ประโยชน์ของดินประสิว โพแทสเซียมไนเตรต Potassium Nitrate ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรด สรรพคุณต้านเชื้อแบคที่เรีย นำมาทำยาสมุนไพร ช่วยขับลม ถอนพิษ ดินประสิวใช้ถนอมอาหาร

สมุนไพร ดินปะสิว โพแทสเซียมไนเตรต  ประโยชน์ของดินประสิว

ดินประสิว หรือ โพแทสเซียมไนเตรต ( Potassium Nitrate ) คือ ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรดเกิดจากปัสสาวะของสัตว์หรือคน ปัจจุบัน ดินประสิว ผลิตมาจากอากาศสกัดโดยไนโตรเจนแล้วนำมาทำกรดไนตริก ดินประสิว มีคุณสมบัติในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม

ลักษณะของดินประสิว

ดินประสิว มีลักษณะเป็น ผงสีขาว ละลายได้ดีในน้ำ ไม่มีกลิ่น รสเค็มเล็กน้อย มีความคงตัวดี อาจมีการเปลี่ยนรูปขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม

ดินประสิวในประเทศไทย

สำหรับดินประสิว นั้นคนไทยเรารู้จักดินประสิว เนื่องจาก นำดินประสิวมากทำดินปืน เป็นส่วนผสมในดินปืน และนำมาถนอมอาหารเป็นสารกันบูด ทำให้สีของเนื้อสัตว์ดูสดอยู่เสมอ กระทรวงสาธารณสุข ของประเทศไทย อนุญาตให้ใช้สารกันบูดจากไนเตรตในอาหารได้ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ได้กำหนดปริมาณการใช้ดินประสิวในอาหาร ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

ประโยชน์ของดินประสิว

สำหรับประโยชน์ของดินประสิว และ สรรพคุณของดินประสิว ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ในตำรายาโบราณ เรียกดินประสิวว่า เกลือสุรจระ นำเข้ามาจากประเทศอินเดีย นำ โพแทสเซียมไนเตรต ต้ม กรอง แล้วเคี่ยวให้แห้ง ใช้เป็นยาขับลม ถอนพิษ ประโยชน์ต่างๆของดินประสิว มีดังนี้

  • ใช้เป็นส่วนขยายสูตรยาฆ่าหญ้า ลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรม
  • ใช้เป็นยาฆ่าตอไม้ ( Stump Remover ) ทำให้ตอไม้ใต้ดินเปื่อยยุ่ย
  • ใช้ลดอุณหภูมิ เป็นสารหล่อเย็น นำมาละลายน้ำ จะได้สารละลายที่มีอุณหภูมิต่ำประมาณ 8 – 12 องศาเซลเซียส
  • ใช้ทำธูป ดินประสิวเป็นส่วนผสมของเนื้อธูป
  • ใช้ผลิตกระจก และ เลนส์ นำดินประสิวมาเป็นส่วนผสมของน้ำยา เพิ่มความแข็งแกร่งของกระจก และ เลนส์
  • ใช้เป็นผสมของยาสีฟัน เพื่อลดอาการเสียวฟัน
  • ใช้เป็นสารเร่งดอก เป็นปุ๋ยใช้กับพืชสวน เช่น มะม่วง มังคุด เป็นต้น
  • ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณ ช่วยถอนพิษ และ ช่วยขับลม

การใช้ประโยชน์จากดินประสิวยังมีการนำเอาดินประสิวมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลาย เช่น อตุสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมดอกไม้ไฟ และ อุตสาหกรรมทองรูปพรรณ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อุตสาหกรรมอาหาร จะใช้ดินประสิว เป็นสารกันบูด และ สารถนอมสีเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่เสมอ นำมาทำให้ เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน ปลาร้า แหนม เป็นต้น ดินประสิว มีคุณสมบัติในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม
  • อุตสาหกรรมดอกไม้ไฟและพลุ จะนำดินประสิวเป็นส่วนผสมของดินปืน ดินประสิวจะทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไตส์ ให้เกิดแรงขับดันแก่ดอกไม้ไฟ บั้งไฟ ตะไล พลุ ประทัด เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมทองคำรูปพรรณ จะใช้ดินประสิว เป็นตัวลดอุณหภูมิการหลอมละลายของทอง ทำให้ทองหลอมละลายได้ง่าย  สามารถแยกสิ่งสกปรกส่วนเกินออกจากทองคำได้ ดินประสิว ทำให้สีของทองคำรูปพรรณเปล่งปลั่ง สวยงาม

โทษของดินประสิว

ดินประสิว เป็น สารก่อมะเร็ง ดินประสิวเมื่ออยู่น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร อาจทำให้ท้องร่วงอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ หายใจไม่ออกได้ เป็นอันตรายกับเด็ก

ดินประสิว หรือ โพแทสเซียมไนเตรต ( Potassium Nitrate ) คือ ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรด มีสรรพคุณช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรีย นำมาเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร ช่วยขับลม และ ถอนพิษ ดินประสิว ใช้ถนอมอาหาร นำมาทำดินปืน และ เป็นส่วนผสมในการทำทองคำรูปพรรณ

แหล่งอ้างอิง

  • Record of Potassium nitrate in the GESTIS Substance Database of the Institute for Occupational Safety and Health, accessed on 2007-03-09.
  • Gustafson, A. F. (1949). Handbook of Fertilizers – Their Sources, Make-Up, Effects, And Use. p. 25. ISBN 9781473384521. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-17.
  • B. J. Kosanke; B. Sturman; K. Kosanke; I. von Maltitz; T. Shimizu; M. A. Wilson; N. Kubota; C. Jennings-White; D. Chapman (2004). “2”. Pyrotechnic Chemistry. Journal of Pyrotechnics. pp. 5–6. ISBN 978-1-889526-15-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05.
  • Kolthoff, Treatise on Analytical Chemistry, New York, Interscience Encyclopedia, Inc., 1959.
  • chem.sis.nlm.nih.gov เก็บถาวร 2014-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • “ไนเตรทและไนไตรท์”. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-14. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • “อาหารที่มีดินประสิว”. Healthy Canpus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-11. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556. หน้า 58 – 60

การบูร พืชมีผลึกสีขาว กลิ่นหอม นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ต้นการบูรเป็นอย่างไร สรรพคุณของการบูร เช่น ช่วยกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว แก้เวียนหัว แก้มึนเมา โทษของการบูร

การบูร สมุนไพร สรรพคุณของการบูร

การบูร คือ ผลึกธรรมชาติที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ซึ่งจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ต้นการบูร และพบมากที่สุดในแก่นของราก และ แก่นของต้น ส่วนในใบและยอดอ่อนของต้นการบูร มีผลึกการบูรน้อย ลักษณะของผลึกการบูร เป็นเกล็ด กลม ขนาดเล็ก  สีขาว จับกันเป็นก้อนร่วนๆแตกง่าย หากทิ้งเอาไว้ผลึกที่มีกลิ่นหอมของการบูรจะเหิดไปหมด

ซึ่งข้อมูลทางเภสัชวิทยาได้ศึกษาการบูร พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยของการบูร และ การบูร มีสารเคมีประกอบด้วย acetaldehyde , betelphenol , caryophyllen , cineole , eugenol , limonene , linalool , orthodene , p-cymol , และ salvene การบูรมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าแมลง และ ลดระดับคอเลสเตอรอล การบูรมีประสิทธิภาพในการช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้การหายใจถี่ขึ้น

การบูร ( Camphor ) ชื่อวิยาศาสตร์ของการบูร คือ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl เป็นพืชตระกูลอบเชย ชื่อเรียกอื่นๆของการบูร เช่น การะบูน  อบเชยญวน  พรมเส็ง เจียโล่ จางมู่ จางหน่าว เป็นต้น

ลักษณะของต้นการบูร

ต้นการบูร เป็นไม้ยืนต้น เป็นพื้นเมืองของประเทศในเขตอบอุ่น อย่างประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไต้หวัน ลักษณะของต้นการบูรเป็นทรงพุ่ม ขนาดกว้างและทึบ

  • ลำต้นการบูร มีความสูงประมาณ 30 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาล ลักษณะผิวหยาบ เปลือกของกิ่งการบูรเป็นสีเขียว และ สีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เป็นส่วนที่สามารถนำมาทำ การบูร ที่มีกลิ่นหอม
  • ใบการบูร เป็นใบเดี่ยว ทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างเหนียว หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม มีลักษณะมัน ท้องใบมีสีเขียวอมเทา ไม่มีขน ใบเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นหอม การบูร
  • ดอกการบูร ต้นการบูรออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมสีเหลือง การบูรจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • ผลการบูร มีลักษณะกลมรูปไข่ ผลเป็นสีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ของการบูร

สำหรับการบูร สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ด้านใช้เป็นยารักษาโรค และ เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง อาหาร และ ยารักษาโรค เนื่องจาก กลิ่นหอม ช่วยกระตุ้นความรู้สึก บรรเทาอาการปวดศีรษะ แก้เมารถ เมาเรือ ช่วยแก้รอยผิวหนังแตกในช่วงฤดูหนาว นอกจากนั้น มีการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นอาหาร และ ขนม ลูกกวาด แยม เยลลี่ เครื่องดื่มโคคาโคลา เหล้า เป็นส่วนผสมในเครื่องพะโล้ เครื่องแกงมัสมั่น ผงกะหรี่ คุกกี้ ขนมเค้ก เป็นต้น

การบูร นำมาใช้ไล่ยุงและแมลงได้ โดยนำมาวางในห้องหรือตู้เสื้อผ้า และ ยังช่วยลดกลิ่นอับชื้นได้ นอกจากนี้ มีการใช้การบูร เป็นส่วนผสมของยาหอมเช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาประสะไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยามันทธาตุ ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประสะเจตพังคี ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาธาตุอบเชย หรือนำมาใช้ทำน้ำมันไพล ลูกประคบ พิมเสนน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของการบูร

การใช้ประโยชน์ของการบูร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลึกการบูร เมล็ด เปลือกลำต้น รากการบูร กิ่งการบูร เนื้อไม้การบูร โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของการบูร สรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องร่วง แก้อาการปวดท้องน้อย
  • เปลือกการบูร สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ธาตุในร่างกาย ช่วยสมานแผล รักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลเน่าเปื่อย
  • เนื้อไม้การบูร สรรพคุรบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน  แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ผลึกการบูร สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ยาบำรุงหัวใจ เป็นยากระตุ้นหัวใจ ยาระงับประสาท ช่วยแก้เลือดลม แก้ปวดฟัน ช่วยในการขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด แก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง บำรุงกำหนัด ช่วยขับน้ำเหลือง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ปวด ช่วยแก้อาการชัก
  • กิ่งของการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก
  • รากการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก

โทษของการบูร

การใช้ประโยชน์จากการบูรมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากการบูร มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินการบูร เนื่องจากจะเป็นพิษ
  • สำหรับคนที่อยู่ในภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด ป่วยโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็งและแห้ง ไม่ควรกินการบูร เพราะ จะทำให้ไม่หาย
  • การบูรที่มีสีสีเหลืองและสีน้ำตาล ห้ามกิน เนื่องจากเป็นพิษ
  • การกินการบูรในปริมาณเกิน 0.5 กรัมจะทำให้เวียนหัว แสบร้อนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนลง เป็นอันตรายถึงชีวิต

แหล่งอ้างอิง

  • The Merck Index, 7th edition, Merck & Co., Rahway, New Jersey, 1960
  • Handbook of Chemistry and Physics, CRC Press, Ann Arbor, Michigan, USA
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0096”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
    “Camphor (synthetic)”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). 4 December 2014. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  • Mann JC, Hobbs JB, Banthorpe DV, Harborne JB (1994). Natural products: their chemistry and biological significance. Harlow, Essex, England: Longman Scientific & Technical. pp. 309–11. ISBN 978-0-582-06009-8.
  • “การบูร ไม้หอมมากประโยชน์ สร้างรายได้น่าลงทุน”. kaset.today.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย