับน้ำเกลือที่สะอาด จากนั้นเอาไปประกบแผล ให้น้ำเหลืองแห้ง แล้ว ทายาสเตียรอยด์ เมื่อหายแล้ว ควรหยุดยา ไม่ควรซื้อยามาทาเอง ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรก่อน เพราะยานั้นอาจจะมีผลข้างเคียง

เราสามารถป้องกันและรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้อย่างไร ?

  • หลังอาบน้ำควรจะปล่อยตัวให้แห้ง หรือ ใช้ผ้าขนหนูเช็ด ห้ามถูแรง หรือ ขัดเป็นอันขาด
  • ควรดูแลสุขอนามัย ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักล้างให้สะอาด อย่าให้มีผงซักฟอกตกค้าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 140 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 3 วัน ต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งที่ออกกำลังกาย รู้สึกว่าหอบแฮกๆ จากนั้น หยุดพัก และ ทำใหม่ไปเรื่อยๆ อย่างน้อย 30 นาที
  • ตัดเล็บให้สั้น เพื่อ ป้องกันการเกา ไม่ให้เป็นแผล และ ติดเชื้อ เพราะ จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น
  • ป้องกันไรฝุ่นในที่นอน ควรจะซักผ้าปูที่นอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว เป็นประจำหลังอาบน้ำ
  • ไม่รับประทานอาหารที่รู้ตนเองแพ้ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้แพ้
  • หากอยู่ใกล้แหล่งมลพิษต่างๆ ควรออกจากพื้นที่นั้น

แหล่งอ้างอิง

  • allergy ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
  • Overview of ‘allergy and allergic diseases: with a view to the future’

ย่านาง ( Bamboo grass ) สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมใช้ใบมาทำน้ำใบย่านาง ลักษณะของต้นย่างนาง ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด โทษของย่างนาง

ย่านาง สมุนไพร

ย่านาง ชื่อสามัญ คือ Bamboo grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels สำหรับต้นย่านางมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ต้นย่านางขยายพันธ์ง่าย โดยการปักชำ แตกหน่อ หรือ การเพาะเมล็ด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าใบย่ายางขนาด 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 95 กิโลแคลอรี

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม  ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง พืชล้มลุก เป็นเถาไม้เลื้อย ปลูกง่าย พบได้ตามพื้นที่ชุ่มชื้น ของป่าต่างๆ ทั้ง ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ การขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว สีเขียว เป็นเถา ลำต้นย่านางเกี่ยวพันกับไม้อื่น และ เถาแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเข้ม ลำต้นผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง รากของย่านางลักษณะเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน ในออกจากลำต้นเรียงสลับกัน
  • ดอกของย่านาง ดอกย่านางออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ดอกออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกของย่างน่างจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลของย่านาง ลักษณะกลมรี สีเขียว มีขนาดเล็ก ผลแก่ของย่านาง สีเหลืองอมแดง มีเมล็ดด้านใน ลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

ประโยชน์ของใบย่านาง

ต้นย่างนางเป็นพืชที่ให้ออกซิเจนสูง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีมลพิษสุง เพราะ ต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์ของย่านาง นิยมนำมาทำอาหาร ใบย่านาง เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำน้ำใบย่านาง

ใบย่านาง ทำให้ผมดกดำ ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ย่านางนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

การใช้ประโยชน์จากต้นย่านาง สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก รากย่านาง และ ใบย่านาง โดยรายละเอียดของสรรพคุณของย่านาง มีดังนี้

  • รากย่านาง พืชมีรสขม สรรพคุณของรากย่านาง รักษาไข้ แก้ไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ช่วยขับพิษต่างๆ
  • ใบยางนาง พืชมีรสขม สรรพคุณช่วยรักษาอาการไข้ ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ สร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ลดความอ้วน ช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการเวียนหัว ป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดตามตัว แก้ปวดกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงสายตา ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง น้ำสมุนไพร แต่ใบย่านางกลิ่นแรง กินยาก การทำน้ำใบย่างนาง หากไม่ปรุงรส อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนการกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง
  • การดื่มน้ำใบย่านาง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป
  • น้ำใบย่านาง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง
  • การกินอาหารเสริมจากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย