กุยช่าย สมุนไพร นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้างกุยช่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

กุยช่าย ( Chinese leek ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. พืชตระกูลพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของกุยช่าย เช่น ผักไม้กวาด ผักแป้น กูไฉ่ เป็นต้น

ชนิดของกุยช่าย

สำหรับต้นกุยช่ายในประเทศไทย ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด มีอยู่ 3 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว และ กุยช่ายดอก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กุยช่ายเขียว คือ ใบของกุยช่าย ที่ตัดใบในระยะที่ใบเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนที่จะถึงระยะออกดอก นิยมนำมาใส่ผัดไท นำมาดอกผัก และ ใส่ในอาหาร เป็นต้น
  • กุยช่ายขาว คือ ใบของกุยช่าย ที่เกิดจากการนำวัสดุทิบแสงมาคลุมใบทำให้เกิดปฏิกริยา ทำให้ใบเป้นสีขาว เป็นใบในระยะเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนออกดอก
  • กุยช่ายดอก คือ ดอกของกุยช่ายที่เจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งมีทั้งส่วนของก้านดอกและดอก นำมาผัดทำอาหาร

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย จัดเป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการแตกกอ โดยลักษณะของต้นกุยช่าย มีลักษณะ ดังนี้

  • ต้นกุยช่าย ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีเหง้าเล็ก และ สามารถแตกกอได้
  • ใบกุยช่าย ลักษณะแบน ยาว ความยาวของใบกุยช่าย ประมาณ 30 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ใบออกมาจากโคนลำต้น
  • ดอกกุยช่าย เรียกอีกชื่อว่า ดอกไม้กวาด ดอกกุยช่ายออกเป็นช่อ มีสีขาว กลิ่นหอม ดอกมีลักษณะคล้ายซี่ร่ม ก้านดอกยาว ลักษณะกลม ออกมาจากลำต้น
  • ผลกุยช่าย มีลักษณะกลม ผลแก่จะแตกตามตะเข็บในผลของกุยช่ายจะมีเมล็ดช่องละ 1 – 2 เมล็ด
  • เมล็ดกุยช่าย มีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

สำหรับการบริโภคกุยช่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย มีดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของดอกกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบตาแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของต้นกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบตาแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบกุยช่าย มีสารเคมีสำคัญ คือ สารอัลลิซิน ( Alllicin ) สารชนิดนี้มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • สำหรับการศึกษาต้นกุยช่าย ด้านเภสัชวิทยา พบว่า น้ำที่คั้นจากต้นกุยช่าย เมื่อฉีดเข้าไปในเส้นเลือดของหนู พบว่าทำให้เกิดอาการเกร็ง และ คลุ้มคลั่ง หลังจากนั้นหนูก็สลบ และ เมื่อนำไปฉีดใส่กระต่าย พบว่าความดันโลหิตของกระต่ายลดลง ซึ่งในระยะแรกมีฤทธิ์ยับยั้งการเต้นของหัวใจ หลังจากนั้นมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดเพียงเล็ก

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกุยช่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบกุยช่าย รากกุยช่าย เมล็ดกุยช่าย ลำต้น โดยรายรายละเอียด ของสรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาหลั่งเร็วในผู้ชาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต รักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยลดไข้แก้หวัด แก้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้นิ่ว รักษาหนองใน บำรุงไต รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลหนอง ช่วยประสะน้ำนม
  • รากกุยช่าย สรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน การช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกุยช่าย สรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับพยาธิแส้ม้า ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน
  • ทั้งต้นกุยช่าย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยแก้นิ่ว แก้อาการตกขาว  รักษาหนองใน ช่วยขับน้ำนม

โทษของกุยช่าย

สำหรับการบิโภคกุยฉายในปริมาณที่มากเกินไป หรือ กินติดต่อกันนานเกินไป สามารถทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการรับประทานกุยช่าย มีดังนี้

  • การกินกุยช่ายมากเกิน ะทำให้อุณหภูมิร่างกายร้อนขึ้น ทำให้เป็นร้อนในได้
  • ไม่ควรกินกุยช่ายพร้อมกับเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ความร้อนในร่างกายสูงเกินไป ทำให้เกิดอาการช็อคได้
  • กุยช่ายมีกากใยอาหารมาก ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วนเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะจะทำให้ระบบลำไส้ทำงานหนักมากขึ้น
  • ผู้สูงอายุ ไม่ควรรับประทานประทานกุยช่าย เพราะ กุยช่ายมีปริมาณกากใยอาหารสูง ทำให้ย่อยยาก
  • กุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ไม่ควรนำกุยช่ายถวายพระ

กุยช่าย พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพร นิยมนำหัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ มีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกวาวเครือขาว ( Pueraria mirifica ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว คือ Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของกวาวเครือขาว เช่น กวาว กวาวหัว กวาวเครือ เครือขาว จานเครือ ตานเครือ ทองเครือ ทองกวาว จอมทอง ตานจอมทอง โพ้ต้น และ โพะตะกู เป็นต้น ซึ่งชืื่อเรียกของกวาวเครือ แตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศและการใช้ภาษาของท้องถิ่นนั้นๆ

ลักษณะต้นกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือ เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว มีหัวอยู่ใต้ดิน พบมากตามป่าเบญจพรรณ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร พบมากในเขตภูเขาของประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยใช้การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ลำต้นกวาวเครือขาว ลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงลักษณะยาว ความยาวประมาณ 5 เมตร
  • ใบของกวาวเครือขาว เป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกันที่ปลายใบ ใบเป็นทรงรีปลายใบแหลม เนื้อใบเรียบ ด้านล่างของในมีขนสั้นๆ
  • ดอกกวาวเครือขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง กลีบดอกลักษณะคล้ายกัน คือ งอนโค้งคล้ายปีกนก
  • ผลกวาวเครือขาว ออกผลเป็นฝัก ลักษณะแบน มีขน ฝักมีสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลม เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
  • หัวของกวาวเครือขาว ลักษณะเหมือนมันแกว หัวอยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆ มีสรรพคุณุสูง มีฤทธิ์ทางยามากยิ่งหัวมีอายุมากขนาดก้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม หัวกวาวเครือมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อหัวกวาวเครือสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก มีน้ำมาก

กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย มีประโยชน์สำหรับบำรุงเพศ ทั้งหญิงและชาย กระตุ้นฮอร์โมนหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย กระทรวงสาธารณสุขของไทย จัดให้กวาวเครือขาวเป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ และ ยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์

คุณค่าทางโภชนาการของกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาวมีประโยชน์หลายอย่าง มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของกวาวเครือขาวแห้ง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 308 แคลลอรี่ มีสารอาหารต่างๆประกอบด้วย ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน แคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก

ด้านการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของหัวกวาวเครือขาว พบว่าในกวาวเครือขาวมีสารเคมีต่างๆ แบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

  • สารกลุ่มคูมารินส์ ( Coumarins ) ได้แก่ Coumestrol , Mirificoumestan , Mirificoumestan Glycol และ Mirificoumestan hydrate
  • สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) หัวกวาวเครือขาวมีสารจำพวก lsoflavonoid หลายชนิด เช่น Genistain , Daidzein , Daidzin , Puerarin , Puerein-6-monoacetate , Mirificin , Kwakhurin และ Kwakhurin hydrate
  • สารกลุ่มโครมีน ( Chromene ) ได้แก่ Miroestrol เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน พบในปริมาณ 0.002 – 0.003 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหัวกวาวเครือขาวแห้ง หรือ 15 มิลลิกรัม ต่อ กวาวเครือขาวแห้ง 1 กิโลกรัม
  • สารกลุ่มสเตียรอยด์ ( steroids ) ได้แก่ B-sitosterol , Stigmasterol , Pueraria และ Mirificasterol

สรรพคุณของกวาวเครือขาว

การนำเอากวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์นั้นจะนิยมใช้ประโยชน์จากหัวกวาวเครือขาวแห้งนำมาบดเป็นผง และนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้เต่งตึง ผิวใสดูเปล่งปลั่ง เนียนนุ่มสวย
  • ช่วยบำรุงกำลัง เป็นอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • ช่วยบำรุงสตรี ช่วยขยายทรวงอกให้ใหญ่ขึ้น ทำให้นมโต แก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อย
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ ทำช่วยผมขาวกลับคืนสภาพปกติ รักษาผมร่วง
  • ช่วยลดความมันบนใบหน้า รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ ช่วยสมานริ้วรอยบนใบหน้าจากความหยาบกร้าน
  • ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้าของร่างกาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น
  • ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารอร่อยขึ้น
  • ช่วยบำรุงเลือด
  • ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาฟาง ป้องกันต้อกระจก
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยเพิ่มสมรรภภาพทางเพศ บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์
  • ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน แก้อาการหมดประจำเดือนในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนที่มีอาการบกพร่องของฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยใช้ช่องคลอดไม่แห้ง ช่วยกระชับช่องคลอด
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน และ ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • สำหรับคนมีบตรุยาก ทำให้มีลูก

โทษของกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือขาว มีความเป็นพิษหากรับประทานหรือใช้ประโยชน์ในปริมาณที่มากเกินไป โดยข้อห้ามใช้ประโยชน์จากกวาวเครือขาว ตามตำราแผนโบราณ ประกอบด้วย

  • ห้ามคนวัยหนุ่มสาวกิน รวมถึง หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะ อาจทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ และ ระบบประจำเดือน
  • เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาว ห้ามกินรวมกับของดองหมักดอง ของเปรี้ยว ของเค็ม และ ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา และ ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาวไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  • การรับประทานกราวเครือขาวอาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ แต่การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาดเป็นอันตราย ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน

กวาวเครือขาว คือ สมุนไพรประเภทหนึ่ง พืชล้มลุก นิยมใช้หัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย จัดเป็นยาอายุวัฒนะ ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ สารเคมีในกวาวเครือมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย