ทับทิม ผลไม้เพื่อสุขภาพ ต้นทับทิมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม สรรพคุณของทับทิม ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บรรเทาโรคหัวใจ ลดความดันโลหิต โทษของทับทิมทับทิม สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของทับทิม

ต้นทับทิม ภาษาอังกฤษ เรียก Pomegranate ชื่อวิทยาศาสตร์ของทับทิม คือ Punica granatum L.  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทับทิม เช่น พิลา พิลาสี หมากสีลา หมากจัง พิลาขาว มะก่องแก้ว และ มะเก๊าะ เป็นต้น ทับทิม มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่าน และ ทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย

น้ำทับทิม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดการแข็งตัวของเลือด บรรเทาอาการโรคไขมันโลหิตสูง โรคโรคหัวใจ ช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง สายพันธุ์ของทับทิม สำหรับสายพันธุ์ทับทิมดั้งเดิม สามารถจำแนกสายพันธุ์ทับทิมได้ 3 สายพันธุ์ คือ ทับทิมแดง ( Ahmar ) , ทับทิมแดง ( Asward ) และ ทับทิมแดง ( Halwa )

ทับทิมกับความเชื่อ

สำหรับเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆกับทับทิม เชื่อกันว่า ใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลใช้ในการประกอบพิธีน้ำมนต์ เพื่อคุ้มกันภัย ความเชื่อของชาวจีน นิยมใช้ทับทิมไหว้เจ้า และ บรรพบุรุษ เชื่อว่าทับทิมมีเมล็ดมาก สื่อความหมายถึงการมีลูกชายมากๆ คอยสืบสกุล และ สร้างความเจริญก้าวหน้า

ลักษณะของต้นทับทิม

ต้นทับทิม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก อายุยาวนาน มากถึง 100 ปี ทับทิมชอบอากาศหนาวเย็น ชอบพื้นที่สูง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทับทิม มีดังนี้

  • รากทับทิม มีระบบรากแก้วและรากฝอย
  • ลำต้นทับทิม ลักษณะลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่ระดับล่าง ความสูงของลำต้นประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นบาง สีเทา เป็นมันเงา เนื้อไม้แข็งและเหนียว กิ่งของทับทิมมีหนามยาว
  • ใบทับทิม ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ ใบเรียวยาวปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม และใบเป็นมันวาว
  • ดอกทับทิม ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามปลายยอดของกิ่ง กลีบดอกมีหลายสี เช่น ขาว ส้ม แดง
  • ผลทับทิม ลักษณะกลม เปลือกของผลหนา ผิวเปลือกเป็นมันวาวและผิวเกลี้ยง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีเนื้อหุ้ม มีรสหวาน รับประทานได้ สามารถนำเมล็ดมาคั้นเป็นน้ำทับทิมได้

คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม

สำหรับการรับประทานทับทิม นิยมรับประทานผลของเนื้อทับทิม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณคค่าทางโภชนาการของเนื้อทับทิม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 83 กิโลแคลอรี ซึ่งมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม น้ำตาล 13.67 กรัม กากใยอาหาร 4 กรัม ไขมัน 1.17 กรัม โปรตีน 1.67 กรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.293 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.075 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 10.2 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.6 มิลลิกรัม วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.119 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 236 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 3 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

เปลือกของทับทิม มีสารในกลุ่มแทนนินสูงถึงร้อยละ 25 คือ Gallotannin และ Ellagictannin สรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ และ ต่อต้านการเจริญเติบโตของมะเร็งได้

สรรพคุณของทับทิม

สำหรับ สรรพคุณของทับทิม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากหลายส่วน เช่น เนื้อผลทับทิม เปลือกผลทับทิม ดอกทับทิม รากทับทิม และ ใบทับทิม สรรพคุณของทับทิม มีดังนี้

  • เนื้อของผลทับทิม สรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงเลือด ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี ป้องกันโรคข้อกระดูกอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • เปลือกผลทับทิม เปลือกมีรสฝาด สรรพคุณช่วยขับพยาธิ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาแผลติดเชื้อ รักษาแผลหนอง รักษาโรคผิวหนัง ป้องกันฟันผุ ลดกลิ่นปาก
  • ดอกทับทิม สรรพคณูช่วยห้ามเลือด
  • ลำต้นทับทิม สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ
  • ใบทับทิม สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง รักษารังแค รักษาแผลสด

โทษของทับทิม

สำหรับโทษของทับทิม เนื่องจากทับทิม มีความเป็นพิษที่เปลือกของผล และ ลำต้น การใช้ประโยชน์จากเปลือกและลำต้นของทับทิมต้องใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง โทษของทับทิม มีดังนี้

  • เปลือกทับทิมที่มีสาร gallotannin ที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งเป็นพิษต่อตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ห้ามรับประทานเปลือกทับทิม
  • รากทับทิมีความเป็นพิษ การรับประทานรากและลำต้นของทับทิมในปริมาณมากอาจไม่ปลอดภัย

กระท้อน นิยมทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อนเป็นอย่างไรกระท้อน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Santol ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระท้อน คือ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน เช่น สะตู สตียา สะโต เตียนล่อน สะท้อน มะติ๋น มะต้อง เป็นต้น ต้นกระท้อน เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและมาเลเซีย จากนั้นมีการเผยแพร่ไปยังประเทศในเขตร้อน เช่น อินเดีย เกาะบอร์เนียว หมู่เกาะโมลุกกะ และประเทศฟิลิปปินส์

กระท้อนในสังคมไทย

สำหรับกระท้อนกับสังคมไทย มีการใช้ประโยชน์มาช้านาน นิยมนำผลกระท้อนมาทำอาหารรับประทาน เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน เป็นต้น นอกจากนั้นไม้จากต้นกระท้อน สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทำไม้กระดาน เป็นต้น

สายพันธุ์กระท้อน

สำหรับสายพันธุ์ของกระท้อนมีหลายสายพันธ์ แต่กระท้อนที่ได้รับความนิยมสูงสูด ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง รายละเอียด ดังนี้

  • กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมือที่นิยมบริโภคมากที่สุด ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย คือ ผลมีรสหวาน เปลือกนิ่ม ขนาดของผลมีตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่
  • กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดปราจีนบุรี  ลักกษณะของกระท้อนอีล่า คือ มีผลขนาดใหญ่ เมื่อยังไม่แก่จัดจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กระท้อนพันธุ์อีล่ามักจะสุกช้ากว่ากระท้อนทุกพันธุ์
  • กระท้อนพันธุ์ทับทิม เป็นกระท้อนพันธุ์ดั้งเดิมของ ตำบลตะลุง จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ทับทิม คือ ผลกลม ขนาดไม่ใหญ่มาก มีรสหวาน สีเหลืองนวล ผิวเรียบเนียนสวย เปลือกนิ่ม กระท้อนพันธุ์ทับทิม ไม่มีคนรู้จักมากนัก เนื่องจากมีชาวสวนที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ทับทิมไม่มาก
  • กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธ์นิ่มนวล คือ รสหวานจัด ซึ่งเป็นสายพันธุ์กระท้อนที่นิยมบริโภคมากที่สุด เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม ไม่กระด้าง ผลกลมแป้น ขั้วสั้น ผิวเปลือกเรียบมีสีเหลืองอมน้ำตาล เปลือกบาง

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 30 เมตร สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระท้อน มีดังนี้

  • ลำต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 30 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทา
  • ใบกระท้อน ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบรี ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
  • ดอกกระท้อน ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล
  • ผลกระท้อน ลักษณะกลมแป้น ผิวของผลมีขนคล้ายกำมะหยี่ ผลอ่อนมีสีเขียว และผลมีน้ำยางสีขาว ผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งผลแก่จะมีน้ำยางน้อยลง ภายในผลมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

สำหรับการบริโภคกระท้อนจะนิยมบริโภคผลสุก นักโภชนาการไดคศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกระท้อนขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม ธาตุแคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระท้อน ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชนืจาก รากกระท้อน ใบกระท้อน ผลกระท้อน เปลือกผลกระท้อน และ เมล็ดของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน มีดังนี้

  • รากกระท้อน สรรพคุณใช้ทำเป็นยาธาตุ ช่วยแก้ปวดท้อง ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
  • ใบกระท้อน สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสีียออกจากร่างกาย
  • ผลกระท้อน สรรพคุณช่วยสมานแผล แก้อาการอักเสบ
  • เปลือกของผลกระท้อน สรรพคุณช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
  • เมล็ดกระท้อน สรรพคุณมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง

โทษของกระท้อน

ผลกระท้อน มีธาตุโพแทสเซียมสูง ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตไม่คสรรับประทานกระท้อนเป็นอาหาร นอกจากนั้น ในผลกระท้อนที่มีการนำมาทำอาหาร ตรวจพบว่ากระท้อนก็มีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือ สารฟอกขาว ปนเปื้อน หากรับประทานมากเกิดไปอาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย

กระท้อน สมุนไพรไทย นิยมรับประทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน เช่น ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อน เป็นอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย