ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ อาการมีไข้ ไอเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่สะดวก ไม่มียารักษาแต่สามารถหายเองได้ภายใน 2 วัน หากพักผ่อนให้เพียงพอ โรคหวัดป้องกันอย่างไรโรคหวัด ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

โรคหวัด ในปัจจุบันเป็นโรคที่คนรู้จักโดยทั่วไปพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เชื้อโรคที่ทำให้เกิดหวัดมีสายพันธุ์มากกว่า 100 ชนิด และเมื่อหายจากอาการไข้หวัดแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคชนิดนั้นๆเอง ผู้ป่วยไข้หวัดมักป่วยจากการติดเชื้อเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ๆ จนบางครั้งเราอาจเกิดไข้หวัดหลายครั้งในหนึ่งปี

โรคหวัด ทางการแพทย์เรียก common cold คือ ภาวะการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก คอ ไซนัส และ กล่องเสียง ซึงเมื่อเกิดอาการติดเชื้อจะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปรกติ เช่น ตัวร้อน ไอ จาม เจ็บคอ และ มีน้ำมูก เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งหากพักผ่อนให้เพียงพอสามารถหายเองได้ ภายในสองวัน

โรคหวัด สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัยขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย ดังนั้น โรคหวัดจึงพบว่าเกิดมากในกลุ่มเด็ก คนชรา และ ผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ เป็นต้น โรคหวัดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งจากน้ำมูก การไอ การจาม

สาเหตุการเกิดโรคหวัด

สาเหตุของการเกิดโรคหวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งมีหลายสายพันธ์ที่ทำให้เกิดหวัด แต่เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรงของโรค ซึ่งติดเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้มีเชื้อโรคหวัด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้มีน้ำมูก มีเสมหะ เจ็บคอ ซึ่งปัจจัยที่มีผลเสี่ยงต่อการเกิดไข้หวัด คือ

  • ภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ พบว่าในเด็กและผู้สูงอายุจะตืดเชื้อหวัดได้ง่าย
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่มักจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน และหรือฤดูหนาว
  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มจะป่วยด้วยไข้หวัดได้ง่าย และหากเป็นก็จะอาการรุนแรงกว่าปกติอีกด้วย
  • การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค สถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดได้ง่าย

อาการของโรคหวัด

สำหรับอาการของโรคหวัด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ ซึ่งจะแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบทางเดินหายใจร่วมกับอาการอ่อนเพลีย มีไข้สูง หากพักผ่อนให้เพียงพอสามารถหายเองได้ใน 2 วัน อาการของไข้หวัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของไข้หวัในเด็กและอาการไข้หวัดในผู้หญ่ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการไข้หวัดในเด็ก มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสไข้สูงต่อเนื่องมากกว่า 2 วัน โดยอาการไม่ดีขึ้นปวดหัว ไออย่างรุนแรง หายใจมีเสียงหวีด ง่วงนอนมากผิดปกติ เบื่ออาหาร
  • อาการไข้หวัดในผู้ใหญ่ มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 5 วันขึ้นไป หายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด เจ็บคออย่างรุนแรง ปวดศีรษะ ปวดบริเวณไซนัส

การรักษาโรคหวัด

สำหรับแนวทางการรักษาไข้หวัด ไม่จำเป็นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสทุกชนิด ซึ่งการรักษาให้รักษาโดยการประคับประครองตามอาการของโรค เช่น กินยาลดไข้ พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหวัด

โรคหวัดสามารถกายเองได้ในสองวันหากพักผ่อนให้เพียงพอ แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ็อนจากไข้หวัด เนื่องจากอาจทำให้อาการของไข้หวัดรุนแรงมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดไข้หวัด มีดังนี้

  • ภาวะติดเชื้อที่หูชั้นกลาง เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่แก้วหู ทำให้เกิดอาการติดเชื้อภายในหู สังเกตอาการจากอาการปวดหู และในบางกรณีอาจมีน้ำหนองออกมาจากหู หากปล่อยไว้อาจทำให้แก้วหูทะลุได้
  • โรคหอบหืด หรือ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว อาการไข้หวัด ทำให้โรคหอบหืดรุนแรงมากขึ้น
  • โรคไซนัสอักเสบ หากเชื้อโรคเข้าสู่โพรงไซนัส จะทำให้เกิดอาการติดเชื้อจนกลายเป็นไซนัสอักเสบได้
  • คออักเสบ หากเชื้อโรคเข้าสู่ลำคอ จะทำให้เกิดอาการคออักเสบ เจ็บคอและไอรุนแรง
  • หลอดลมอักเสบ หากเชื้อโรคลงมาที่หลอดลม อาจทำให้หลอดลมอักเสบ ไอมากขึ้น
  • ปอดบวม หากเชื้อโรคแพร่เข้าสู่ปอดจะทำลายปอด หากไม่รีบรักษาเป็นอันตรายได้

การป้องกันไข้หวัด

สำหรับแนวทางการป้องกันไข้หวัด มีแนวทางการป้องกันจากการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้ร่างกายรับมือต่อเชื้อโรคต่างๆ และ ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร หรือ สัมผัสสิ่งต่างๆ
  • ใช้เครื่องป้องกับ ผ้าปิดปาก หากต้องเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ในช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลงให้ทำให้ร่างกายอบอุ่นเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

โรคลมชัก Epilepsy ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที การรักษาทำอย่างไรโรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคลมชัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และ มีสาเหตุของการเกิดโรคที่หลากหลาย เช่น กรรมพันธุ ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมอง โรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ทำให้มีอาการชักตามมา ส่วนพบมากในเด็กที่มีสุขภาพปกติ มีพัฒนาการที่ดี ไม่มีปัญหาทางสมองใดๆ แต่ก็อาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพในสมอง อาการชักอาจไม่ได้หมายถึงโรคลมชักเสมอไป

ประเภทของอาการชัก

สำหรับอาการชัก เกร็ง กระตุก สามารถแบ่งลักษณะอาการของการชัก ได้เป็น 3 ประเภท คือ อาการชัก อาการเกร็งกระตุกกล้ามเนื้อ และ โรคลมชัก รายละเอียด ดังนี้

  • อาการชัก ( Seizure ) เกิดจากความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมองชั่วขณะ ส่งผลให้เกิดอาการทางสมอง แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายเองได้หากสามารถรักษาสาเหตุของอาการชักได้ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคสมองอักเสบ ภาวะการขาดวิตามิน เป็นต้น
  • อาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ ( Convulsion ) ลักษณะอาการคล้ายกับอาการชัก แต่อาจไม่ใช่อาการเกร็งกระตุกไม่ใช้อาการชักเสมอไป เช่น อาการเกร็งของคนไข้ขณะเป็นลม เป็นต้น
  • โรคลมชัก ( Epilepsy ) คือ อาการผิดปรกติของสมองเกิดจากกระแสไฟฟ้าในสมองลัดวงจรอย่างถาวร ทำให้เกิดอาการชักโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดอาการชัก

สาเหตุโรคลมชัก

สำหรับโรคลมชักในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของสาเหตุที่ชัดเจน มักเกิดจากการที่สมองถูกการกระทบกระเทือน ทั้งนี้ภายในสมองนั้นเต็มไปด้วยเซลล์ประสาท กระแสไฟฟ้า และสารเคมี ที่ถูกเรียกว่า สารสื่อประสาท หากถูกกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหายก็อาจทำให้สมองเกิดการทำงานที่ผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชัก ซึ่งโรคลมชัก สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้  2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุและกลุ่มที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดมีดังนี้

  • โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุได้แน่ชัด ( Primary Epilepsy ) สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ มีความผิดปกติของยีนส์ในร่างกายเอง
  • โรคลมชักที่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ ( Secondary Epilepsy ) เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง กอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง การเสพยาเสพติด การติดสุราเรื้อรัง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการขาดออกซิเจน สาเหตุเหล่านี้ มักเกิดกับผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

ปัจจัยการเกิดโรคลมชัก

โรคลมชักมีทั้งที่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนและไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เราสามารถบอกถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมชัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • อายุ ช่วงอายุที่มีโอกาสเกิดลมชักมากที่สุด คือ วัยเด็ก และ วัยสูงอายุ
  • ประวัติครอบครัว หากในครอบครัวนั้นมีประวัติว่ามีผู้ป่วยโรคลมชัก ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมชักในครอบครัวก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้สมองถูกทำลาย จนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคลมชัก
  • ภาวะสมองเสื่อม ( Dementia ) มักเกิดกับผู้สูงอายุ
  • ภาวะติดเชื้อที่สมอง ( Brain Infections )
  • มีประวัติชักในวัยเด็ก อาจทำให้ความเสี่ยงโรคลมชักเพิ่มขึ้นหากมีอาการชักที่ยาวนาน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทอื่น ๆ รวมทั้งมีประวัติโรคลมชักในครอบครัว

อาการโรคลมชัก

สำหรับอาการของโรคลมชัก จะแสดงความผิดปรกติให้เห็นชัดเจน จากอาการชัก ไม่สามารถควบคุมร่างกายอย่างมีสติได้ โรคนี้หากอยู่คนเดียวจะเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรทำกิจกรรมหลาย เช่น ทำงานบนที่สูง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ขับรถ  เป็นต้น ลักษณะของอาการชัก แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการชักเฉพาะส่วน และ อาการชักแบบต่อเนื่อง รายละเอียดดังนี้

อาการชักเฉพาะส่วน ( Focal Seizures ) คือ เกิดอาการชักบางส่วนในร่างกาย ซึ่งก็สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ อาการชักเฉพาะส่วนแบบรู้ตัว และ อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว รายละเอียดดังนี้

  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบชักแบบรู้ตัว (Simple Focal Seizures) ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกแปลกๆ รู้สึกวูบ อาจเกิดจากความกลัวอย่างกะทันหัน รู้สึกชาที่แขนและขา หรือ มีอาการชักกระตุกที่แขนและมือ เป็นต้น อาการชักมีสัญญาณเตือนของอาการชักผู้ป่วยและคนรอบมักจะเตรียมรับมือได้ทัน
  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว ( Complex Partial Seizures ) ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างได้เลย เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวอาการชักก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเวลาใด

อาการชักต่อเนื่อง ( Status Epileptics ) อาการชักชนิดนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมากกว่า 30 นาที เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสมอง

แนวทางการวินิจฉัยโรคลมชัก

เนื่องจากระบบประสาทและสมอง มีความซับซ้อนมาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และ ใช้เครื่องมือที่มีความพิเศษสูง จึงจะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของโรคได้อย่างชัดเจน เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การแสกนเอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก

แนวทางการรักษาโรคลมชักขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค บางครั้งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ใช้การรับประทานยาต้านอาการชัก ซึ่งกลไกหลักของยาต้านอาการชักคือ ยาจะเข้าไปปรับเปลี่ยนปริมาณสารเคมีในสมองช่วยลดโอกาสการเกิดอาการชัก ในกรณีที่ใช้ยาไม่สามารถควบคุมอาการชัก อาจต้องรับการผ่าตัด เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ( Vagus Nerve Stimulation )  และ กระตุ้นสมองส่วนลึก ( Deep Brain Stimulation )

  • หากผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก และ ตั้งครรภ์ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เนื่องจาก ยาลดการชักมีผลต่อทารกในครรภ์ ทางที่ดีให้คุมกำเนิดรอจนอาการชักหายเป็นปกติก่อนดีกว่า
  • หากต้องเดินทางควรรับประทานยาให้ตรงเวลา ไม่ควรเลื่อนการรับประทานยา
  • ในเด็กหากต้องไปโรงเรียนจะต้องแจ้งให้ครูประจำชั้นทราบ เพื่อ ไม่ให้เกิดการแตกตื่น และ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ทันเวลา

การป้องกันโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค สิ่งที่สามารถป้องกัน คือ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบ โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • สวมป้ายข้อมือทางการแพทย์ ระบุว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คนรอบข้างทราบว่าต้องช่วยผู้ป่วยอย่างทันท่วงที
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

 

โรคลมชักEpilepsy ) คือ ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที แนวทางการรักษาทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย