หอมแดง สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ ต้นหอมหัวแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดงมีอะไรบ้าง

หอมแดง สมุนไพร

หอมแดง เป็นพืชสำคัญในอาหารไทย อาหารไทยนิยมใช้หอมแดงนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะในเครื่องแกงต่างๆ ประเทศไทยปลูกหอมหัวแดงมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือ หอมแดงที่มีคุณภาพดี คือ หอมแดงของศรีสะเกษ

สายพันธ์หอมแดง

สำหรับการปลูกหัวหอมในประเทศไทย นิยมปลูกหอมแดงอยู่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดงพันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดงพันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดงพันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

หอมแดง ( Shallot ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมแดง คือ Allium ascalonicum L. พืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของหอมหัวแดง เช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ลักษณะของต้นหอมแดง

หอมแดง เป็นพืชล้มลุก สามารกเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ไม่ชอบน้ำ หัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นหอมแดง มีดังนี้

  • ใบหอมแดง สำหรับใบจะแทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของในกลม ยาว สีเขียวใบอ่อนของหอมแดงสามารถนำมาบริโภคได้
  • หัวหอมแดง เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ ลักษณะของหัวหอมแดงกลม เนื้อในมีสีขาว เปลือกนอกสีแดง มีกลิ่นหอม
  • ลำต้นของหัวหอม อยู่ติดกับหัวหอมลำต้นเกิดจากหัวหอม เรียงอัดกันแน่น ถัดมาจึงเป็นส่วนของใบ
  • รากของหัวหอม เป็นระบบรากฝอย มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นกระจุกรวมกันที่ก้นหัว และแพร่ลงดินลึกในระดับตื้นๆ

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

หอมหัวแดง มีกลิ่นฉุ่นเป็นลักษณะเด่นของหอมแดง หัวหอมแดงมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง ซึ่งสารสำคัญ เช่น Ethanol , Acetonc , methyl Ethyl , Methyl Disulfide , Methyl , Methyl Trisulfide , Methyl I-propyl Trisulfide , I-propyl Trisulfide , Ketone , I-propanol , 2 – propanol , Methanol , I-butanol , Hydrogen Sulfidc , I-propanethiol , I-propyl Disulfide , Thioalkanal-S-oxide , di-n- propyl Disulfide , n- propyl-allyl Disulfide , Diallyl Disulfide , Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc

น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง รสขม มีความเผ็ดร้อน ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และ เป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดง ช่วยลดไขมัน และ น้ำตาลในเลือด และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหัวหอมแดง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ และมีให้สารอาหารสำหคัณ ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไทอามีน ไรโบฟลาวิน และ ไนอาซิน

หอมหัวแดง ขนาด 100 กรัม มีวิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ และ วิตามินซี

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามาถใช้ประโยชน์จาก หัวหอมแดง ใบหอมแดง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้กำเดาไหล แก้ฟกช้ำ
  • เมล๊ดหอมแดง สรรพคุณกินแก้เนื้อสัตว์เป็นพิษ
  • หัวหอมแดง สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยเจริญธาตุไฟ ต่อต้านอนุมูลอิสระ แก้อาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด  ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้หวัดคัดจมูก รักษาโรคตา ขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้ปวดหู แก้อาการบวมน้ำ แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ป้องกันการติดเชื้อ แก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาแผล ช่วยแก้อาการฟกช้ำ บรรเทาอาการคัน แก้พิษแมงมุมกัด ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการเมาค้าง แก้อาการสะอึก รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาผิวจุดด่างดำ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

โทษของหอมแดง

สำหรับหอมแดงมีกลิ่นฉุนหอมเฉพาะตัว การนำมามำอาหารนิยมทำให้ร้อนก่อน หากกินสดๆ อาจมีกลิ่นฉุนมากเกินไป โทษของหอมแดง มีดังนี้

  • การกินหอมแดงมาก อาจจะทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว ตาฝ้ามัว ฟันเสียได้
  • หัวหอมแดง ทำให้แสบตา แสบจมูก และ ผิวหนังระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อนได้ จึงไม่ควรทาใกล้บริเวณผิวที่บอบบาง
  • หอมแดงสด มีกลิ่นฉุน หากกินเข้าไป อาจทำให้อาเจียนได้

หอมแดง พืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมหัวแดง คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดง มีอะไรบ้าง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมใช้ใบมาทำน้ำใบย่านาง ลักษณะของต้นย่างนาง ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด โทษของย่างนาง

ย่านาง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นย่านาง ชื่อสามัญ คือ Bamboo grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels สำหรับต้นย่านางมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ต้นย่านางขยายพันธ์ง่าย โดยการปักชำ แตกหน่อ หรือ การเพาะเมล็ด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าใบย่ายางขนาด 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 95 กิโลแคลอรี

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม  ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง พืชล้มลุก เป็นเถาไม้เลื้อย ปลูกง่าย พบได้ตามพื้นที่ชุ่มชื้น ของป่าต่างๆ ทั้ง ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ การขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว สีเขียว เป็นเถา ลำต้นย่านางเกี่ยวพันกับไม้อื่น และ เถาแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเข้ม ลำต้นผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง รากของย่านางลักษณะเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน ในออกจากลำต้นเรียงสลับกัน
  • ดอกของย่านาง ดอกย่านางออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ดอกออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกของย่างน่างจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลของย่านาง ลักษณะกลมรี สีเขียว มีขนาดเล็ก ผลแก่ของย่านาง สีเหลืองอมแดง มีเมล็ดด้านใน ลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

ประโยชน์ของใบย่านาง

ต้นย่างนางเป็นพืชที่ให้ออกซิเจนสูง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีมลพิษสุง เพราะ ต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์ของย่านาง นิยมนำมาทำอาหาร ใบย่านาง เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำน้ำใบย่านาง

ใบย่านาง ทำให้ผมดกดำ ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ย่านางนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

การใช้ประโยชน์จากต้นย่านาง สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก รากย่านาง และ ใบย่านาง โดยรายละเอียดของสรรพคุณของย่านาง มีดังนี้

  • รากย่านาง พืชมีรสขม สรรพคุณของรากย่านาง รักษาไข้ แก้ไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ช่วยขับพิษต่างๆ
  • ใบยางนาง พืชมีรสขม สรรพคุณช่วยรักษาอาการไข้ ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ สร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ลดความอ้วน ช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการเวียนหัว ป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดตามตัว แก้ปวดกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงสายตา ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง น้ำสมุนไพร แต่ใบย่านางกลิ่นแรง กินยาก การทำน้ำใบย่างนาง หากไม่ปรุงรส อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนการกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง
  • การดื่มน้ำใบย่านาง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป
  • น้ำใบย่านาง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง
  • การกินอาหารเสริมจากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย