บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม นิยมนำมาทำยา ต้นบอระเพ็ดเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

บอระเพ็ด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ด คือ Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson ชื่อเรียกอื่นๆของต้นบอระเพ็ด เช่น เจตมูลหนาม ตัวเจตมูลยาน เถาหัวดำ หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เถาหัวด้วน จุ่งจะลิง เจ็ดหมุนปลูก เป็นต้น

ต้นบอระเพ็ด คือ พืชประเภทไม้เลื้อย ซึ่งเป็นพืชที่สามารถพบด้ตามป่า โดยเฉพาะป่าดิบแล้ง คนไทยนิยมใช้เป็นสมุนไพร ยารักษาโรค สารพัดปรัโยชน์ นิยมนำบอระเพ็ดมาทำเป็นยา เลือกส่วนเถา ที่มีลักษณะไม่แก่ หรือ อ่อนเกินไป บอระพ็ดมีรสชาติขมจัด

ลักษณะของต้นบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย พบมากตามป่าดงดิบ และ ป่าเบญจพรรณ ที่มีความชื้น ต้นบอระเพ็ดจะเกาะตามพุ่มไม้ใหญ่ เถาบอระเพ็ดจะเลื้อยตามต้นไม้ต่างๆ สำหรับการปลูกบอระเพ็ด สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ และ การปักชำ ลัษณะของต้นบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ลำต้นบอระเพ็ด เป็นลักษณะเถาไม้เนื้ออ่อน ยาวมากกว่า 10 เมตร ผิวของลำต้นเป็นตะปุ่มตะป่ำ เถามีสีเขียวเข้ม และหากเถามีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เถาบอระเพ็ดน้ำยางสีเหลือง เถาบอระเพ็ดรสขมจัด
  • ใบบอระเพ็ด เป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับกันจามเถา ลัษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ เหมือนใบพลู ขอบใบเรียบ ปลายใบมีหยัก ใบบอระเพ็ดมีสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนๆ
  • ดอกบอระเพ็ด ลักษณะเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เกสรมีสีขาว
  • ผลบอระเพ็ด ลักษณะกลมรี มีเปลือกบางๆห่อหุ้ม ผลบอระเพ็ดมีสีเขียว และ ผลสุกมีสีเหลือง

คุณค่าทางโชนาการของบอระเพ็ด

บอระเพ็ดมีสารเคมีหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยองค์ประกอบทางเคมีของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • สารเคมีที่ทำให้เกิดรสขม คืิอ picroretin , columbin , picroretroside , tinosporide , tinosporidine
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอปีนอยส์ คือ Borapetoside A , Borapetoside B , Borapetol A , Tinocrisposide , tinosporan
  • สารเคมีกลุ่มอัลคาลอยด์ คือ N-formylannonaine , N-acetylnornuciferine
  • สารเคมีกลุ่มอามีน คือ N-trans-feruloyl tyramine , N-cis-feruloyl tyramine
  • สารเคมีกลุ่มฟีนอสิคไกลโคไซด์ คือ tinoluberide

สรรพคุณของบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และ บำรุงร่างกาย โดยบอระเพ็ด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทุดส่วนประกอบของต้นบอระเพ็ด ทั้ง ใบบอระเพ็ด เถาบอระเพ็ด รากบอระเพ็ด และ ผลบอระเพ็ด โดย สรรพคุณของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ใบบอระเพ็ด สามารถใช้บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ แก้ผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รักษารังแค รักษาชันนะตุ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดความอ้วน ลดความดัน บำรุงเลือด ช่วยลดไข้ สร้างความชุ่มชื่นในลำคอ บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับพยาธิ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • เถาบอระเพ็ด สามารถใช้แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยลดไข้ รักษาไข้มาลาเรีย บำรุงเลือด บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวด ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยบำรุงน้ำดี แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • รากบอระเพ็ด เป็นยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันมะเร็ง ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยดับพิษร้อน ช่วยลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ผลบอระเพ็ด สามารถใช้ลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ดอกบอระเพ็ด ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ช่วยฆ่าพยาธิในฟัน และ ช่วยฆ่าพยาธิในหู แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของบอระเพ็ด

สำหรับต้นบอระเพ็ด มีสารเคมีต่างๆมากมาย ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของบอระเพ็ด คือ ความขม การบริโภคและการใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ด มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานรากของบอระเพ็ด เป็นเวลานานส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจทำให้มือเท้าเย็น แขนขาหมดแรงได้
  • การศึกษาสารสกัดจากบอระเพ็ด ใน หนูขาว พบว่าการบริโภคบอระเพ็ดในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานเป็นพิษต่อไต เป้นพิษต่อตับ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับและ โรคไตไม่ควรรับประทานบอระเพ็ด

บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม ลักษณะของต้นบอระเพ็ด เป็น เถาไม้เลื้อย ประโยชน์ของบอระเพ็ด และ สรรพคุณของบอระเพ็ด เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

แครอท ( Carrot ) นิยมรับประทานหัวแครอทเป็นอาหาร ต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของแครอท มีอะไรบ้าง

แครอท สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นแครอท ภาษาอังกฤษ เรียก Carrot ชื่อวิทยาศาสตร์ของแครอท คือ Daucus carota L. แครอทจัดเป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับผักชี มีต้นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ต้นแครอมมีหัวอยู่ใต้ดิน หัวแครอทมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีม่วง สีส้ม เป็นต้น นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร

หัวแครอท มีสารอาหารมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ที่สำคัญมี สารฟอลคารินอล ( falcarinol ) ช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี สรรพคุณของแครอท ใช้รักษาโรคได้อย่างหลากหลาย

ลักษณะของต้นแครอท

ต้นแครอท คือ พืชล้มลุกตระกูลผักชี สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ แครอทสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายนํ้าได้ดี หน้าดินลึก และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับปลูกแครอท คือ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ต้นแครอทมีหัวอยู่ใต้ดิน โดยลักษณะของต้นแครอท มีรายละเอียด ดังนี้

  • หัวแครอท เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะยาว ประมาณ 15 เซ็นติเมตร ลักษณะอ้วน ปลายแหลม ผิวเรียบ มีต่างๆ เช่น สีส้ม สีเหลือง สีม่วง หัวแครอทคือส่วนที่นิยมนำมารับประทานได้ ที่หัวของแครอทมีราก
  • ใบแครอท ใบแครอทมีสีเขียว อยู่ตามก้านใบ ซึ่งก้านใบแครอทออกมาจากหัวแครอท ก้านใบแครอท ลักษณะยาว สีเขียว  ความสูงของก้านใบประมาณ 20 เซนติเมตร ใบแครอท มีสีเขียว เป็นลักษณะฝอยๆ เหมือนในผักชี

สายพันธุ์ของแครอท

สำหรับแครอทไม่ใช่พืชพื้นเมืองของประเทศไทย ซึ่งแครอทมีหลายสายพันธ์ ซึ่งแต่ละสาพันธ์มีสีของหัวแครอทที่แตกต่างกันออกไป โดย สายพันธ์แครอทที่น่าสนใจ มีดังนี้

  • แครอทพันธุ์เบบี้แครอท ( Baby carrot ) หัวขนาดเล็ก สีส้ม ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แนนเทส ( Nantes ) หัวขนาดปานกลาง สีส้ม ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แชนทีเน่ ( Chantenay ) หัวขนาดปานกลาง สีส้ม ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แดนเวอร์ ( Danvers ) หัวขนาดเล็ด สั้น และ เรียว มีสีส้ม ความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์อิมเพอเรเตอร์ ( Imperater ) หัวขนาดใหญ่ สีส้ม ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์หงส์แดง ( New Kuruda ) เป็นแครอทสายพันธ์ไทย
  • แครอทพันธุ์มินิเอ็กซ์เพรส ( Mini Express ) หัวขนาดเล็ก เรียวยาว ปลูกได้ตลอดทั้งปี
  • แครอทพันธุ์ทัมบีลีนา ( Thumbelina ) หัวกลม และ สั้น สีส้ม ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์ทัวริโนเอฟวัน ( Tourino F1 ) หัวอ้วนเตี้ย สีส้ม

คุณค่าทางโภชนาการของแครอท

สำหรับการศึกษาแครอท นักโภชนาการไค้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท โดยคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 41 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม น้ำตาล 4.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.24 กรัม โปรตีน 0.93 กรัม วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม  เบตาแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 256 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.058 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.983 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.273 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.138 มิลลิกรัม วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 5.9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.143 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 69 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.24 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 3.2 ไมโครกรัม

ซึ่งในหัวแครอท มีสารสำคัญ คือ ฟอลคารินอล ( falcarinol ) สารชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยต้านการเจริญเติบโตของเซล์มะเร็ง

สรรพคุณของแครอท

สำหรับประโยชน์ของแครอทด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นมีมากมาย โดย สรรพคุณของแครอท มีรายละเอียดดังนี้

  • บำรุงสายตา แครอทมีวิตามินเอสูง ช่วยถนอมดวงตา และ สายตา
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงเลือด แครอทช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดี ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้ปรับการระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวเปล่งปลั่งอยู่เสมอ ลดรอยเหี่ยวย่น ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยก่อนวัยอันควร ช่วยรักษาแผล ช่วยสมานแผล
  • บำรุงเส้นผม แครอทช่วยรักษาความชุ่มชื้นของเส้นผม ทำให้เส้นผมแข็งแรง
  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

โทษของแครอท

สำหรับการรับประทานแครอทอย่างปลอดภัย ต้องรับประทานแครอทในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการรับประทานแครอทมีดังนี้

  • สำหรับคนบางคนอาจแพ้แครอท หากพบว่าเกิดอาการแพ้หลังจากกินแครอท ให้หยุดกินและพบแพทย์เพื่อรักษาด่วน
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่กินยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว การกินแครอทในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง สำหรับผุ้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
  • หัวแครอทสดๆ ที่ไม่ผ่านความร้อน อาจมีกลิ่นเหม็นเขียว อาจทำให้อาเจียนได้ การรับประทานแครอท ควรทำให้ผ่านความร้อนก่อน หรือ ทำให้หัวแครอทมีขนาดเล็กลงก่อน

แครอท ( Carrot ) ผักสวนครัว หัวแครอท นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์และสรรพคุณของแครอท เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของแครอท มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย