หอมหัวใหญ่ พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร มีกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ ประโยชน์ สรรพคุณของหอมใหญ่ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจหอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นหอมหัวใหญ่ ( Onion )  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมหัวใหญ่ คือ Allium cepa L. ชื่อเรียกอื่นๅของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่ จัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับพับพลึง นิยมใช้ในการนำมาทำอาหาร ปรุงรสอาหารให้รสชาติ หอมหัวใหญ่ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มากมาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และสารเคมีต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวมาบริโภค ถิ่นกำเนิดของหอมหัวใหญ่ อยู่ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แหล่งผลิตที่สำคัญของหอมหัวใหญ่ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ ประเทศอินเดีย หอมใหญ่ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ที่มีการระบายน้ำ และ อากาศได้ดี ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมหัวใหญ่ มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกบางๆ สีแดง ลำต้นหอมหัวใหญ่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า หัวหอม มีกลีบสีขาวอวบน้ำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หัวหอมใหญ่มีกลิ่นฉุน
  • ใบหอมหัวใหญ่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบยาว กลม ออกเป็นกระจุก แทงออกมาจากหัว มีสีเขียว ใบมีกลิ่นฉุน
  • ดอกหอมหัวใหญ่ ลักษณะดอกหอมใหญ่ ออกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการชองหอมหัวใหญ่

สำหรับการนำหอมหัวใหญ่มารับประทาน นั้นนิยมใช้หัวของหอมใหญ่มารับประทาน ซึ่งรับประทานทั้งหัวสดๆ หรือ นำมาผ่านความร้อนก่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหอมหัวใหญ่ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สำหรับสารเคมีต่างๆในหอมหัวใหญ่ มีสารประกอบ กำมะถันหลายชนิด เช่น สารไดอัลลิลไดซัลไฟด์  สารไซโคลอัลลิอิน และ ยังอุดมไปด้วยวิตามินอี และ สารต่างๆที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ สำหรับกลิ่นฉุนของหอมหัวใหญ่ นั้นเกิดจากสาร ACSOs โดยกลิ่นฉุนถูกขับออกมาเมื่อเซลล์หอมถูกทำลาย

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ โดยสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคต่างๆ และ ป้องกันมะเร็งได้ดี
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ง่วง ช่วยในการนอนหลับสบาย
  • ช่วยบำรุงเลือด บำรุงสมอง ช่วยทำให้มีความจำที่ดี ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และ ลดความเสี่ยงอัมพาต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต รักษาเบาหวาน
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน สำหรับสตรีหลังหมดประจำเดือน
  • ช่วยรักษาไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยขับเสมหะ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ ป้องกันเชื้อแบคที่เรีย
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลฟกช้ำ ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ นั้นต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากหอมใหญ่มีฤทธิ์อุ่น และ รสเผ็ด ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ การนำหอมหัวใหญ่มาใช้ประโยชน์ ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ข้อควรระวังในการใช้หอมหัวใหญ่ มีดังนี

  • หอมหัวใหญ่ มีกลิ่นฉุน และ ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ หากระอองจากหัวหอมเข้าตา
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ ในปริมาณมากเกินไป และ รับประทานต่อเนื่องติดๆกัน อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้ลืมง่าย ความจำเสื่อม สายตามัว และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด ในขณะที่ท้องว่าง เพราะ อาจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะได้
  • หอมหัวใหญ่กลิ่นแรง ทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับคนที่มีกลิ่นตัวแรง ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไป

ฟักทอง นิยมทานผลฟักทองเป็นอาหาร ต้นฟักทองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด กากใยอาหารสูง โทษของฟักทอง

ฟักทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นฟักทอง ( Pumpkin ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักทอง คือ Cucurbita moschata Duchesne ชื่อเรียกอื่นๆของฟักทอง เช่น หมากอึ มะฟักแก้ว มะน้ำแก้ว น้ำเต้า หมักอื้อ หมากฟักเหลือง เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า เป็นต้น ฟักทอง เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

สายพันธ์ของฟักทอง

สำหรับต้นฟักทอง สามารถแบ่งได้ 2 สายพันธ์ ใหญ่ คือ ฟักทองตระกูลอเมริกัน และ ฟักทองตระกูลสควอช โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ฟักทองตระกูลอเมริกัน ( pumpkin ) จะมีลักษณะของผลฟักทองขนาดใหญ่ เนื้อผลยุ่ย
  • ฟักทองตระกูลสควอช ( Squash ) ลักษณะของผลฟักทองมีเปลือกแข็ง เนื้อแน่น ฟักทองตระกูลสควอช ได้แก่ ฟักทองไทย และ ฟักทองญี่ปุ่น

ลักษณะของต้นฟักทอง

ต้นฟักทอง เป็นพืชล้มลุก พืชคลุมดิน เป็นพืืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา นิยมปลูกริมรั้ว มีลำต้นเลื้อยตามดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ โดยลักษณะของต้นฟักทอง ลำต้น ใบ ดอก และ ผล มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นฟักทอง ลักษณะของลำต้น เป็นเถา ลักษณะอวบน้ำ มีขนอ่อนๆ เลื้อยไปตามพื้นดิน และ เกาะตามเสา เถามีสีเขียว
  • ใบฟักทอง ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว มีขนอ่อนๆ ใบมีขนาดใหญ่เป็นหยักๆ 5 หยัก
  • ดอกฟักทอง ลักษณะของดอกฟักทองเป็นช่อ สีเหลือง ออกดอกตากยอดของเถา ดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลฟักทอง มีลักษณะกลม แบน ใหญ่ เปลือกภายนอกผิวไม่เรียบ แข็ง และ ขรุขระ เปลือกผลอ่อนมีสีเขียว เปลือกผลสุกสีน้ำตาล เนื้อของผลมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง

ผลฟักทอง นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำมาทำให้สุก ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย  เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลสุกฟักทอง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.298 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี9 16 ไมโครกรัม วิตามินซี 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม

เนื้อของผลฟักทองมีกากใยสูง และ มี กรดโพรไพโอนิก ที่มีสรรพคุณทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง

เมล็ดฟักทอฟักทอง มี สารคิวเคอร์บิทีน สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวตืด

สรรพคุณของฟักทอง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักทอง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบ ดอก เมล็ด ราก และ ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดฟักทอง สรรพคุณกำจัดพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • รากฟักทอง สรรพคุณแก้ไอ บำรุงร่างกาย
  • เยื่อกลางของผลฟักทอง สรรพคุณใช้พอกแผล แก้รฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
  • ผลฟักทอง สรรพคุณช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงผิว ช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงกำลัง ลดการอักเสบ แก้ปวด
  • เปลือกของผลฟักทอง สรรพคุณควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา

โทษของฟักทอง

สำหรับการรับประทาน ฟักทอง เมล็ดฟักทอง ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดอันตายต่อร่างกาย แต่หากกินในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดอันตรายได้ โดยข้อควรระวังในการกินฟักทอง มีดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดฟักทอง ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสะสมของแก็สในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องอืด ปวดท้องได้
  • เมล็ดฟักทอง มีไขมันและแคลอรี่สูง หากกินมากเกินไป อาจทำให้ประมาณไขมัน สะสมในเส้นเลือดมากขึ้น
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินเมล็ดฟักทองได้ อาจทำให้แก๊สสะสมในท้อง ทำให้แน่นท้อง ปวดท้องได้
  • ฟักทอง มีฤทธิ์อุ่น สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะ อาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง

ฟักทอง พืชล้มลุก นิยมรับประทานผลฟักทอง ลักษณะของต้นฟักทองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง ประโยชน์และสรรพคุณของฟักทอง บำรุงสายตา ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด กากใยอาหารสูง โทษของฟักทอง มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย