มะพร้าว พืชท้องถิ่น สังคมไทยใช้มะพร้าวทำประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นมะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณของมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว น้ำมะพร้าว โทษของมะพร้าว มีีอะไรบ้างมะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะพร้าว ( Coconut ) พืชตระกูลปาล์ม ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะพร้าว คือ Cocos nucifera L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะพร้าว เช่น ดุง โพล  คอส่า เอี่ยจี้ หมากอุ๋น หมากอูน เป็นต้น มะพร้าว เป็นไม้ยืนต้น สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทุกส่วนประกอบของมะพร้าว ที้ง ก้านใบ ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว กะลามะพร้าว เนื้อไม้มะพร้าว เป็นต้น

พันธ์ของมะพร้าว

สำหรับพันธุ์มะพร้าว ตามธรรมชาติ สามารถแบ่งมะพร้าวได้ 2 ประเภท คือ มะพร้าวพันธ์เตี้ย และ มะพร้าวพันธ์สูง รายละเอียด ดังนี้

  • มะพร้าวพันธ์เตี้ย มักให้ผลจำนวนมาก ส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อรับประทานผลอ่อน เพราะ เนื้อมะพร้าวอ่อนนุ่ม และ น้ำมะพร้าวมีรสหวาน และให้กลิ่นหอม
  • มะพร้าวพันธ์สูง มะพร้าวประเภทนี้เป็นมะพร้าวเศรษฐกิจ นิยมปลูกเป็นอาชีพ ตามสวนมะพร้าว นิยมใช้ประโยชน์จากผลอ่อน และ ผลแก่ นำมาใช้ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น น้ำมันพืช กะทิ เป็นต้น

มะพร้าวในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะพร้าวเป็นพืชเศรษกิจ ประเทศไทยส่งออกมะพร้าวสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยประเทศที่ส่งออกมะพร้าวมากที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซีย พันธุ์มะพร้าว ในประเทศไทย เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวทะเล มะพร้าวไฟ มะพร้าวซอ มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย เป็นต้น

มะพร้าวกับความเชื่อของคนไทย

คนไทย มีความเชื่อว่า มะพร้าวเป็นไม่มงคล นิยมปลูกตามบ้านคน ทุกหลัง เชื่อกันว่าการปลูกมะพร้าว ให้ปลูกทางทิศตะวันออกของบ้าน จะทำให้คนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เจ็บป่วย นอกจากนั้น มะพร้าว นำมาใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เป็นเครื่องสังเวย เพราะ เชื่อว่ามะพร้าวเป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์ การดื่มน้ำมะพร้าว เป็นสิริมงคล น้ำมะพร้าว ใช้ล้างหน้าศพ เพราะ มีความเชื่อว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้ตายไปยังภพภูมิหน้าอย่างเป็นสุข

ลักษณะของต้นมพร้าว

ต้นมะพร้าว พืชตระกลูปาล์ม พบมากในพื้นที่ตามชายทะเล มีระบบรากเป็นรากฝอย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะพร้าว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นมะพร้าว ลักษณะเป็นลำต้นเดียว ลักษณะสูงตรง เนื้อไม้แข็ง สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะพร้าว ลักษณะใบเป็นใบประกอบ ยาว เนื้อใบมัน สีเขียว
  • ดอกมะพร้าว เป็นช่อ สีครีม หรือ สีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอก กลีบดอกหนา และ แข็ง
  • ผลมะพร้าว ผลของมะพร้าวมี 3 ชั้น คือ เปลือกชั้นนอก เปลือกชั้นกลาง และ เปลือกชั้นใน เมล็ดมะพร้าว คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็นช่อกลวงขณะผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็ม ผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว

สำหรับการบริโภคมะพร้าว นิยมบริโภคจากน้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าว โดยนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 1,480 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม น้ำตาล 6.23 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 33.49 กรัม โปรตีน 3.33 กรัม วิตามินบี1 0.66 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.54 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.014 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.1 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าว ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 79 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม น้ำตาล 2.61 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.032 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะพร้าว

การใช้ประโยชน์จากมะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งจาก ผลมะพร้าว น้ำมะพร้าว เนื้อผลมะพร้าว ดอกมะพร้าว รากมะพร้าว ใบมะพร้าว รายละเอียดของ สรรพคุณของมะพร้าว มีดังนี้

  • น้ำมะพร้าว สรรพคุณบำรุงผิว บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยล้างพิษในร่างกาย ขับพิษของเสียออกจากร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ลดอาการบวม ลดอาการอักเสบ แก้กระหายน้ำ บำรุงสมอง บำรุงเส้นผม ลดไข้ แก้ไอ แก้ท้องร่วง บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ รักษานิ่ว ช่วยถ่ายพยาธิ
  • เนื้อมะพร้าว สรรพคุณแก้อาการระคายเคืองตา ช่วยลดไข้ รักษาแผลในปาก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยถ่ายพยาธิ
  • ดอกมะพร้าว สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต  แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ  แก้ท้องเสีย
  • รากมะพร้าว สรรพคุณรักษาโรคคอตีบ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้นสดมะพร้าว สรรพคุณแก้อาการเจ็บฟัน
  • กะลามะพร้าว สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • น้ำมันจากกะลามะพร้าว สรรพคุณแก้อาการปวดฟัน แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นเอ็น รักษาโรคผิวหนัง ช่วยสมานแผล
  • ใบมะพร้าว สรรพคุณช่วยรักษาโรคอีสุกอีใส

น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสกัดจากมะพร้าว โดยวิธีการสกัดน้ำมันรูปแบบเย็นและร้อน ซึ่งน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ที่ไม่ทำลายหลอดเลือดของมนุษย์

ประโยชน์น้ำมันมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถสรุปประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว ดังนี้

  • ช่วยลดไขมันที่ทำร้ายร่างกาย น้ำมันมะพร้าวไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ แต่การกินน้ำมันมะพร้าว ช่วยลดไขมันร้ายในร่างกาย และ เพิ่มไขมันดีให้ร่างกาย น้ำมันมะพร้าวทำให้ย่อยอาหารได้รวดขึ้น ช่วยกระตุ้นเมตาบอลิซึมในร่างการ ทำให้เผาผลาญแคลอรีในร่างกายได้ดี
  • ช่วยบำรุงเส้นผม น้ำมันมะพร้าว สามารถนำมาใช้หมักผมได้ ทำให้เส้นผมสวยและเงางามแบบธรรมชาติ
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย น้ำมันมะพร้าวมี กรดลอริก เป็นกรดชนิดเดียวกับน้ำนมแม่ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค กำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ต่างๆได้
  • ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง น้ำมันมะพร้าว ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ มีความสามารถในการช่วยลดไขมันไม่ดีออกจากร่างกาย ลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็งได้
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง น้ำมันมะพร้าว ใช้รักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาสิว รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาโรคเรื้อน รักษาแผลถลอก น้ำมันมะพร้าวช่วยสมานแผล ได้
  • ช่วยบำรุงระบบประสาท น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัว ช่วยในเรื่องของการกระตุ้นการทำงานของสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ได้
  • ใช้เป็นน้ำมันในการทำอาหาร น้ำมันมะพร้าวสามารถที่จะนำไปทำกับข้าว เหมือนน้ำมันพืชทั่วไปจากถั่งเหลือง ปาล์ม เมล็ดทานตะวัน ได้ เพราะ น้ำมันมะพร้าวเมื่อโดนความร้อน จะไม่มีการเปลี่ยนสถานะเป็นไขมันร้าย ที่ทำอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อเสียของมะพร้าว

สำหรับมะพร้าว เป็นพืชที่มีความหวาน และ เนื้อมะพร้าว มีความมัน การบริโภคมะพร้าว จาก เนื้อมะพร้าว น้ำมันพร้าว หรือ น้ำมันมะพร้าว มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมะพร้าว ให้ความหวาน หากกินหวานมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้ง อาจทำให้ อ้วน หรือ เป็นเบาหวานได้
  • น้ำมะพร้าว เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ มีกรดคลอริก ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่หากดื่มน้ำมะพร้าวในปริมาณมากเกินไป ำให้เกิดการสะสม ไขมัน และ น้ำตาลในร่างกายมากเกินไป
  • น้ำมะพร้าว มีโซเดียมสูง สำหรับคนที่มีภาวะโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมะพร้าว
  • กะทิ น้ำที่ได้จากการคั้นเนื้อมะพร้าวแก่ มีฤทธิ์ร้อน หากกินกะทิในปริมาณมากเกิน ทำให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจไม่ดีต่อร่างกาย
  • การกินกะทะในร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมคอเลสเตอรัลในร่างกาย มีความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ เช่น  โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ โรคเบาหวาน
  • การกินกะทิ มากเกินไป อาจทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และ ไขมันอุดตันในหลอดเลือด

 

มะพร้าว คือ พืชท้องถิ่นของประเทศไทย สังคมไทยใช้มะพร้าวทำประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นมะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณของมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว น้ำมะพร้าว โทษของมะพร้าว มีีอะไรบ้าง

ต้นมะกรูด นิยมนำมาทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษมีอะไรบ้างมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

มะกรูด ( Kaffir lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. ชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น

มะกรูด พืชตระกูลส้ม เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะกรูดมีคุณสมบัติสำคัญหลายอย่าง ใช้ในการทำยารักษาโรคและด้านความสวยความงาม มะกรูดยังจัดเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้บริเวณบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยมักจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พืชท้องถิ่นของไทย มะกรูด นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ทั้งใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ ผลมะกรูด มะกรูดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับส้ม ให้กลิ่นหอม และ รสชาติเปรี้ยว การขยายพันธ์ มะกรูดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การต่อยอด การเพาะเมล็ด เป็นต้น โดยรายละเอียดของต้นมะกรูด มีดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวของลำต้นเรียบ มีหนามตามลำต้นและกิ่ง ความสูงประมาณ ไม่เกิน 2 เมตร
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกตามกิ่งก้าน ใบหนา เรียบ ผิวใบมัน มีสีเขียว ใบมีกลิ่นหอมมาก ลดความดันโลหิต
  • ดอกมะกรูด ออกเป็นช่อ ดอกมะกรูดมีสีขาว ออกดอกตามยอดและซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
  • ผลมะกรูด ลักษณะกลม มีสีเขียว ผิวของผลมะกรูดขรุขระ คล้ายผลส้มซ่า ภายในผมมีน้ำมากรสเปรี้ยว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ น้ำมะกรูด รวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวลูกมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 55 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยของมะกรูด พบว่ามีสารใน 2 กลุ่ม คือ สารที่ไม่ใช่กลุ่มเทอร์พีน ( non-terpene) และ สารในกลุ่มเทอร์พีน ( terpenes)

สารเคมีสำคัญที่พบในใบมะกรูก และ ผิวมะกรูด คือ β-pinene limonene sabinene citronellal α-pinene myrcene 1,8 cineol α-terpineol trans – sabinene hydrate copaene linalool β-cubenene geranyl acetate , citronellol caryophyllene elemol δ-cardinene citronellene acetate terpinen-4-ol, p-elemene camphene γ-terpinene terpinolene และ nerolidol

สรรพคุณของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นส่วนผสมของยาหลายชนิด มะกรูด สามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนประกอบ ทั้ง ผลมะกรูด ใบมะกรูด และ รากมะกรูด โดยสรรพคุณของมะกรูด มีดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้ปวดหัว ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยขับระดู ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเส้นผม ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทำความสะอาด บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ บำรุงเลือด
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้หน้ามืด แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ช่วยเจริญอาหาร
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียดแน่นท้อง บำรุงโลหิต
  • น้ำมะกรูด สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้บำรุงเส้นผม ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า ผิวของผลมะกรูด สามารถนำมาทำเป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องอืด

โทษของมะกรุด

สำหรับมะกรูด เป็นพิชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผลของมะกรูด มีรสเปรี้ยว สามารถใช้แทนความเปรี้ยวของมะนาวได้ การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะกรูดต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ของมะกรูด มีดังนี้

  • น้ำมันมะกรูดหากสัมผัสกับผิวของมนุษย์โดยตรง อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงแดด จะทำให้แพ้แสงแดดจนกลายเป็นแผลไหม้ได้ เนื่องจากน้ำมะกรูด มีสารออกซิเพดามิน ( oxypedamin ) ทำให้เกิดอาการแพ้ เมื่อโดนอากาศเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ดังนั้น หากสัมผัสน้ำมันมะกรูด หรือ น้ำมะกรูด ให้ล้างน้ำให้สะอาด
  • น้ำมะกรูดมีกรดสูง ไม่ควรรับประทานน้ำมะกรูดขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้แสบท้อง ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • น้ำมะกรูด มีรสเปรี้ยว ซึ่งการกินเปรี้ยวมากเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำลายฟัน ทำให้ท้องร่วง ทำให้กระดูกผุ เป็นต้น

ต้นมะกรูด พืชพื้นบ้าน อยู่คู่สังคมไทย นิยมนำมาใช้ทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะกรูด ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด เช่น ช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษของมะกรูด มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย