ขิง Ginger หัวขิงใช้ดับกลิ่นคาวอาหาร ให้กลิ่นหอม สรรพคุณมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย รักษาโรคต่างๆ ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี

ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง

ขิง ภาษาอังกฤษ เรียก Ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ของขิง คือ Zingiber officinale Roscoe ขิงสามารถพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมนำหัวขิงมาใช้ประกอบอาหาร  ขิงมีสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และ เบต้าแคโรทีน ซึ่งสรรพคุณช่วยบำรุงระบบโลหิตเป็นอย่างดี สามารถประโยชน์ใช้ได้ทั้งต้นไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก แก่น ผล ราก

ลักษณะของต้นขิง

ต้นขิง พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ในประเทศเขตร้อน อย่างประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยทางการแตกหน่อ ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลักษณะของต้นขิง มีดังนี้

  • หัวขิง หรือ เหง้าขิง ลักษณะคล้ายมือ อยู่ใต้ดิน เปลือกของเหง้าขิงมีสีเหลืองอ่อน
  • ลำต้นของขิง ออกเป็นกอ ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะกลม ตั้งตรง อวบน้ำ มีสีเขียว
  • ใบของขิง ใบเป็นกาบ หุ้มซ้อนกันเป็นใบเดี่ยว ออกสลับเรียงกัน เหมือนใบไผ่ ลักษณะปลายใบจะเรียวแหลม
  • ดอกของขิง ดอกขิงออกเป็นพุ่ม ดอกแหลมมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

ขิงมีประโยชน์ด้านสมุนไพร และ ใช้ในการบริโภคในอาหารไทย มาช้านาน นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้าคาโรทีน 10 ไมโครกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และ ไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขิง

สำหรับขิง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ทั้งต้น ซึ่งสรรพคุณของขิง มีดังนี้

  • ทั้งต้นของขิง สรรพคุณช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • หัวขิงง สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ช่วยลดไข้ ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันผุ
  • ใบของขิง สรรพคุณแก้ฟกช้ำ รักษานิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยฆ่าพยาธิ
  • ดอกของขิง สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปัสสาวะขัด
  • รากของขิง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ
  • ผลของขิง สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด บำรุงน้ำนม ช่วยลดไข้ แก้เจ็บคอ ลดอาการอักเสบ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ

วิธีทำน้ำขิง น้ำขิงสามารถดื่มได้ทุกวัน เก็บรักษาในตู้เย็นได้เป็นเดือน สามารถเตรียมเพื่อดื่มดับกระหาย บำรุงร่างกาย รักษาโรคต่างๆได้ โดย ตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด จึงเบาไฟลง เคี่ยวประมาณต่ออีกประมาณครึ่งชั่วโมง จนน้ำขิงเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ดับไฟยกลงจากเตาได้ เมื่อต้องการดื่ม เติมน้ำตาลทรายแดง 1-2 ช้อนชา (ไม่เติมน้ำตาลจะดีที่สุดแต่จะมีรสเผ็ดร้อน) คนจนเข้ากัน ดื่มได้ทั้งแบบร้อน และแบบเย็นตามต้องการ

โทษของขิ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขิง มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • อาจทำให้เกิดแผลร้อนใน ทำให้เยื่อบุภายในช่องปากอักเสบได้ สำหรับคนที่มีแผลในช่องปากอยู่แล้วให้ระวังการรับประทานขิงในปริมาณมากๆ
  • ขิงช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง
  • น้ำขิงที่คั้นจนเข้มค้นมาก ไม่ควรทำให้น้ำขิงเข้มข้นจนเกินไป เพราะ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ทำให้ลำไส้หยุดการบีบตัว

ดอกคำฝอย นิยมนำคำฝอยมารับประทานและใช้ทำสีผสมอาหาร สรรพคุณบำรุงโลหิต น้ำมันจากเมล็ดคำฝอยนำมาทำยาได้ ลดการปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลา ทำความรู้จักกับต้นคำฝอย

ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย

ต้นคำฝอย ภาษาอังกฤษ เรียก Safflower ชื่อวิทยาศาสตร์ของดอกคำฝอย คือ Carthamus tinctorius L. จัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับทานตะวัน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของคำฝอย ได้แก่ คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง ดอกคำ หงฮัว คำทอง เป็นต้น คำฝอยมีถิ่นกำเนิดใน ตะวันออกกลาง ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคเหนือ  จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดเชียงราย

ดอกคำฝอยในประเทศไทย สำหรับดอกคำฝอยในประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์จากดอกคำฝอยหลากหลาย โดยนำมาแปรรูป เช่น ทำชา ทำสีผสมอาหาร ทำแคปซูน หรือ สะกัดเอาน้ำมันดอกคำฝอย แหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญของประเทศไย อยู่ทางภาคเหนือ อำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เจริญได้ดีในที่สูง แต่ไม่เกิน 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย หรือ ดินที่มีการระบายน้ำได้ค่อนข้างดี  ไม่ชอบอาการร้อน ประมาณ 15-24 องศาเซลเซียส อายุสั้น ใช้เวลา 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบคำฝอย เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ขอบใบหยัก ปลายใบเป็นหนามแหลม ใบสีเขียว
  • ดอกคำฝอย ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะดอกกลม กลีบดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
  • ผลคำฝอย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลคล้ายรูปไข่ ผลเบี้ยวๆ สีขาว เป็นผลแห้งไม่แตก
  • เมล็ดคำฝอยอยู่ในผลคำฝอย เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ลักษณะยาวรี เปลือกแข็ง สีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์ในการรับประทานคำฝอย นิยมรับประทานดอกคำฝอย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอยมีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุเหล็ก สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) และ สารคาร์ทามีน ( carthamine )

น้ำมันจากดอกคำฝอย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) และกรดโอเลอิก (Oleic Acid) กรดปาลมิติก (Palmitic Acid) กรดสเตียริก (Stearic Acid)

เมล็ดของดอกคำฝอย มีสารในกลุ่มลิกแนน ไกลโคไซด์ (Lignan Glycoside) และ สารเซโรโทนิน (Serotonin)

สรรพคุณของดอกคำฝอย

มีการนำดอกคำฝอยมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่งสรรพคุณของดอกคำฝอยมีทั้งการบำรุงสตรี บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของโลหิต และรักษาอาการผิดปกติของร่างกายต่างๆได้ สรรพคุณของดอกคำฝอย มีดังนี้

  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ นอนหลับสบาย สามารถช่วนรักษาโรคทางจิตรเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคนิมโพเมาเนียร์ เป็นต้น
  • ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการป่วย
  • ช่วยขับระดูของสตรี แก้ปัญหาอาการประจำเดือนคั่งค้าง หรือ ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
  • บรรเทาอาการปวด อาการประจำเดือน อาการปวดมดลูก และ ลดอาการอักเสบของมดลูก รักษาอาการตกเลือด ลดอาการปวดหลังคลอด ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ลดไขมันในเลือด ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ช่วยการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยกระตุ้นให้มีเลือดไปล่อเลี้ยงหัวใจมากขึ้น
  • ช่วยขับเหงื่อ ทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ขับของเสียออกทางรูขุมขน
  • รักษาอาการฟกช้ำดำเขียว รักษาอาการแผลกดทับ
  • ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเกิดฟันผุ

วิธีทำน้ำดอกคำฝอย มีวิธีการเตรียม ดังนี้ ใช้ดอกคำฝอยแห้งหาซื้อได้ทั่วไป กะปริมาณให้ได้ประมาณ 2 หยิบมือ ( คิดเป็นน้ำหนัก 2.5 กรัม ) เติมดอกเก๊กฮวย ลงหม้อ ประมาณ 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาดที่ใช้ดื่มได้ครึ่งลิตร เคี่ยวจนงวด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชา ดื่มได้ทั้งแบบร้อน และ แบบเย็น ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง กรณีดื่มยาก สามารถเติมน้ำตาลทรายขาว หรือ น้ำผึ้ง ได้ 2-3 ช้อนชา ต่อน้ำดอกคำฝอย 1 แก้ว

โทษของคำฝอย

การใช้ประโยชน์จากคำฝอย มีข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรจากคำฝอย ดังนี้

  • การรับประทานดอกคำฝอย อย่างต่อเนื่องในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ มีอาการวิงเวียนศีรษะ
  • การรับประทานดอกคำฝอย ในระหว่างมีประจำเดือน อาจทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • สำหรับสตรีระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่รับประทานดอกคำฝอย เพราะ ดอกคำฝอยมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน อาจทำให้แท้งลูกได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย