ตุ๊กแก Gecko สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง กินแมลงเป็นอาหาร คนจีนนิยมนำตุ๊กแกมาเป็นยาบำรุง สรรพคุณของตุ๊กแก ช่วยบำรุงเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาเบาหวาน แก้หอบหืด

ตุ๊กแก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ตุ๊กแก นั้นนิยมบริโภคเฉพาะในคนจีน แต่ปัจจุบันตุ๊กแกจีนมีน้อย แต่ความต้องการ จึงมีการซื้อตุ๊กแกจากประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เป็นจำนวนมากปีละหลายสิบล้านตัว ในรูปแบบตุ๊กแกตากแห้ง ตุ๊กแกถูกใช้เป็นยามาตั้งแต่โบราณ แพทย์แผนจีนใช้เป็นยาแก้โรคหอบ บำรุงปอด บำรุงไต และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ส่วนในตำรายาไทย จะถลกหนังเอาแต่เนื้อทั้งตัว เอาไส้ในออก ตำเกลือ พริกไทย กระเทียม ทาปิ้งให้เด็กกิน ถือว่าเป็นยาบำรุงร่างกายแก้ซางขโมย หรือนำเอาส่วนหางไปบดและใช้กวาดคอเพื่อแก้อาการเจ็บคอ

ลักษณะของตุ๊กแก

ตุ๊กแก เป็นสัตว์เลื้อยคลาน มีสีสันหลายหลาย มีลายจุดสีส้มทั่วตัว สามารถปรับสีได้ตามสภาพแวดล้อม ดวงตามีสีเขียว ความยาวของลำตัวประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืน กินแมลงต่างๆ เป็นอาหาร ตุ๊กแกพบได้ในประเทศเขตร้อน ทั่วไป ตุ๊กแกจะอาศัยตามป่าและบริเวณบ้านคน ชอบหลบอยู่ตามที่มืด ออกลูกเป็นไข่ ตุ๊กแก เป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ชอบกัดกันเอง  มีพฤติกรรมกินพวกเดียวกันด้วย ตุ๊กแก เป็นสัตว์ที่หน้าตาน่ารังเกียจ น่ากลัว

ความเชื่อเกี่ยวกับตุ๊กแกในสังคมไทย

ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อยู่ในความเชื่อของชาวไทยมาแต่โบราณ เช่น เชื่อว่าตุ๊กแกมักถูกงูเขียวเข้ามากินตับ โดยอ้าปากให้งูเข้าไปกินถึงในท้อง แท้ที่จริงแล้ว งูเขียวเมื่อหาอาหารไม่ได้จะบังคับให้ตุ๊กแกอ้าปากเพื่อเข้าไปกินเศษอาหารที่ติดตามซอกปากของตุ๊กแก นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าเสียงร้องของตุ๊กแกยังเป็นการบอกถึงโชคลางของผู้ที่ได้ยินอีกด้วย ตามเวลาและจำนวนครั้งที่ต่างกัน เช่น 1 ครั้ง เชื่อกันว่า ผู้ได้ยินจะเสียเงินทองโดยไม่เต็มใจ แต่ถ้าได้ยินเสียงตุ๊กแกร้อง 3 ครั้ง เชื่อว่า คนในบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข พบกับความเจริญรุ่งเรือง หรือ ตุ๊กแกร้องตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาจนถึงเที่ยง เชื่อว่า จะได้รับข่าวดี เป็นต้น

ประโยชน์ของตุ๊กแก

ตุ๊กแก เป็นสัตว์ที่กินแมลงเป็นอาหาร เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร ช่วยรักษาสมดุลย์ของธรรมชาติ ช่วยกำจัดศัตรูพืช เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง นอกจากนั้นตุ๊กแกถูกใช้เป็นยามาตั้งแต่โบราณ แพทย์แผนจีนใช้เป็นยาแก้โรคหอบ บำรุงปอด บำรุงไต และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ส่วนในตำรายาไทย จะถลกหนังเอาแต่เนื้อทั้งตัว เอาไส้ในออก ตำเกลือ พริกไทย กระเทียม ทาปิ้งให้เด็กกิน ถือว่าเป็นยาบำรุงร่างกายแก้ซางขโมย หรือนำเอาส่วนหางไปบดและใช้กวาดคอเพื่อแก้อาการเจ็บคอ

สรรพคุณของตุ๊กแก

สำหรับการนำตุ๊กแกมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย จะนำตุ๊กแกมาตากแห้ง และ นำมาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคตามแผนโบราณ ทัั้งในรูปแบบ ยาดอง นำมาผสมอาหาร เป็นต้น สรรพคุณของตุ๊กแก มีรายละเอียด ดังนี้

  • เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี  ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร
  • ตำรับยาจีน นำตุ๊กมาทำยาเป็นส่วนผสมในยาจีนแผนโบราณ ช่วยบำรุงไต บำรุงปอด รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รักษาโรคเบาหวาน แก้หอบหืด รักษาโรคผิวหนัง ป้องกันมะเร็ง
  • ประเทศเวียดนาม นำเนื้อตุ๊กแกมาทำอาหาร เช่น การต้ม การย่าง
  • ตำราแพทย์แผนไทย นำเอาตุ๊แกมาผ่าท้อง เอาเครื่องในออก แล้วนำตุ๊กแกไปปิ้งย่าง หรือ ตากแห้ง นำมาดองเหล้า ใช้บำรุงร่างกาย แก้โรคปวดข้อ รักษาโรคตานขโมย และ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดี

ตุ๊กแก ( Gecko ) คือ สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง กินแมลงต่างๆเป็นอาหาร รูปร่างน่ากลัว เป็นสัตว์ที่มีความต้องการสูง นำไปบริโภค นำยาบำรุงร่างกาย คนจีนนิยมนำตุ๊กแกมาเป็นยาบำรุง สรรพคุณของตุ๊กแก ช่วยบำรุงเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาเบาหวาน แก้หอบหืด

แหล่งอ้างอิง

  • Lwin, K.; Neang, T.; Phimmachak, S.; Stuart, B.L.; Thaksintham, W.; Wogan, G.; Danaisawat, P.; Iskandar, D.; Yang, J.; Cai, B. (2019). “Gekko gecko”. IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T195309A2378260. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-1.RLTS.T195309A2378260.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  • “Appendices | CITES”. cites.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  • Gekko gecko ที่คลังข้อมูลสัตว์เลื้อยคลาน Reptarium.cz
  • ตุ๊กแก..น่าขยะแขยง แต่มากสรรพคุณทางยา โดย ไทยรัฐ 22 พ.ค. 50
  • หน้า 142-144 คอลัมน์ Exotic Pets ตอน “ราคาตุ๊กแกสิบล้าน ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม” โดย กองบรรณาธิการ นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับเดือนกรกฎาคม 2011

การบูร พืชมีผลึกสีขาว กลิ่นหอม นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ต้นการบูรเป็นอย่างไร สรรพคุณของการบูร เช่น ช่วยกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว แก้เวียนหัว แก้มึนเมา โทษของการบูร

การบูร สมุนไพร สรรพคุณของการบูร

การบูร คือ ผลึกธรรมชาติที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ซึ่งจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ต้นการบูร และพบมากที่สุดในแก่นของราก และ แก่นของต้น ส่วนในใบและยอดอ่อนของต้นการบูร มีผลึกการบูรน้อย ลักษณะของผลึกการบูร เป็นเกล็ด กลม ขนาดเล็ก  สีขาว จับกันเป็นก้อนร่วนๆแตกง่าย หากทิ้งเอาไว้ผลึกที่มีกลิ่นหอมของการบูรจะเหิดไปหมด

ซึ่งข้อมูลทางเภสัชวิทยาได้ศึกษาการบูร พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยของการบูร และ การบูร มีสารเคมีประกอบด้วย acetaldehyde , betelphenol , caryophyllen , cineole , eugenol , limonene , linalool , orthodene , p-cymol , และ salvene การบูรมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าแมลง และ ลดระดับคอเลสเตอรอล การบูรมีประสิทธิภาพในการช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้การหายใจถี่ขึ้น

การบูร ( Camphor ) ชื่อวิยาศาสตร์ของการบูร คือ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl เป็นพืชตระกูลอบเชย ชื่อเรียกอื่นๆของการบูร เช่น การะบูน  อบเชยญวน  พรมเส็ง เจียโล่ จางมู่ จางหน่าว เป็นต้น

ลักษณะของต้นการบูร

ต้นการบูร เป็นไม้ยืนต้น เป็นพื้นเมืองของประเทศในเขตอบอุ่น อย่างประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไต้หวัน ลักษณะของต้นการบูรเป็นทรงพุ่ม ขนาดกว้างและทึบ

  • ลำต้นการบูร มีความสูงประมาณ 30 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาล ลักษณะผิวหยาบ เปลือกของกิ่งการบูรเป็นสีเขียว และ สีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เป็นส่วนที่สามารถนำมาทำ การบูร ที่มีกลิ่นหอม
  • ใบการบูร เป็นใบเดี่ยว ทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างเหนียว หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม มีลักษณะมัน ท้องใบมีสีเขียวอมเทา ไม่มีขน ใบเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นหอม การบูร
  • ดอกการบูร ต้นการบูรออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมสีเหลือง การบูรจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • ผลการบูร มีลักษณะกลมรูปไข่ ผลเป็นสีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ของการบูร

สำหรับการบูร สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ด้านใช้เป็นยารักษาโรค และ เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง อาหาร และ ยารักษาโรค เนื่องจาก กลิ่นหอม ช่วยกระตุ้นความรู้สึก บรรเทาอาการปวดศีรษะ แก้เมารถ เมาเรือ ช่วยแก้รอยผิวหนังแตกในช่วงฤดูหนาว นอกจากนั้น มีการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นอาหาร และ ขนม ลูกกวาด แยม เยลลี่ เครื่องดื่มโคคาโคลา เหล้า เป็นส่วนผสมในเครื่องพะโล้ เครื่องแกงมัสมั่น ผงกะหรี่ คุกกี้ ขนมเค้ก เป็นต้น

การบูร นำมาใช้ไล่ยุงและแมลงได้ โดยนำมาวางในห้องหรือตู้เสื้อผ้า และ ยังช่วยลดกลิ่นอับชื้นได้ นอกจากนี้ มีการใช้การบูร เป็นส่วนผสมของยาหอมเช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาประสะไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยามันทธาตุ ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประสะเจตพังคี ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาธาตุอบเชย หรือนำมาใช้ทำน้ำมันไพล ลูกประคบ พิมเสนน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของการบูร

การใช้ประโยชน์ของการบูร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลึกการบูร เมล็ด เปลือกลำต้น รากการบูร กิ่งการบูร เนื้อไม้การบูร โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของการบูร สรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องร่วง แก้อาการปวดท้องน้อย
  • เปลือกการบูร สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ธาตุในร่างกาย ช่วยสมานแผล รักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลเน่าเปื่อย
  • เนื้อไม้การบูร สรรพคุรบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน  แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ผลึกการบูร สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ยาบำรุงหัวใจ เป็นยากระตุ้นหัวใจ ยาระงับประสาท ช่วยแก้เลือดลม แก้ปวดฟัน ช่วยในการขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด แก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง บำรุงกำหนัด ช่วยขับน้ำเหลือง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ปวด ช่วยแก้อาการชัก
  • กิ่งของการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก
  • รากการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก

โทษของการบูร

การใช้ประโยชน์จากการบูรมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากการบูร มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินการบูร เนื่องจากจะเป็นพิษ
  • สำหรับคนที่อยู่ในภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด ป่วยโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็งและแห้ง ไม่ควรกินการบูร เพราะ จะทำให้ไม่หาย
  • การบูรที่มีสีสีเหลืองและสีน้ำตาล ห้ามกิน เนื่องจากเป็นพิษ
  • การกินการบูรในปริมาณเกิน 0.5 กรัมจะทำให้เวียนหัว แสบร้อนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนลง เป็นอันตรายถึงชีวิต

แหล่งอ้างอิง

  • The Merck Index, 7th edition, Merck & Co., Rahway, New Jersey, 1960
  • Handbook of Chemistry and Physics, CRC Press, Ann Arbor, Michigan, USA
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0096”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
    “Camphor (synthetic)”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). 4 December 2014. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  • Mann JC, Hobbs JB, Banthorpe DV, Harborne JB (1994). Natural products: their chemistry and biological significance. Harlow, Essex, England: Longman Scientific & Technical. pp. 309–11. ISBN 978-0-582-06009-8.
  • “การบูร ไม้หอมมากประโยชน์ สร้างรายได้น่าลงทุน”. kaset.today.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย